ว่าด้วยเรื่องระบบ Mobile Payments ของไทยในปีที่ผ่านมา

7 January 2019
Share

อย่างที่เห็นสถานการณ์เรื่อง Mobile Payment ในประเทศไทยผลักดันให้เรื่องนี้ในได้เป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศและต่างชาติ ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของหน่วยงานภาครัฐ สถาบันการเงิน และบริษัทฟินเทค ก็ร่วมมือกันเพื่อให้ได้รับการยอมรับ ซึ่งด้าน Payment คือถูกใช้งานผ่านเทคโนโลยีฟินเทคมากที่สุดคิดเป็น 30% เพราะผู้ประกอบการสามารถนำเสนอผู้บริโภคให้เห็นถึงทางเลือกที่ดีกว่าเพื่อชำระค่าสินค้าและบริการ

Mobile wallet เติบโตขึ้นมากในไทย

สิ่งที่โดดเด่นอย่างหนึ่ง คือ วิวัฒนาการของ Mobile Wallet ที่พัฒนาอย่างมาก ตัวอย่างเช่น TrueMoney Wallet ที่ได้ขยายการให้บริการ โดยมีการโอนเงินข้ามพรมแดน, Payment gateways, การเติมเงินในแอพต่างๆ เหล่านี้มีกิจการในทำนองเดียวกันกับ LINE, Garena และ Lazada ต่างก็ใช้ประโยชน์จากฐานผู้ใช้ขนาดใหญ่ เพื่อโปรโมตบริการ Wallet Service เช่น  LINE มี Rabbit LINE Pay ซึ่งให้บริการผู้ใช้ 4.5 ล้านคนในประเทศไทย Garena ให้บริการกระเป๋าเงิน AirPay และ Lazada เปิดตัว Lazada Wallet ในเดือนมกราคม ปี 2018 ที่ผ่านมา

เมื่อเร็ว ๆ นี้ Grab บริษัท ที่ให้บริการรถในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประกาศว่า จะร่วมมือกับกับธนาคารกสิกรไทยในการเปิดตัว GrabPay ที่เป็น Mobile Wallet และบริการทางการเงินอื่นๆ ในประเทศไทย และคาดจะเริ่มในปี 2019

มุ่งสู่เศรษฐกิจที่ไม่มีเงินสด

นอกเหนือจาก บริษัท เทคโนโลยีแล้วรัฐบาลของประเทศไทยก็ส่งเสริมด้าน Mobile Payment เช่นกัน  โดยสนับสนุนระบบการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการผลักดันการชำระเงินดิจิทัล

ระบบ PromptPay ที่ผูกกับ ID หรือหมายเลขโทรศัพท์มือถือกับบัญชีธนาคารเพื่อให้ผู้ใช้สามารถโอนเงินได้ง่ายขึ้น ทั้งนี้แพลตฟอร์มดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของแผนการชำระเงินดิจิทัลแห่งชาติ เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่สังคมที่ไม่มีเงินสด เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Thailand 4.0 ของรัฐบาลที่พยายามสร้างเศรษฐกิจฐานมูลค่าที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมเทคโนโลยีและความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งระบบ PromptPay เปิดตัวในปี 2017 มีผู้ใช้ 97 ล้านรายการคิดเป็นเงินโอน 370,000 ล้านบาทครอบคลุม 37 ล้านบัญชีออมทรัพย์ มีผู้ลงทะเบียน 42.6 ล้านราย ในเดือนกรกฎาคม 2018

ธนาคารไทยลงทุนในระบบดิจิตอล

เมื่อมีอุตสาหกรรมฟินเทค ภาคธนาคารได้เปิดตัวแพลตฟอร์มการชำระเงินใหม่และลงทุนอย่างมากในการแปลงระบบดิจิทัลของพวกเขา โดนในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2561 ธนาคารกสิกรไทยทุ่มเงิน 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ได้เข้าร่วมเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์หลังจากร่วมมือกับ Singtel เพื่อเปิดตัว VIA การชำระเงินมือถือข้ามพรมแดนที่ใช้ QR โค้ดในประเทศไทย ด้านธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าจะลงทุน 20,000 ล้านบาทเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีและแพลตฟอร์มธนาคารดิจิทัล ส่วนธนาคารไทยพาณิชย์มีความมุ่งมั่นที่จะลงทุนสร้างและจัดหาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีภายในระยะเวลาเพียง 3 ปีหลังจากนี้

อย่างไรก็ตามภาครวมของ Mobile Wallet ใช่ช่วงที่ผ่านมา เราจะพบว่าภาคอุตสาหกรรมและภาครัฐของประเทศไทยมีความตระหนักถึงประโยชน์ของเทคโนโลยีทางการเงินค่อนข้างมาก สังเกตได้จากการจัดตั้งโครงการ และการพัฒนาระบบเพื่อความสะดวกสบายของประชาชน…ยอมรับเลยว่าประเทศไทยเราก็ไม่ได้ด้วยด้านฟินเทคไปกว่าประเทศใดเลย

 

Reference

Fintechnews Singapore January 4, 2019

Related Posts

  • One to Many การตอบสนองลูกค้ารูปแบบใหม่จาก 724 Market
  • กสิกรไทยใช้เทคโนโลยีเปรียบเทียบใบหน้าพิสูจน์ตัวตนลูกค้า
  • อีกมิติหนึ่งของ Blockchain โดย “กรณ์ จาติกวณิช” – ประธานสมาคมฟินเทคประเทศไทย
bt_bb_section_bottom_right_section_coverage_image

Contact Us

Address

439B-1 Siam Paragon Shopping Mall, 4th Floor, Rama 1 Road, Pathumwan, Pathumwan, Bangkok, Thailand 10330

The information contained in this website is provided for informational purposes only and on an “as is” basis, without representation or warranty of any kind. Thai Fintech Association does not guarantee whether the information is correct or up-to-date.   no event shall Thai Fintech Association be liable to you or any person for any loss of business or profits, or for any indirect, incidental or consequential damages arising out of any use of, or inability to use, or for any other claim by you or any other person.

© Copyrights 2021 - All Rights Reserved - Thai Fintech Association