ผลักดัน Cashless society ด้วยวิธีการทำงานแบบดิจิตัลไปกับ AppMan

31 August 2020
Share
  1. สิ่งใดคือ pain point ของการเริ่มต้น Appman

เรามอง pain point ของการทำประกันว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการออมเงินในชีวิตของคนเลย จึงเห็นว่าจุดนี้เราจะเข้ามาช่วยได้ยังไงบ้าง ก็เลยทำโซลูชั่นให้สามารถเข้ากับประกันได้ กระบวนการไหนที่ซับซ้อน เราก็ปรับเปลี่ยนให้เป็นแบบมาตรฐาน โดยนำเสนอออกมาเป็นผลิตภัณฑ์อย่างง่าย และนำเอาระบบ paperless เข้ามาใช้ ซึ่งในตอนนี้นอกจากเทคโนโลยีกระบวนการด้านการขายที่เรามีอยู่แล้ว เรายังพัฒนาเรื่อง point of sale ของการขายประกันด้วย เราเริ่มขยาย point of sale ออกไปในมุมต่างๆที่เยอะขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการหาcustomer experience ไปพร้อมๆกับการพัฒนาระบบการขายที่สะดวกขึ้น ให้สามารถใช้ digital face to face ได้ แล้วอีกอย่างหนึ่ง เรายังเอา machine learning ที่ทำเกี่ยวกับ AI มาทำในเรื่องของ OCR (กระบวนการแปลงไฟล์เอกสารให้เป็นในรูปแบบของข้อความ) อย่างบัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน ทะเบียนรถ หรือพาสปอร์ต

 

  1. การนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการประกันภัย ช่วยลดขั้นตอนในการทำงาน และเพิ่มความแม่นยำ ได้อย่างไรบ้าง

ต้องเรียนว่าตั้งแต่เราเปลี่ยนกระบวนการที่ใช้กระดาษมาเป็นในรูปแบบดิจิตัล ในเรื่องของการขายถือว่าชัดเจนอยู่แล้ว เพราะปกติกระบวนการใช้กระดาษทั่วไปจะมี error rate อยู่ประมาณ 30-40 เปอร์เซ็นต์ อย่างเวลาคนกรอกข้อมูลผิด มันก็จะเกิดข้อมูลที่เป็นเท็จเยอะ ดังนั้นเราจึงทำระบบให้เป็นแบบดิจิตัลตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำเลย ซึ่ง error rate ตรงนี้เราก็จะไม่เห็น ขั้นตอนการทำงานก็ลดลงด้วย เวลาการทำงานก็แน่นอน เพราะระบบมันช่วยตรวจสอบหลายๆอย่าง จากแต่ก่อนเวลาจะออกกรมธรรม์ 1 ฉบับ เราต้องรอกระบวนการที่เป็นกระดาษ แต่ตอนนี้เราสามารถทำให้มันเป็นแบบเร็วขึ้นได้ ฉะนั้นเวลาตัวแทนไปเจอลูกค้าก็สามารถปิดการขายได้ทันที นอกจากนี้เรายังมี OCR ที่เข้ามาลดข้อผิดพลาดของการกรอกข้อมูลเข้าระบบด้วย ซึ่งโดยปกติการกรอกบัตรประชาชน 1 ใบ จะใช้เวลากรอกอยู่ที่ประมาณ 1 นาที ลดลงเหลือเพียงไม่กี่วินาที การต่อทะเบียนรถยนต์ก็เหมือนกัน ทะเบียนหนึ่งใช้เวลาประมาณ 3 นาที ในการกรอก เราสามารถลดเวลาลงเหลือแค่ 1 นาทีได้ แบบนี้ก็ประหยัดเวลาคนทำงานได้ถึง 3 เท่า บริษัทเองก็มีค่าใช้จ่ายที่ลดลงอย่างมหาศาล ส่วนเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลเราก็ไม่ได้หยุดพัฒนา ภายในองค์กรเราก็ทำ ISO7001 เรื่องความปลอดภัยอยู่แล้ว ที่สนับสนุนกับด้านการบริหารจัดการ เพราะฉะนั้นเราก็จะพยายามขยายต่อไป

 

  1. อุตสาหกรรม Insurtech ตอนนี้เป็นอย่างไร

วงการ Insurtech ต้องบอกเลยว่าตอนนี้กำลังคึกคัก เพราะพอ Covid-19 มาแล้ว คนก็เห็นคุณค่าของประกัน และสนใจเรื่องของประกันเยอะขึ้น เพราะฉะนั้นจะเห็นได้ชัดเลยว่าตลาดมันขยายมากขึ้น ซึ่งรวมถึง คปภ. เองด้วย เค้าก็จะปรับเปลี่ยนสิ่งที่ปกติทำไม่ได้ ให้มันสามารถทำได้ เช่น ตอนที่คปภ. ออกข้อบังคับใหม่ในเรื่องของ digital face to face ให้มีเข้ามา นั่นก็แปลว่าผลิตภัณฑ์ทุกอย่างของประกันที่เคยขายแบบ face to face ก็สามารถขายแบบดิจิตัลได้หมดแล้ว

 

  1. Covid-19 มีผลกระทบหรือเปลี่ยนแปลงวงการ Insurtech ไปในรูปแบบใด

ผมว่าหลายๆเจ้าที่ขายออนไลน์ได้รับผลกระทบเชิงรุกแน่นอนอยู่แล้ว ที่เกิดผลกระทบแน่นอนก็คือประกันรถ คนเริ่มไม่ค่อยขับรถ เพราะฉะนั้นประกันรถจะเป็นความต้องการที่น้อยลง ส่วนในฝั่งบริษัทอย่างผมก็ได้รับผลกระทบแน่นอน อย่างเรื่องการทำงานแบบ Work form home ก็ทำให้เกิดระบบการทำงานที่เริ่มจะช้าลง ถึงแม้ว่าเราจะ Work form home ได้ แต่การออกใบแจ้งหนี้ให้กับลูกค้า เรามีกระบวนการบางอย่างที่ไม่ได้เป็นแบบดิจิตัล ซึ่งก็คือเป็น manual สิ่งนี้จึงถือว่าเป็นเรื่องท้าทายสำหรับเราอยู่เหมือนกัน และเมื่อเราผ่านสถานการณ์ Covid-19 ไปได้แล้ว ก็เห็นได้ว่าเรามี order ที่เพิ่มอยู่แล้ว แต่แค่ว่าเรายังเก็บเงินไม่ได้ เพราะฉะนั้นมันจะมีปัญหาในเรื่องของ cash flow ในระยะสั้นเท่านั้นเอง ส่วนด้านบริการของลูกค้าเราก็แทบเป็นออนไลน์ทุกอย่างอยู่แล้ว ก็เลยไม่กระทบเลย งานของเรายังเดินต่อไปได้ 100 เปอร์เซ็นต์

 

  1. ในอนาคต จะมีอะไรใหม่สำหรับวงการประกันภัย

วงการประกันภัยผมว่าเราจะเริ่มเห็นสิ่งใหม่ๆที่มาออกเยอะขึ้น เราจะเห็นผลิตภัณฑ์อย่าง biometric product เป็นอะไรที่ใช้เป็นครั้งๆ เป็นพวกชิ้นเล็กๆ เดี๋ยวสิ่งพวกนี้เราจะเห็นมากขึ้น แล้วก็เรื่องช่องทางใหม่ๆของการขาย จะมาแน่นอน อะไรที่มันเป็นแบบเดิมๆก็จะโดนเปลี่ยนให้เป็นดิจิตัลหมดเลย ถ้าอย่างประกันก็อาจจะขายผ่านช่องทาง Chat Bot หรือว่าขายผ่าน video call สิ่งเหล่านี้อาจะเกิดขึ้นได้

 

  1. อยากฝากอะไรทิ้งท้าย

ต้องบอกเลยว่าวงการ Fintech หรือ Insurtech ตลาดเรายังกว้าง ยังมีช่องว่างหรือมีอะไรให้เข้ามาเล่นอยู่อีกเยอะ เรายังต้อนรับผู้เล่นใหม่ บุคลากร หรือคนที่สนใจอยากจะเข้ามาในวงการ Fintech อยู่ เพราะมันเป็นวงการที่แคบ แต่มีอนาคตอีกค่อนข้างไกล อย่างระยะทดลองของคนที่จะเปิดบัญชี หรือคนที่จะปรับมาเป็นบัญชีแบบดิจิตัล ยังมีจุดให้ได้เล่นอีกมาก เราจึงต้องการคนที่มีความสามารถและสนใจที่จะทำเรื่องนี้เข้ามาในวงการ มาช่วยให้กระบวนที่ใช้กระดาษของวงการการเงินในเมืองไทยได้หายไป เกิดเป็น cashless society ขึ้น ส่วนคนที่สนใจอยากจะทำประกัน ผมว่าคนที่ซื้อประกันจะได้เห็นวิธีการซื้อแบบใหม่ๆ เลยอยากให้ระวังในเรื่องของความปลอดภัยหรือคนมาแอบอ้างด้วย โดยดูว่าเราซื้อประกันผ่านช่องทางที่คปภ.รับรองหรือเปล่า คนขายมีใบอนุญาตไหม องค์กรเหล่านั้นน่าเชื่อถือมากแค่ไหน ซึ่งเราสามารถเข้าไปเช็คได้กับคปภ.

 

คุณอมฤต ฟรานเซน

Co-founder และกรรมการบริหาร บริษัท แอพแมน จำกัด

Related Posts

  • ทำไมคนไทยไม่ค่อยลงทุน ?
  • Covid-19 ตัวเร่งการเข้าถึงเทคโนโลยี และการปรับตัวเข้าสู่ยุคใหม่อย่าง Kasikorn Bank
  • Krungsri มุ่งหน้าช่วยเหลือสตาร์ทอัพ และหนุนระบบนิเวศ ฝ่าวิกฤต Covid-19
bt_bb_section_bottom_right_section_coverage_image

Contact Us

Address

439B-1 Siam Paragon Shopping Mall, 4th Floor, Rama 1 Road, Pathumwan, Pathumwan, Bangkok, Thailand 10330

The information contained in this website is provided for informational purposes only and on an “as is” basis, without representation or warranty of any kind. Thai Fintech Association does not guarantee whether the information is correct or up-to-date.   no event shall Thai Fintech Association be liable to you or any person for any loss of business or profits, or for any indirect, incidental or consequential damages arising out of any use of, or inability to use, or for any other claim by you or any other person.

© Copyrights 2021 - All Rights Reserved - Thai Fintech Association