Covid-19 ตัวเร่งการเข้าถึงเทคโนโลยี และการปรับตัวเข้าสู่ยุคใหม่อย่าง Kasikorn Bank

23 March 2021
Share
  1. หลังจากการแพร่ระบาดของ Covid-19 ทางธนาคารมีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การดำเนินงานอย่างไร

ในช่วงโควิดที่ผ่านมา ธนาคารคิดว่าวิกฤตนี้น่าต้องใช้เวลาอีกประมาณ 2-3 ปี กว่าเศรษฐกิจจะกลับมาฟื้นตัวเป็นแบบเดิม จึงได้มองแนวทางการดำเนินงานไว้เป็น 2 แบบ คือ

  1. ทีมงานแก้ปัญหาในปัจจุบัน – โดยเข้าไปช่วยแก้ไขปัญหาและให้คำแนะนำกับลูกค้าที่ได้รับผลกระทบ เช่น การช่วยปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อให้ลูกค้ามี cash flow สามารถผ่านวิกฤตนี้ไปได้
  2. ทีมงานที่ดูแลเกี่ยวกับเรื่องในอนาคต – จากโควิดที่ผ่านมา เราจะเห็นได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงที่เป็น New Normal เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมการใช้งานต่างๆ การใช้ชีวิตประจำวันที่เปลี่ยนแปลงไป หรือองค์กร ลูกค้า รวมไปถึงบริษัทต่างๆก็มีการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป ดังนั้นทางธนาคารเอง จึงต้องปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมตามไปด้วย

 

2. ท่านมีข้อคิดเห็นอย่างไรกับคำว่า “ New Normal ” และมีการเตรียมความพร้อมอะไรบ้าง

ต้องบอกว่าเรามีการเตรียมความพร้อมมานานแล้วกับการเข้าสู่ยุคที่เป็นดิจิทัล และช่วงโควิคที่ผ่านมาก็เหมือนเป็นตัวเร่งที่ทำให้คนต้องหันมาใช้ช่องทางดิจิทัลมากขึ้น ยกตัวอย่าง เช่น ยอดการใช้งานบนช่องทางดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็นพร้อมเพย์ การโอนเงิน การชำระเงินที่สูงมากขึ้น เป็นต้น จากที่เมื่อก่อน การที่คนจะเริ่มใช้งานแอปพลิเคชันได้นั้น คือ ต้องเป็นคนที่มีความรู้ หรือมีความคุ้นชินกับการใช้งานมาก่อน แต่พอโควิดเข้ามา กลับทำให้ผู้สูงอายุ หรือคนที่ไม่ค่อยมีความมั่นใจด้านการใช้งานพวกธุรกรรมทางการเงินบนมือถือ พอเขาได้เข้ามาทดลองใช้ และเรียนรู้ว่ามันไม่ได้มีอะไรน่ากลัว จึงทำให้ข้อจำกัดในการเข้าถึงการใช้งานลดลง และเมื่อไม่นานมานี้จะเห็นได้ว่าเราได้ออกผลิตภัณฑ์ด้าน Digital Bank ชื่อ LINE BK โดยร่วมมือกับ LINE ให้ลูกค้าสามารถทำธุรกรรมทางธนาคารบนช่องทาง Social Media ได้ ช่วยให้การทำธุรกรรมการเงิน อย่างเช่น การโอนเงิน การซื้อสินค้าออนไลน์ สามารถทำได้ง่ายขึ้น ปลอดภัยมากขึ้น และอีกผลิตภัณฑ์หนึ่งที่เรามี คือ “ ขุนทอง ” ที่ช่วยให้คนที่ใช้งานแอปพลิเคชัน LINE ในชีวิตประจำวัน สามารถแชร์การใช้งานต่างๆร่วมกันได้ เช่น การแชร์ค่าอาหาร เป็นต้น นอกจากนี้ในแง่ของผู้ประกอบการ เรายังช่วยสนับสนุน และร่วมมือกับ Platform ด้าน E-commerce อีกด้วย ทั้ง Lazada, JD Central หรือ Grab ในการออกสินเชื่อ หรือออกสินค้าทางการเงินให้กับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์

 

  1. สิ่งใดถือเป็นโอกาส และอุปสรรคของสถาบันการเงินในปัจจุบัน

การที่คนเข้ามาใช้งานด้านดิจิทัลมากขึ้น ถือว่าเป็นโอกาสสำหรับเราที่จะนำเสนอ Innovation ผ่านช่องทางใหม่ๆ และสามารถเข้าถึงฐานลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น ส่วนด้านอุปสรรค หากพูดถึงสถาบันการเงิน อย่างธนาคาร เราจะต้องรักษาภาพลักษณ์ของแบรนด์ หรือชื่อเสียงขององค์กรรวมอยู่ด้วย ฉะนั้นการที่เราจะลงมือทำอะไรซักอย่างเลยต้องมีความระมัดระวังเป็นอย่างมาก และต้องมั่นใจด้วยว่าสิ่งนั้นจะไม่สร้างข้อบกพร่องให้กับทางธนาคาร ซึ่งจากจุดนี้เองจึงเป็นเหตุให้เราอาจจะทำงานได้ล่าช้ากว่าสตาร์ทอัพ และอุปสรรคอีกเรื่องหนึ่ง คงเป็นด้านทรัพยากรที่ต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินงานค่อนข้างนาน ทำให้ต้องมีการจัดสรรลำดับความสำคัญให้ดีเสียก่อน

 

  1. ในอีก 3 – 5 ปี มูลค่าการลงทุนจะเป็นไปในทิศทางใด และมีสตาร์ทอัพ ด้านใดบ้างที่น่าจับตามอง

ถ้าพูดถึงมูลค่าการลงทุน น่าจะคล้ายกับที่เห็นในต่างประเทศ เราจะเห็นว่ามี deal การลงทุนที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ และมีสัดส่วนที่สูงขึ้นกว่า เมื่อเทียบกับ deal ลงทุนเล็กๆที่มีความเสี่ยงสูง สตาร์ทอัพควรจะเน้นเรื่องการสร้างรายได้ให้มากขึ้น ส่วนสิ่งที่ธนาคารกำลังสนใจอยู่ตอนนี้ คือ การเป็น Partnership กับ Digital Platform ต่างๆ เพื่อทำผลิตภัณฑ์ หรือบริการร่วมกัน เรามองว่าสิ่งนี้ คือ สิ่งที่หลายๆบริษัทมองเห็นช่องทางในการเข้าถึงลูกค้ากลุ่มใหม่ได้ เพื่อที่จะทราบว่าในอนาคตมีอะไรที่จะเป็นเทรนด์ใหม่ๆบ้าง นอกจากนี้ทางธนาคารเรายังสนใจในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ Data ต่างๆอยู่ เช่น Machine Lending และ Open-Banking

 

  1. แนวโน้มของฟินเทคสตาร์ทอัพ ในอนาคตจะเป็นอย่างไรต่อไป มีสิ่งใดบ้างที่จะช่วยขับเคลื่อน Ecosystem นี้ให้เติบโต

สำหรับฟินเทคสตาร์ทอัพ ต้องบอกว่าต้องทำงานกันหนักขึ้น เนื่องจากจะมีผู้เล่นเข้ามาเยอะขึ้น จากที่เห็นตอนนี้ นอกจาก Fintech Player แล้ว ยังมีต่างชาติ มี Non-Bank ที่เข้ามาแข่งด้วย หรือทางธนาคารเอง ก็เริ่มมีการตั้งหน่วยงาน Venture Builder ที่ทำด้านสตาร์ทอัพด้วยเช่นกัน ซึ่งต่างจากเมื่อ 2 – 3 ปีก่อนที่ยังไม่มีผู้เล่นในวงการนี้มากนัก ส่วนจำนวนของฟินเทคสตาร์ทอัพ ผมคิดว่ามันขึ้นอยู่กับความต้องการ หรือมีช่องว่างอะไรใหม่ๆเกิดขึ้นหรือเปล่า อย่างที่แบงก์ชาติเพิ่งเปิดให้ทำเกี่ยวกับ Peer to Peer Lending ซึ่งอาจจะเกิดช่องว่างขึ้นมาให้สตาร์ทอัพเจ้าใหม่ๆได้เข้ามาทำ แต่ถ้าในตลาดไหนมีสตาร์ทอัพที่อยู่ในพื้นที่นั้นอยู่แล้ว จะเห็นว่าตลาดก็ไม่ได้เติบโตมากนัก คงต้องหา Strategy ใหม่ๆมาสร้างการเติบโตให้ดีกว่าเดิม

สำหรับสิ่งที่จะช่วยขับเคลื่อนให้ Ecosystem เติบโตได้นั้น ผมมองว่าควรจะมีการสร้างความร่วมมือระหว่างกันให้ดี และตามที่ได้เรียนไปว่าทางสถาบันการเงินเอง ก็จะมีความชำนาญ หรือความเชี่ยวชาญในเฉพาะบางเรื่อง เราเลยไม่สามารถทำทุกเรื่องเองได้ ดังนั้นการใช้ทรัพยากรบุคคลเพื่อไปดำเนินการก็อาจจะไม่พอ เราเลยอยากได้คนที่จะมาช่วยเสริมตรงจุดนี้ จึงไม่อยากให้สตาร์ทอัพมองว่าธนาคาร คือ คู่แข่ง แต่อยากให้มองว่าคุณจะเข้าไปสร้างมูลค่าให้กับธนาคารได้อย่างไร เพื่อให้เขาแข็งแกร่งขึ้น สามารถทำงานได้รวดเร็วขึ้น ดังนั้นการสร้าง Partnership จึงอาจจะเป็นสิ่งที่เห็นกันมากขึ้นในอนาคต ทางด้านภาครัฐที่ผ่านมา ก็ถือว่าช่วยในขอบเขตที่ทำได้ดีอยู่แล้ว บางเรื่องเราก็เห็นว่ามันอาจจะยากเกินไป แต่เขาก็พยายามหาแนวทางใหม่ๆเข้ามาช่วย เช่น กฎระเบียบต่างๆ ที่ผ่านมาก็ไม่ได้ถือเป็นว่าอุปสรรคใหญ่ที่ทำให้สตาร์ทอัพทำงานกันไม่ได้ แต่อาจจะต้องหาความต้องการจากตลาดให้มีมากขึ้น เพราะนอกจากฝั่ง B2B และ B2C แล้ว ยังต้องมี B2G ด้วย โดยภาครัฐอาจจะเข้ามาสนับสนุนการใช้ผลิตภัณฑ์ หรือบริการของสตาร์ทอัพเมืองไทยให้มากขึ้น พร้อมทั้งสร้างคุณค่าให้ทุกหน่วยงาน ทุกองค์กรได้เห็นก่อน เพื่อที่สตาร์ทอัพจะได้มีโอกาสเข้าไปนำเสนอผลงาน

 

  1. สิ่งที่อยากฝากทิ้งท้าย

เราเห็นว่าในช่วงโควิดที่ผ่านมา พอเกิดปัญหา หลายคน หลายบริษัท ไม่ว่าจะเป็น SME หรือ ธุรกิจต่างๆเอง ต่างก็ดิ้นรนเพื่อให้ตัวเองอยู่รอด น้องๆสตาร์ทอัพ ก็อย่าเพิ่งยอมแพ้ ที่จริงแล้วจากข้อมูลช่วงโควิดนี้ สตาร์ทอัพส่วนใหญ่ได้ผลกระทบเชิงบวกด้วยซ้ำไป ดังนั้นถ้าของตัวเองมีปัญหาอยู่ ต้องลองสังเกตเพื่อนๆครับ ว่าเค้าทำอย่างไร ทำไมเค้าทำได้ แล้วทำไมเราจะทำอย่างเค้าบ้างไม่ได้ จึงอยากให้มีความมุ่งมั่นในการฝันฝ่าอุปสรรคนี้ไปด้วยกันครับ

 

คุณธนพงษ์ ณ ระนอง

กรรมการผู้จัดการ

บริษัท บีคอน เวนเจอร์ แคปิทัล

Related Posts

  • ทำไมคนไทยไม่ค่อยลงทุน ?
  • Krungsri มุ่งหน้าช่วยเหลือสตาร์ทอัพ และหนุนระบบนิเวศ ฝ่าวิกฤต Covid-19
  • T2P ผู้ให้บริการโซลูชั่นด้านการเงินอย่างครบวงจร
bt_bb_section_bottom_right_section_coverage_image

Contact Us

Address

439B-1 Siam Paragon Shopping Mall, 4th Floor, Rama 1 Road, Pathumwan, Pathumwan, Bangkok, Thailand 10330

The information contained in this website is provided for informational purposes only and on an “as is” basis, without representation or warranty of any kind. Thai Fintech Association does not guarantee whether the information is correct or up-to-date.   no event shall Thai Fintech Association be liable to you or any person for any loss of business or profits, or for any indirect, incidental or consequential damages arising out of any use of, or inability to use, or for any other claim by you or any other person.

© Copyrights 2021 - All Rights Reserved - Thai Fintech Association