PeerPower ทางเลือกใหม่ของผู้ประกอบการและนักลงทุน

2 มิถุนายน 2020
Share

เรามาดูกันว่า PeerPower จะเป็นทางเลือกใหม่ของผู้ประกอบการและนักลงทุนอย่างไร? และ PeerPower ช่วยปิดช่องว่างทางการเงินได้อย่างไร

  1. แนวคิดและจุดเริ่มต้นในการก่อตั้ง PeerPower เป็นอย่างไร

แนวคิดในการก่อตั้ง เพียร์ พาวเวอร์ เกิดมาจาก 3 ส่วนหลัก ๆ ทั้งจากปัญหาที่เคยพบ ประสบการณ์การลงทุน และ ความรู้ทางการเงิน ส่วนตัวมีประสบการณ์การทำวาณิชธนกิจ และเป็นที่ปรึกษาทางการเงินกว่า 18 ปี ทั้งจากการทำงานในบริษัทขนาดใหญ่ และมาเปิดบริษัทตัวเองใน 10 ปีให้หลัง ตอนผมเป็นเจ้าของร่วมในบริษัทที่ปรึกษาทางการเงิน ซึ่งเป็น Service Business ในตัวบริษัทเองมีกระแสเงินสดแต่ไม่มีทรัพย์สิน ดังนั้นเวลาเราไปเจรจากับทางธนาคารเรื่องการกู้เงิน จะเป็นไปได้ค่อนข้างยาก ผมก็เห็นช่องว่างทางการเงินจากจุดนี้ ขนาดตัวผมเองบริหารธุรกิจที่มีกระแสเงินสดที่ดี แต่ก็ยังไม่สามารถกู้เงินได้เลย เนื่องจากธนาคารไม่เชื่อเรื่องกระแสเงินสด แต่เชื่อในสิ่งที่เป็นทรัพย์สิน เช่น ที่ดิน ตึก รถยนต์ ฯลฯ

และประกอบกับเราเองมีประสบการณ์การลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือก (Alternative Assets) ในต่างประเทศ รวมถึง Peer to Peer loan ในประเทศสหรัฐอเมริกา ส่วนตัวมองว่าเป็นโมเดลธุรกิจที่มีเสน่ห์ ตรงที่จับคู่คนต้องการเงินทุนและนักลงทุน ช่วยปิดช่องว่างทางการเงิน และนี่คือจุดเริ่มต้นในการก่อตั้งบริษัทเพียร์ พาวเวอร์ครับ

เราได้จดทะเบียน เพียร์ พาวเวอร์ เป็นบริษัทจำกัดในปี พ.ศ. 2559 โดยเริ่มให้บริการแพลตฟอร์มสินเชื่อออนไลน์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2560 และ ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2562 เพียร์ พาวเวอร์ ได้รับการอนุมัติจาก ก.ล.ต. เป็นผู้ให้บริการคราวด์ฟันดิงแพลตฟอร์มรายแรกในประเทศไทย ที่ให้บริการได้ทั้งหุ้นและหุ้นกู้ครับ สามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.peerpower.co.th/

 

  1. กลุ่มลูกค้าผู้ที่ต้องการระดมทุนกับทาง PeerPower มีลูกค้าในกลุ่มใดบ้าง

เราให้บริการแก่บริษัทจำกัด และบริษัทจำกัด(มหาชน) ที่ไม่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ โดยต้องผ่านเกณฑ์การประเมินเครดิต (Credit scoring) การพิสูจน์ตัวตน (KYC) และ นโยบายทางเครดิต (Credit policy) ก่อน เนื่องจากนักลงทุนเป็นเจ้าของเงินทุน เขาก็ต้องการลงทุนในบริษัทที่มีความน่าเชื่อถือ บริษัทที่เข้ามาระดมทุนจึงต้องผ่านกระบวนการเหล่านี้ ซึ่งขั้นตอนต่าง ๆ ก็ผ่านเกณฑ์จากทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)

ถ้าในแง่อุตสาหกรรม จริง ๆ เรามีบริษัทจากหลากหลายอุตสาหกรรม แต่ด้วยสถานการณ์ปัจจุบันอีกสิ่งหนึ่งที่นักลงทุนมองหา คือธุรกิจที่สามารถก้าวผ่านช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาด COVID-19 นี้ไปได้ ธุรกิจที่ส่งเสริม New normal เช่น E-retail Logistics E-commerce ธุรกิจเหล่านี้แหละครับ ที่นักลงทุนให้ความสนใจเป็นพิเศษในช่วงนี้

 

  1. วิสัยทัศน์ในการบริหาร PeerPower เป็นอย่างไร

ในเชิงการบริหารองค์กร สำหรับผมบริหารโดยใช้หลักการ 3 อย่าง

  • Make each other better : การทำให้ตัวเองดีขึ้นนั้นเป็นสิ่งที่ทำยาก แต่การจะทำให้คนอื่นดีขึ้นด้วยนั้นจะต้องทำอย่างไร ซึ่งยากกว่า การทำให้ตัวเองและเพื่อนร่วมงานดีขึ้นเป็นการ make us all better
  • Always communicate, especially when in doubt : สื่อสารกันตลอดเวลา โดยเฉพาะเวลาที่มีข้อสงสัย เพื่อที่จะได้รู้ว่าเราสามารถตอบรับเพื่อนร่วมงาน และทีมงานของเราได้ดีขนาดไหน
  • Get things done and keep learning : สิ่งที่เราพูดนั้นเราสามารถพูดได้ แต่ถ้าไม่ปฏิบัติจะทราบได้อย่างไร ต้องปฏิบัติเพื่อเรียนรู้และดูผลตอบรับ นำไปปรับปรุงแก้ไขและทำใหม่เพื่อให้ผลตอบรับที่ดีขึ้น

ทุกครั้งที่มีการพูดคุยกันกับน้อง ๆ ในทีมเพียร์ พาวเวอร์ หรือแม้กระทั่งตัวของผมเอง ผมก็จะใช้หลัก Core Value ทั้ง 3 ข้อนี้ครับ เราอาจจะไม่ได้ทำทุกอย่างให้สมบูรณ์แบบได้ แต่อย่างน้อยเรามีแนวทาง เรามีความชัดเจน “ความสม่ำเสมอ” ก็เป็นเรื่องสำคัญครับ เราทำทุกข้ออย่างสม่ำเสมอ เพราะความสม่ำเสมอนำมาซึ่งความไว้ใจของคนในทีมครับ

 

  1. มองว่า PeerPower สามารถช่วยผลักดันเทคโนโลยีทางการเงินของประเทศเราได้อย่างไร

เพียร์ พาวเวอร์เอง เราเป็น Match Maker เราประยุกต์เทคโนโลยีที่มีอยู่ และสร้างเพิ่มเองบางส่วน เพื่อตอบสนองความต้องการของ User หรือผู้บริโภค ซึ่ง User ของเพียร์ พาวเวอร์ เองมี ทั้งผู้ที่ต้องการเงินทุน (ผู้ขอระดมทุน) และนักลงทุน ซึ่งเราต้องให้ประสบการณ์ที่ดีกับทั้งสองฝั่ง เช่น ในส่วนของนักลงทุนที่มาซื้อหุ้นกู้ เราก็นำเทคโนโลยีมาใช้ช่วยในเรื่องการตรวจสอบข้อมูล ว่า มีการจ่ายเงินตรงเวลาไหม มีการรายงานผลไหม รวมถึงมีการเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใสหรือไม่ ในขณะเดียวกันต้องตอบรับกับหน่วยงานกำกับดูแลด้วยเช่นกัน เช่น สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ต้องมั่นใจว่าดำเนินการภายใต้ขอบเขตที่กำหนดไว้ และเราจะมีการพัฒนาต่อไปเรื่อย ๆ ในเรื่องของ technology intregation กับ partnership ด้วย เพื่อมาช่วยกันพัฒนาเทคโนโลยี และ User experience ซึ่งนี่คือสิ่งที่เพียร์ พาวเวอร์ทำอยู่และจะทำต่อ ๆ ไปครับ

 

  1. อยากฝากอะไรถึงผู้อ่าน

ก่อนอื่นผมขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านข้ามผ่านสถานการณ์ปัจจุบันไปให้ได้ครับ สิ่งที่เลวร้ายจะสามารถผ่านไปได้อย่างแน่นอน ซึ่งมี 2 เรื่องที่จะทำให้เราผ่านวิกฤตนี้ไปได้นะครับ

เรื่องแรก ในมุมของปรัชญา ทุกอย่างจะผ่านไปได้ครับ สิ่งที่เลวร้ายยังไงทุกคนต้องเจออยู่แล้ว แต่จะผ่านไปยังไง จะผ่านไปได้ด้วยดี หรือเราจะชินหรือปรับตัวอยู่กับมันได้ มนุษย์เป็นสัตว์โลกที่ปรับตัวได้ดีที่สุดในโลก ดังนั้นทุกคนปรับตัวได้อยู่แล้ว

เรื่องที่สอง ในมุมของการเงิน ให้มองหาช่องทางที่หลากหลายไว้ ลองเปิดใจ ดู User experience ว่าเทคโนโลยีใด และแพ็กเกจใดสามารถตอบรับเราได้ดีที่สุด โดยให้มองหาหลาย ๆช่องทางพร้อมกัน เพื่อที่จะอยู่รอดพ้นจากวิกฤตนี้และไปต่อได้ อย่ามองหาทีละช่องทาง เช่น การมองหาเงินกู้ คุณอาจจะกู้ธนาคารแล้วและเพิ่มในส่วนของ เพียร์ พาวเวอร์ หรือ คุณอาจจะกู้ เพียร์ พาวเวอร์ แล้วเพิ่มเติมจากการกู้จากธนาคาร หรือช่องทางอื่น ๆ อีกมากมายครับ แหล่งเงินทุนเองก็มีความหลากหลายพอสมควร ต้องศึกษาข้อมูลดี ๆ ครับ

 

คุณวรพล พรวาณิชย์

Founder & CEO บริษัท เพียร์ พาวเวอร์ จำกัด

Related Posts

  • ทำไมคนไทยไม่ค่อยลงทุน ?
  • Covid-19 ตัวเร่งการเข้าถึงเทคโนโลยี และการปรับตัวเข้าสู่ยุคใหม่อย่าง Kasikorn Bank
  • Krungsri มุ่งหน้าช่วยเหลือสตาร์ทอัพ และหนุนระบบนิเวศ ฝ่าวิกฤต Covid-19
bt_bb_section_bottom_right_section_coverage_image

Contact Us

Address

439B-1 Siam Paragon Shopping Mall, 4th Floor, Rama 1 Road, Pathumwan, Pathumwan, Bangkok, Thailand 10330

The information contained in this website is provided for informational purposes only and on an “as is” basis, without representation or warranty of any kind. Thai Fintech Association does not guarantee whether the information is correct or up-to-date.   no event shall Thai Fintech Association be liable to you or any person for any loss of business or profits, or for any indirect, incidental or consequential damages arising out of any use of, or inability to use, or for any other claim by you or any other person.

© Copyrights 2021 - All Rights Reserved - Thai Fintech Association