ผู้ให้ความรู้และแนะนำการลงทุนอย่างเป็นกลาง “Finnomena”

4 สิงหาคม 2020
Share
  1. กล่าวถึง FINNOMENA คร่าวๆ ถึงความเป็นมานัดจากเริ่มก่อตั้ง ถึง ณ ปัจจุบัน

จุดเริ่มต้นของ Finnomena เริ่มจาก ผมและคุณเจษฎา สุขทิศ Co-Founder อีกท่าน ก่อนก่อตั้งเราเห็นเรื่องการ Distrution วงการอื่นๆ เช่น Video Streaming, joox, spotify ในวงการการเงินก็มี Banking Online ซึ่งในประเทศไทยเรายังไม่เห็นสิ่งเหล่านี้ในวงการ Investment เราจึงค้นหาข้อมูลของเมืองนอก ว่าในส่วนของ Investment มีอะไรบ้าง ซึ่งจุดเริ่มต้นของ finnomena ในตอนแรกเราเชื่อว่า Financial literacy ของคนไทยจำเป็นต้องมีการพัฒนาระดับนึง กว่าที่จะเอาคนทั้งประเทศมาลงทุนได้ เราเห็นช่องว่างตรงนี้ครับ ว่าคนในอเมริกาในยุโรปหรือแม้แต่คนญี่ปุ่น เขามีทรัพย์สินหรือว่าเงินออมที่อยู่ใน สินทรัพย์ ทางด้านการลงทุนเกินกว่าถึง 60 ถึง 70 เปอร์เซ็นต์ของระบบเงินออมในระบบเศรษฐกิจ แต่กลับมาดูสถิติของธนาคารแห่งประเทศไทยของเรา ปรากฎว่าคนออมในประเทศไทยหรือในกองทุนรวมนี้ยังน้อยมาก ส่วนใหญ่ยังอยู่ในเงินฝาก ยังไม่ถึง 20 เปอร์เซ็นต์ ฉนั้นในมุมนี้ก็เป็น Business of Community ครับ เราว่าเราจะโตอย่างที่อเมริกา หรืออย่างที่ยุโรปนั้นเป็นไปได้ยาก 

เนื่องจากเราอยู่ใน Mega Trend ที่เงินจะค่อยๆไหลเข้ากองทุนรวม ซึ่งเป็นคนละแบบกับทางอเมริกาและทางยุโรปครับ การที่เงินจะไหลเข้ามาเรื่อยๆ ในกองทุนรวมนั้นไม่ได้เกิดจากแรงผลักดันอย่างเดียว ต้องมีความรู้ทางด้านการเงินก่อนครับ ดังนั้น 4 เดือนแรกที่ FINNOMENA ตั้งขึ้นมา ซึ่งในตอนนั้นเราได้รวบรวมกูรูที่เขียนบทความเกี่ยวกับการเงินและการลงทุน และเชิญมาเขียนบทความลงในเว็บไซต์ finnomena.com โดย Business Model ในตอนแรกตั้งใจว่าจะทำเป็น Monthly Subscription และเป็น Premium Subscription หากขยายความให้เข้าใจคือ มี Content ที่อ่านฟรีและมี Content ที่ต้องชำระเงินเพื่ออ่านบทความ เป็นโมเดลที่คล้ายๆ กับ Seeking Alpha ของอเมริกา ที่เป็นกูรูและผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินและการลงทุนมาเขียนบทความ จะมีบทความวิเคราะห์เชิงลึก แต่หากจะอ่านต้องชำระเงินในการเข้ามาอ่านบทความนั้นๆ แต่คนไทยเราใช้ของฟรีมาแต่ไหนแต่ไร จึงคิดว่าโมเดลนี้น่าจะใช้ไม่ได้ในประเทศไทย เราจึงปรับโมเดลใหม่ โดยที่เราให้ความรู้และในขณะเดียวกันก็ต้องหาเงินไปด้วย เพราะว่าไม่อย่างนั้น FINNOMENA Platform ก็จะไม่เกิดขึ้นจริง จึงเกิดคำถามว่าแล้วเราจะต้องทำอย่างไร? ดังนั้นเราจึงต้องหาเงินทางอ้อม โดยใช้ทฤษฎีการขาย “ข้าวเหนียวหมูปิ้ง” คือ การที่ลูกค้ามาซื้อข้าวเหนียวหมูปิ้ง ลูกค้าก็อยากได้ปิ้งที่อร่อย แต่กำไรจริงๆ อยู่ที่ข้าวเหนียวครับ ดังนั้นต้องขายคู่กัน วิธีของเราก็คือเอาบทความเป็นหมูปิ้งและกองทุนคือข้าวเหนียว หากลูกค้าชอบ Content ของเราแล้วอยากสนับสนุน ก็แนะนำให้เขามาลงทุนกับ FINNOMENA นี่คือที่มาของการเกิด Platform Robo-Advisor ขึ้นในช่วงแรก แต่ในช่วงแรกนั้นเรายังใช้ Playbook Financial Literacy และเชื่อว่านักลงทุนต้องลงทุนด้วยการตั้งเป้าหมายของตัวเองก่อน ว่าเงินก้อนนี้อยากจะเอาไปทำอะไร อย่างเช่น เงินก้อนนี้อยากจะนำไปใช้ตอนเกษียณในจำนวน 30 ล้านบาท หรือตอนนี้มีเงินอยู่ 20 ล้านบาท จะต้องทำอย่างไรเพื่อให้นักลงทุนไปถึงเป้าหมายปลายทางที่เขาได้ตั้งไว้ นี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการก่อตั้ง FINNOMENA ครับ

 

  1. เราเห็น FINNOMENA Live ให้ความรู้บ่อยมากๆ นอกจากการ Live แล้ว ทาง FINNOMENA มีกลยุทธ์อย่างอื่นอีกไหมคะที่ให้ความรู้เรื่องการลงทุน 

ในส่วนของวิดีโอ Live จะเป็น Moment Content ครับ คือสิ่งที่คนสนใจจริงๆ ณ ตอนนั้น นอกจาก Live แล้วเรามี Video Content อีกแบบนึงครับคือวีดีโอที่อัดแล้วไปตัดต่อ เป็นวีดีโอที่ให้ความรู้ซึ่งมีอยู่ 2 ระดับครับ

ระดับที่ 1 เป็นการให้ความรู้ที่ฟังแล้วเข้าใจง่ายภายใน 15 นาที เช่น ฝากเงินที่ไหนดี? กองทุนรวมคืออะไร? เป็นต้น

ระดับที่ 2 เป็นวิดีโอที่วิเคราะห์เจาะลึก เช่น เราไปสัมภาษณ์ผู้จัดการกองทุนที่อยู่ตามบริษัทหลักทรัพย์ ซึ่ง Content แบบนี้เราเป็นคนทำจ้าวแรกๆเลยครับ 

การที่คนเราจะเลือกซื้อกองทุนก็จะดูว่ากองทุนนี้มีผลตอบแทนย้อนหลังดีหรือไม่ แต่ในความเป็นจริงแล้วเราจะดูเพียงแค่ผลตอบแทนย้อนหลังอย่างเดียวไม่ได้ เพราะว่าหากเจอความผันผวนหรือเจอความไม่แน่นอนของตลาด จะทำให้นักลงทุนรับความเสี่ยงตรงนี้ไม่ได้ ฉนั้นวิธีการ Invest Analysis คือต้องทำให้นักลงทุนเห็นว่ากองทุนที่เคยผลตอบแทนที่ ดีในอดีต นั้นมีความเสี่ยงเพราะอะไร สิ่งเหล่านี้ทำให้นักลงทุนเกิดการเรียนรู้ก่อนที่จะเอาตัวเองไปลงทุนจริงๆ ครับ นี่คือสิ่งที่เราพยายามทำทั้งบนวีดีโอและบน Content หลักๆของ Finnomena หากเป็นบทความที่วิเคราะห์เจาะลึกเรื่องกองทุนรวม เช่น เป็นการเปรียบเทียบกับ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนต่างๆ เราทำเรื่องนี้ชัดเจนและเป็นกลางมากเพราะว่าเราเป็นตัวแทนขายหน่วยลงทุนต่างๆ มากถึง 19 บริษัท เราจึงให้ความเป็นกลางเหมือนหนึ่งว่าเป็นนักลงทุนจริงๆ นี่คือสิ่งที่เราทำครับ

 

  1. ด้วยสถานการณ์ covid-19 ที่มันระบาดอยู่ตอนนี้ ทาง FINNOMENA มีการแก้ปัญหาอย่างไร ให้การทำงานและการบริการลูกค้า ยังเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วันที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศจำนวนผู้ติดเชื้อ ทาง FINNOMENA ได้ประชุมกับทีม Management Partner ทั้งหมด โดยเราจะทำการ Work From Home ตั้งแต่วันรุ่งขึ้นเป็นต้นไป สิ่งแรกที่เราทำคือต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของพนักงานเป็นที่ตั้ง เราให้พนักงาน Work From Home ตั้งแต่ก่อนประกาศ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ซึ่งก่อนที่จะทำแบบนั้นได้นั้น ต้องมีการวางแผนประคับประครองเพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพคงเดิมและให้ลูกค้ามั่นใจว่าเรายังอยู่กับเขา ซึ่งเราได้ทำสิ่งเหล่านี้เพื่อสร้างความมั่นใจ ได้แก่

สิ่งแรก “Live” ก่อนหน้าที่จะมีสถานการณ์ Covid-19 เราทำ Live 1 วัน/สัปดาห์ คือวันพฤหัสบดี เวลา 19.00 น. พอเป็นช่วงที่มีสถานการณ์ Covid-19 เราทำการ Live 4 วันทำการเลยครับ จากปกติ 5 วันทำการ เพื่อเป็นสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนเพื่อให้รู้ว่าเรายังอยู่กับนักลงทุนตลอด 

สิ่งที่ 2 เราตั้ง Dashboard ขึ้นมา ชื่อว่า covid.finnomena.com เป็นเว็บไซต์ที่คล้ายกับของ John Hopkins ที่รายงานความเคลื่อนไหวของ Covid-19 ว่ามีผู้ติดเชื้อทั่วโลกจำนวนเท่าไหร่ เราทำเรื่องนั้นและโยงมาว่า Covid-19 ในช่วงนั้น มีผลกระทบต่อ Sentiment และสภาพเศรษฐกิจของแต่ละประเภทการลงทุน ซึ่งจะมีผลกระทบต่อพอร์ทของลูกค้าอย่างไรบ้างเราทำ Dashboard เพื่อให้นักลงทุนติดตาม ก่อน Work From Home เพียง 3 วัน และเป็นเพจวิวที่คนดูมากที่สุดใน finnomena.com เลยครับ

สิ่งสุดท้าย ในสถานการณ์เช่นนี้เรารู้ว่าตลาดมีความผันผวน นักลงทุนต้องการคนอยู่ข้างๆ เราจึงเพิ่มบริการอีก 2 ทางเพื่อให้ลูกค้าติดต่อครับ นั่นคือ Call Center และ Line Official โดยตามปกติเราเปิดทั้ง 2 ช่องทางนี้ในเวลา 09.30 น. ถึง 16.30 น. ในสถานการณ์เช่นนี้เราจึงขยายระยะเวลาบริการลูกค้า ตั้งแต่เวลา 8.30 น. ถึง 19.30 น. นี่คือวิธีที่เราทำครับ

 

4. FINNOMENA มองว่าหลังสถานการณ์ Covid-19 แนวโน้มของการลงทุนจะเป็นไปในทิศทางใด

หากมองแนวโน้มที่เป็นประเภทสินทรัพย์ที่ได้รับประโยชน์จากช่วง Covid-19 ค่อนข้างชัดเจนเป็นจำพวก Cloud Computing Service กับพวกเทคโนโลยีที่เป็น Cloud Software หรือ Cloud-Based ครับ เช่น Zoom Meeting, Spotify หรือ Atlassian ที่เป็นบริษัทแม่ ของ Application ที่ชื่อ Jira และ Trello ราคาหุ้นค่อนข้างสูงเลยครับ เนื่องจากว่าคนต้องทำ Social Distancing กับ Work From Home คนต้องใช้ Application เหล่านี้เยอะมาก ซึ่งผมคิดว่าถึงแม้ว่า Covid-19 กำลังจะหายไป แต่สิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่ดีกว่าวิธีเดิมที่เราเคยใช้มา คนก็ยังจะใช้สิ่งเหล่านี้อยู่ครับ หากเป็นในมุมของ Investment Mega Trends ในอนาคตหลัง Covid-19 เรามองว่าหุ้นเทคโนโลยีที่เป็น Cloud-Based มาแน่นอนครับ ถึงแม้ว่า Covid-19 จะอยู่กับเรายาวหรือสั้น ยังไง พฤติกรรม ถูก Distrub ไปแล้ว อีกอย่างหนึ่งที่พอบอกได้คือเงินจะไหลออกจากตราสารหนี้ เพราะมองว่าดอกเบี้ยทั้งโลกไม่น่าจะปรับตัวขึ้นได้ภายใน 2 ปี ดูง่ายๆจากที่ธนาคารแห่งประเทศไทยของเราลดดอกเบี้ยไปแล้ว ถึง 2 ครั้ง นักลงทุนที่ฝากเงินในธนาคาร, ในออมทรัพย์ หรือในตราสารหนี้ก็จะรู้สึกว่าต้องย้ายเงินออกมาแล้ว เพราะว่าฝากไปก็ได้ดอกเบี้ยค่อนข้างน้อยครับ

 

  1. สุดท้าย FINNOMENAอยากฝากอะไรถึงผู้อ่าน

อยากให้ทุกคนเตรียมตัวตั้งรับกับสถานการณ์นี้ครับ ไม่ใช่เพียงแต่ตั้งรับเรื่องวิกฤต Covid-19 อย่างเดียว แต่สำหรับกรณีของ Covid-19 นี้ โอกาสที่จะเกิดน้อยมากครับ แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้ว Impact ค่อนข้างสูง สิ่งนี้ทำให้เรารู้แล้วว่างานหรือทักษะที่เราทำอยู่ควรจะมีมากกว่า 1 ทักษะหรือ 1 งานครับ การที่เรามีความสามารถในการหาเงินได้มากกว่า 1 ช่องทาง นั้นย่อมดีกว่าแน่นอน สิ่งนี้คือหนึ่งในการบริหารความเสี่ยง เพื่อให้เราอยู่ได้ในสภาวะที่เกิดวิกฤตเช่นนี้ เราควรคำนึงถึงเรื่องการบริหารความเสี่ยงให้มากขึ้น มากขึ้นกว่าที่เราเคยคำนึงถึงครับ

 

คุณชยนนท์ รักกาญจนันท์ (Mr.Messenger)

Chief Advisory Officer & Co-Founder, FINNOMENA

Related Posts

  • ทำไมคนไทยไม่ค่อยลงทุน ?
  • Covid-19 ตัวเร่งการเข้าถึงเทคโนโลยี และการปรับตัวเข้าสู่ยุคใหม่อย่าง Kasikorn Bank
  • Krungsri มุ่งหน้าช่วยเหลือสตาร์ทอัพ และหนุนระบบนิเวศ ฝ่าวิกฤต Covid-19
bt_bb_section_bottom_right_section_coverage_image

Contact Us

Address

439B-1 Siam Paragon Shopping Mall, 4th Floor, Rama 1 Road, Pathumwan, Pathumwan, Bangkok, Thailand 10330

The information contained in this website is provided for informational purposes only and on an “as is” basis, without representation or warranty of any kind. Thai Fintech Association does not guarantee whether the information is correct or up-to-date.   no event shall Thai Fintech Association be liable to you or any person for any loss of business or profits, or for any indirect, incidental or consequential damages arising out of any use of, or inability to use, or for any other claim by you or any other person.

© Copyrights 2021 - All Rights Reserved - Thai Fintech Association