T2P ผู้ให้บริการโซลูชั่นด้านการเงินอย่างครบวงจร

5 ธันวาคม 2020
Share
  1. ช่วยแนะนำบริษัท T2P ให้รู้จักหน่อย

บริษัท ทีทูพี จำกัด (T2P) เป็นผู้ให้บริการโซลูชั่นแบบครบวงจรเพื่อธุรกรรมด้านการเงินแก่ลูกค้าภาคองค์กรธุรกิจแบบ B2B2C อาทิ ระบบชำระเงิน, โอนเงิน, White Label Wallet เพื่อให้ลูกค้าขององค์กรสามารถชำระค่าสินค้า และบริการผ่านตามช่องทางที่หลากหลายทั่วประเทศ นอกจากนี้ทีทูพียังให้บริการต่อเนื่องที่รวมไปถึงการบริหารความสัมพันธ์ลูกค้าผ่านบริษัทในเครือของบริษัท คือ DeepBlok เพื่อให้ลูกค้าองค์กร นอกจากรับชำระเงินแล้ว ยังสามารถทำระบบการจัดการสมาชิกพร้อมการจัดการแคมเปญการตลาดและการขายที่สมบูรณ์แบบ เพื่อสื่อสารและรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า

ปัจจุบันบริษัทของเราน่าจะเป็น e-money company อิสระรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย โดยได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อให้บริการธุรกรรมทางการเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่ครอบคลุมถึง 5 ใบอนุญาต ได้แก่ การให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์, การให้บริการสนับสนุนบริการแก่ผู้รับบัตร, การให้บริการรับชำระเงินแทน, การให้บริการโอนเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ และการโอนเงินระหว่างประเทศ 

 

  1. E-payment มีข้อดีและข้อเสียกับบุคคลทั่วไปอย่างไร แล้วระบบ Payment Gateway ช่วยส่งเสริมการดำเนินงานของผู้ประกอบการในเรื่องใด

E-Payment หรือ Electronic Payment นั้น คือ รูปแบบการชำระเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เราจะคุ้นเคยกันอย่างมากกับการใช้บัตรเครดิตชำระเงิน หรือ ที่แพร่หลายมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดกับการใช้จ่ายผ่านโทรศัพท์มือถือด้วย E-Wallet ต่างๆ เป็นต้น ข้อดีสำหรับบุคคลธรรมดาอย่างเราๆ แน่นอนว่า ความสะดวก มาเป็นอันดับหนึ่ง เราสามารถเข้าถึงการรับ การใช้จ่าย การโอน ได้ทุกที่ ทุกเวลา เรียกได้ว่าแทบจะไม่ค่อยเห็นใครพูดถึงการเดินไปที่ธนาคารเพื่อโอนเงินจ่ายค่าสินค้าอีกแล้วในปัจจุบันนี้ นอกจากความสะดวกแล้ว เมื่อมันเป็นอะไรที่ออนไลน์แล้ว เราสามารถตรวจสอบ รับการแจ้งเตือนต่างๆได้รวดเร็วมากขึ้น ต่อเนื่องไปจนถึงค่าธรรมเนียมในการทำรายการที่ถูกลงมาก และที่เห็นได้ชัดอีกอย่างก็คือ รัฐบาลเองก็สามารถให้สิทธิประโยชน์กับเราๆได้มากขึ้นผ่านช่องทางนี้ด้วย ส่วนข้อเสียนั้นต้องยอมรับว่า เมื่อสามารถทำธุรกรรมต่างๆได้ง่ายและรวดเร็ว ผู้ใช้บริการอาจต้องใช้ความระมัดระวังมากขึ้นในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลและการทำธุรกรรมต่างๆ เพื่อมิให้มิจฉาชีพสามารถแอบนำข้อมูลไปใช้งานได้

 

  1. คิดว่าตอนนี้ประเทศไทยเริ่มเข้าสู่ Cashless society อย่างเต็มตัวแล้วหรือยัง

ตอนนี้คำว่า Cashless Society ในไทยนั้นไม่ใช่คำใหม่แต่อย่างใด คนไทยเริ่มคุ้นเคยกับข้อความที่บอกว่าสังคมไทยไร้เงินสดมากขึ้น ดังนั้น ถ้าถามว่าไทยเองเข้าสู่สังคมแบบนั้นแล้วหรือยัง ขอตอบว่าเรามาไกลจากวันแรกมาก ปีหลังๆมานี้ ด้วยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนตั้งแต่ภาครัฐ ภาคเอกชน ต่างก็พัฒนาโซลูชัน โปรโมชั่นมากมาย เพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภค ทำให้สังคมเราคุ้นเคยกับการทำธุรกรรมที่ไร้เงินสด ตั้งแต่ “พร้อมเพย์ – PromtPay” , QR Code, Application ทั้งจาก Bank เอง และ Non – Bank ในขณะเดียวกันผู้ประกอบการก็มีส่วนช่วยให้สังคมเราคุ้นเคยกับเรื่องนี้มากขึ้น เพราะเมื่อมีร้านค้ารับชำระเงินแบบ Digital มากขึ้น ก็จะพาผู้บริโภคนั้นค่อยๆ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามไปด้วยเช่นกัน

 

  1. ในอนาคตระบบ e-Payment จะมีนวัตกรรมอะไรใหม่ๆเกิดขึ้น และจะส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการใช้เงินสดอย่างไร

ปัจจุบันเราจะเห็นรูปแบบการชำระเงินทางออนไลน์รูปแบบใหม่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในด้าน user experience เช่น การชำระเงินผ่านระบบ Chat การชำระเงินที่เน้น social payment เช่น การโอนเงินให้เพื่อน หรือคนใกล้ชิดได้สะดวกมากขึ้น หรือการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีที่เป็นนวัตกรรมใหม่ที่อาจจะเริ่มเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันเพิ่มมากขึ้น อาทิพวก Blockchain, Stable Coins หรือ IoT Payments ซึ่งเมื่อมีช่องทางการใช้เงินในรูปแบบ digital มากขึ้นเรื่อยๆ ไปเติมเต็ม lifestyle ของคนให้สะดวกมากยิ่งขึ้น การใช้เงินสดน่าจะลดลงไปเรื่อยๆ และหวังว่าเราจะเข้าสู่ Cashless เต็มรูปแบบในอนาคตอันใกล้

 

  1. ฝากข้อคิดเรื่องการปรับตัวในช่วง Post Covid-19 หน่อย

ในปีนี้เราได้พบกับข้อเท็จจริงที่ว่าอะไรก็เกิดขึ้นได้ และต้องบอกว่าในช่วง Covid ที่ผ่านมานั้นถึงแม้จะเป็นเรื่องที่เราไม่อยากให้เกิดขึ้น แต่ก็ต้องยอมรับว่าด้วยสถานการณ์นั้น E-Payment ก็เข้ามามีบทบาทมากขึ้น คนไทยช้อปออนไลน์ ใช้ Application สั่งดิลิเวอรี่มากขึ้น หลายๆธุรกิจออนไลน์ก็ยอดโตไปตามๆกัน เหตุการณ์นี้ทำให้เราเห็นหลายอย่าง คือ ในวิกฤตมีโอกาสเสมอ และอีกอย่างคือ องค์กรที่ปรับตัวได้เร็วก็จะสามารถฝ่าวิกฤตไปโดยง่าย และยังเป็นโอกาสในการชนะคู่แข่งที่ไม่สามารถปรับตัวได้ทัน

หลังจากนี้ไป เมื่อสถานการณ์คลี่คลายมากขึ้น พฤติกรรมผู้บริโภคจะเปลี่ยนไป อย่างที่หลายคนพูดถึงว่าเป็น New Normal สิ่งสำคัญ คือ ทุกองค์กรจะต้องปรับตัวให้ทันให้เร็ว แม้ว่า Covid จะผ่านไป องค์กรจะต้องปรับตัวให้สามารถ engage ลูกค้าได้ทุกช่องทาง โดยเฉพาะขีดความสามารถในการทำ transaction หรือ services ต่างๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ตามพฤติกรรมผู้บริโภคที่นิยมทำธุรกรรมออนไลน์มากยิ่งขึ้น

 

คุณทวีชัย ภูรีทิพย์

ประธานคณะผู้บริหาร

บริษัท ทีทูพี จำกัด

Related Posts

  • ทำไมคนไทยไม่ค่อยลงทุน ?
  • Covid-19 ตัวเร่งการเข้าถึงเทคโนโลยี และการปรับตัวเข้าสู่ยุคใหม่อย่าง Kasikorn Bank
  • Krungsri มุ่งหน้าช่วยเหลือสตาร์ทอัพ และหนุนระบบนิเวศ ฝ่าวิกฤต Covid-19
bt_bb_section_bottom_right_section_coverage_image

Contact Us

Address

439B-1 Siam Paragon Shopping Mall, 4th Floor, Rama 1 Road, Pathumwan, Pathumwan, Bangkok, Thailand 10330

The information contained in this website is provided for informational purposes only and on an “as is” basis, without representation or warranty of any kind. Thai Fintech Association does not guarantee whether the information is correct or up-to-date.   no event shall Thai Fintech Association be liable to you or any person for any loss of business or profits, or for any indirect, incidental or consequential damages arising out of any use of, or inability to use, or for any other claim by you or any other person.

© Copyrights 2021 - All Rights Reserved - Thai Fintech Association