พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่สนพระทัย และทรงศึกษาอย่างจริงจังลึกซึ้งในการค้นคว้าวิจัยเพื่อการพัฒนาในทางเทคโนโลยี โดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นทรงให้ความสำคัญและประโยชน์อย่างยิ่งทรงสนับสนุนการค้นคว้าในทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ ซึ่งพระองค์นั้นทรงศึกษาคิดค้นสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการประมวลผลข้อมูลต่าง ๆ ด้วย ทั้งนี้พระองค์เองทรงประดิษฐ์รูปแบบตัวอักษรไทยที่มีลักษณะงดงามเพื่อแสดงผลบนจอภาพ คอมพิวเตอร์และเครื่องพิมพ์ โดยพระองค์ทรงใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการบันทึกพระราชกรณียกิจต่าง ๆ และทรงติดตั้งเครือข่ายสื่อสารคอมพิวเตอร์เพื่อสนับสนุนพระราชภารกิจต่าง ๆ อีกทั้งยังทรงเคยประดิษฐ์ ส.ค.ส.ด้วยคอมพิวเตอร์เผยแพร่ผ่านสื่อมวลชนเพื่อทรงอวยพรปวงชนชาวไทยอีกด้วย
ม.ล.อัศนี ปราโมช เป็นผู้ซื้อคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยที่สุดในยุคนั้นขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย ซึ่งหากนับอายุโดยคร่าวของ Macintosh Plus ก็จะพบว่ามีอายุนับจากการเปิดตัวครั้งแรกในปี 1986 หรือประมาณ 30 ปีแล้ว ส่วนสาเหตุที่เลือก Macintosh Plus นั่นเป็นเพราะสามารถเก็บและพิมพ์โน้ตเพลงได้ง่าย การเรียนรู้ และใช้งานง่าย อีกทั้งยังสามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์พิเศษสำหรับเล่นดนตรีตามโน้ตเพลงที่เก็บไว้ได้ ซึ่งสำหรับเรื่องอักขระคอมพิวเตอร์หรือฟอนต์ (Font) นั้นเป็นที่สนพระราชหฤทัยก็เพราะหลังจากที่พระองค์ท่านได้ทรงศึกษา และใช้คอมพิวเตอร์ทำโน้ตคือเมื่อประมาณเดือนธันวาคมพ.ศ.2529 และทรงทดลองใช้โปรแกรม”Fontastic”เมื่อ
ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2530 โดยสิ่งที่ทรงสนพระทัยเป็นพิเศษคือการประดิษฐ์ตัวอักษรไทย
พระองค์ท่านทรงประดิษฐ์อักษรไทยหลายแบบ เช่น แบบจิตรลดา แบบภูพิงค ์ฯลฯ และทรงสนพระทัยประดิษฐ์อักษรขนาดใหญ่ที่สุดจนถึงขนาดเล็กที่สุด ซึ่งนอกจากนี้ยังตั้งพระทัยในการประดิษฐ์อักษรภาษาอื่นๆเพิ่มขึ้นคือ ภาษาสันสกฤตและทรงดำริจะประดิษฐ์อักษรภาษาญี่ปุ่น แต่ขณะนี้ยังไม่ได้เริ่มประดิษฐ์รับสั่งว่าต้องใช้เวลามาก ต่อมาก็ได้ทรงหันมาศึกษาการใช้คอมพิวเตอร์แสดงตัวเทวนาครีบนจอภาพหรือที่พระองค์ท่านทรงเรียกว่า “ภาษาแขก” ซึ่งจัดทำได้ยากกว่าตัวอักษรภาษาไทยเพราะตัวอักษรเทวนาครีนั้นรูปแบบไม่คงที่กล่าวคือ ถ้านำส่วนหนึ่งของอักษรนำมาต่อรวมกับอีกส่วนหนึ่งของอักษรจะเกิดอักษรใหม่ขึ้นและโปรแกรมที่พระองค์ทรงสร้างขึ้นนั้นมีตัว phonetic symbols การสร้างตัวอักษรเทวนาครีนั้นทรงเริ่มเมื่อประมาณ เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2530 ทรงศึกษาตัวอักษร เทวนาครีด้วยพระองค์เองจากพจนานุกรมและตำราภาษาสันสกฤตและทรงสอบถามจากผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาบาลีสันสกฤต เช่น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี และท่านองคมนตรีม.ล.จิราย นพวงศ์ ซึ่งจะต้องตรวจสอบตัวอักษรที่ทรงสร้างขึ้นพระองค์นำโปรแกรมออกแสดงเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๓๐ มีคำถามว่าเหตุใดพระองค์ท่านจึงทรงสนพระราชหฤทัยในตัวอักษรเทวนาครีหรือภาษาแขกเรื่องนี้มีผู้อธิบายไว้ว่าในหลวงที่รักของพวกเรานั้นทรงศึกษาข้อธรรมะในพระพุทธศาสนาอย่างจริงจังและลึกซึ้งการที่ทรงศึกษาตัวอักษรแขกก็เพื่อเป็นการนำไปสู่ความเข้าใจด้านอักษรศาสตร์และความเข้าใจในหัวข้อธรรมะนั่นเองเรื่องนี้นับว่าพระองค์มีวิจารณญาณที่ลึกซึ้งยิ่งนักเพราะคำสอน และข้อธรรมะในพุทธศาสนานั้นเดิมทีก็เกิด และเผยแพร่มาจากประเทศอินเดียบรรดาธรรมะที่ลึกซึ้งและยากแก่ความเข้าใจ ก็อาจจะถูกตีความผันแปรบิดเบือนไปได้ ดังนั้นการศึกษาค้นคว้าลึกลงไปถึงภาษาแขกจึงน่าจะได้ความรู้เกี่ยวกับธรรมะชัดเจนกระจ่างมากขึ้น
ต่อมาได้มีผู้ทูลเกล้าฯ ถวายเครื่องคอมพิวเตอร์ IBM PC Compatible และทรงสนพระทัยศึกษาในการพัฒนา Software ต่าง ๆ และได้สร้างโปรแกรมใหม่ๆขึ้นมารวมทั้งสนพระทัยในเทคนิคการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์แบบนี้มากทีเดียว บางครั้งทรงเปิดเครื่องออกดูระบบต่าง ๆ ภายในด้วยพระองค์เอง หรือทรงปรับปรุง Softwareใหม่ขึ้นใช้ ทรงแก้ซอฟต์แวร์ในเครื่อง เช่น โปรแกรมภาษาไทย CU WRITER ให้เป็นไปตามพระราชประสงค์
จะเห็นได้ว่าพระองค์ทรงใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการพิมพ์งานทรงพระอักษรส่วนพระองค์ และทรงเก็บงานเหล่านี้เป็นเรื่องๆมาปะติดปะต่อกันจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับพระราชกรณียกิจและบทพระราชนิพนธ์ เช่น เรื่องนายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ เป็นต้น ผลงานอีกชิ้นหนึ่งที่พระองค์ทรงประดิษฐ์ก็คือ การใช้คอมพิวเตอร์ “ปรุง “อวยพรปีใหม่เพื่อพระราชทานแก่ข้าราชการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องแต่เดิม
พระองค์ได้พระราชทานผ่านเครื่องเทเล็กซ์ นอกจากนี้พระองค์ทรงสนพระทัยคอมพิวเตอร์เป็นอย่างมาก สังเกตได้จากขณะเสด็จพระราชดำเนินชม งานนิทรรศการต่าง ๆ เช่น สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังพระองค์สนพระทัยซักถาม อาจารย์และนักศึกษาที่ประดิษฐ์ซอฟต์แวร์ต่าง ๆ อย่างละเอียดและเป็นเวลานาน
นอกเหนือจากเป็นสถานีวิทยุของสื่อมวลชนเพื่อการบันเทิง และเผยแพร่ความรู้กับประชาชนแล้ว ยังได้ทำหน้าที่แจ้งข่าวสารแก่ประชาชนในโอกาสสำคัญ หรือเกิดเหตุการณ์ที่สำคัญต่าง ๆ ขึ้น เช่น การเกิดโรคโปลีโอระบาดในปี พ.ศ. 2495 อหิวาตกโรคในปี พ.ศ. 2501 และเมื่อเกิดวาตภัยที่แหลมตะลุมพุกในปี พ.ศ. 2505
Reference
http://www.princess-it.org/kp9/hmk-IT/hmk-computer.th.html