ธนาคารกสิกรไทย และ แกร็บ ผู้นำแพลตฟอร์มออนไลน์-ทู-ออฟไลน์ (O2O) ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกาศความร่วมมือผลักดันให้เกิด ‘ดิจิทัล ไลฟ์สไตล์ อีโคซิสเต็ม’ (Digital Lifestyle Ecosystem) โดยใช้ศักยภาพความเป็นผู้นำด้านดิจิทัล แบงกิ้ง ของธนาคารกสิกรไทย ในการพัฒนานวัตกรรมร่วมกัน เพื่อร่วมสร้างประสบการณ์ใหม่ ของการใช้บริการแกร็บอย่างไม่มีสะดุด โดยเชื่อมโยงผู้คนที่ใช้บริการทั้งระบบ ได้แก่ ลูกค้าที่ใช้บริการ, ผู้ขับขี่, ร้านค้า และตัวแทนของแกร็บ ความร่วมมือดังกล่าวประกอบด้วย บริการทางการเงินแกร็บเพย์ บาย เคแบงก์ แอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนที่เตรียมเปิดตัวในปีหน้า รวมถึงขยายการให้บริการทางการเงินอื่นๆ ที่ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า ทั้งนี้ ธนาคารกสิกรไทย ยังได้ร่วมลงทุนในแกร็บเป็นมูลค่า 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
นายธรินทร์ ธนียวัน กรรมการผู้จัดการใหญ่ แกร็บ ประเทศไทย เปิดเผยว่า “แกร็บมีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมือกับธนาคารกสิกรไทย โดยมีเป้าหมายเดียวกันคือ การนำนวัตกรรมมาช่วยยกระดับประเทศไทยไปสู่ระบบเศรษฐกิจดิจิทัล บริการกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์บนสมาร์ทโฟนที่เกิดจากความร่วมมือดังกล่าว จะทำให้คนไทยเข้าถึงระบบการชำระเงินระบบดิจิทัลที่สะดวกและปลอดภัยได้มากขึ้น สิ่งนี้เป็นการตอกย้ำความมุ่งมั่นที่จะทำให้แกร็บ เป็นซูเปอร์แอพสำหรับทุกวัน (Everyday Super App) ที่ตอบสนองความต้องการในแต่ละวันของลูกค้าให้ดีที่สุด”
นายพัชร สมะลาภา กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า “ทิศทางธุรกิจในระดับภูมิภาคของธนาคารกสิกรไทย คือ มุ่งขยายธุรกิจไปยังตลาดกลุ่มประเทศอาเซียน +3 ซึ่งเป็นตลาดที่มีโอกาสนำศักยภาพดิจิทัล เทคโนโลยีมาใช้ผ่านช่องทางดิจิทัลและบริการต่างๆ บนสมาร์ทโฟน โดยธนาคารได้วาง กลยุทธ์ในการร่วมมือกับพันธมิตรชั้นนำในแต่ละธุรกิจ ด้วยคอนเซปต์ “Better Together” ด้วยการผสานจุดแข็งของแต่ละฝ่าย เพื่อร่วมกันนำเสนอบริการที่ดีที่สุดให้กับการใช้ชีวิตของลูกค้าในทุกๆ วัน”
“ความร่วมมือระหว่างธนาคารกสิกรไทย และแกร็บ ทำให้เกิดโอกาสใหม่ๆ ในการร่วมกันพัฒนานวัตกรรมให้กับอุตสาหกรรมและภูมิภาคที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว ธนาคารยินดีที่ได้ร่วมทำงานกับแกร็บในการปรับเปลี่ยนประสบการณ์ของลูกค้าทั้งวงจรของการให้บริการไปสู่ “ดิจิทัล ไลฟ์สไตล์ อีโคซิสเต็ม” (Digital Lifestyle Ecosystem) เต็มรูปแบบ ทั้งผู้ใช้บริการแกร็บ ผู้ขับรถ และร้านค้า รวมถึงการยกระดับระบบขนส่งและจัดส่งที่ปลอดภัย มีราคาที่เหมาะสม ให้กับผู้ใช้บริการแกร็บหลายล้านราย ตลอดจนผู้ใช้บริการรับส่งอาหารและพัสดุ ผู้ใช้บริการชำระเงินผ่านสมาร์ทโฟน และบริการทางการเงินต่างๆ ทั้งนี้ ธนาคารตั้งเป้าหมายในการเป็นดิจิทัล แบงกิ้งที่ได้รับการยอมรับในระดับภูมิภาค ซึ่งการร่วมกันพัฒนากระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์บนสมาร์ทโฟนและการลงทุนในแกร็บ จะทำให้ธนาคารสามารถนำศักยภาพของแกร็บมาทำให้เกิดประโยชน์กับร้านค้าและลูกค้าของธนาคารที่อยู่ในประเทศไทย โดยการลงทุนของธนาคารผ่านบริษัท บีคอน เวนเจอร์ แคปิทัล จำกัด (Beacon VC) ในครั้งนี้ถือเป็นการร่วมทุนครั้งแรกกับบริษัทต่างชาติที่ดำเนินธุรกิจหลักอยู่นอกประเทศไทย ซึ่งมีความสำคัญอยู่ที่ฐานจำนวนผู้ใช้ทั่วอาเซียนของแกร็บที่มีโอกาสเติบโตเทียบเท่ากับสถาบันการเงินชั้นนำ โดยธนาคารจะร่วมกันกับแกร็บในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่จะส่งเสริมศักยภาพของธนาคารให้ก้าวไปสู่ระบบเศรษฐกิจดิจิทัลที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วในภูมิภาคนี้”
ในความร่วมมือดังกล่าว ครอบคลุมการพัฒนาแอปพลิเคชันการชำระเงินผ่านสมาร์ทโฟน และบริการทางการเงินต่าง ๆ ร่วมกัน
1. แกร็บเพย์ บาย เคแบงก์ (GrabPay by KBank) เป็นกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์บนสมาร์ทโฟน (Mobile Wallet) ที่จะทำให้ลูกค้าแกร็บชำระเงินค่าเดินทางและค่าบริการรับส่งของ ตลอดจนสามารถโอนเงินให้กับเพื่อนหรือครอบครัวใช้สำหรับซื้อสินค้าและบริการออนไลน์ รวมทั้งใช้จ่ายผ่านคิวอาร์โค้ดในร้านอาหารหรือร้านค้าต่างๆ ทั่วประเทศไทย ซึ่งเป็นผลจากบริการพร้อมเพย์ภายใต้แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบการชําระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (National e-Payment Scheme) ทำให้ร้านค้าสามารถใช้บริการ “แกร็บเพย์ บาย เคแบงก์” ได้ทันทีที่เปิดให้บริการ
2. การพัฒนาให้แอปพลิเคชันเคพลัสและแกร็บให้ใช้งานร่วมกันได้ ทำให้ลูกค้าใช้บริการตลอดวงจรการให้บริการของทั้งธนาคารกสิกรไทยและแกร็บได้อย่างราบรื่น
3. นำเสนอผลิตภัณฑ์ให้กับลูกค้าที่อยู่ในวงจรการให้บริการของธนาคารกสิกรไทยและแกร็บ โดยธนาคารกสิกรไทยและแกร็บ ร่วมกันนำเสนอผลิตภัณฑ์ต่างๆ ให้กับกลุ่มลูกค้าของตนเอง เช่น การเสนอสินเชื่อกสิกรไทยให้ผู้ขับรถแกร็บสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น การนำเสนอบริการ “แกร็บ ฟอร์ บิสซิเนส” (Grab for Business) ให้กับลูกค้าเอสเอ็มอีของธนาคารกสิกรไทย เพื่อช่วยบริหารจัดการค่าใช้จ่ายในการเดินทางของบริษัท ตลอดจนการสื่อสารสร้างการรับรู้แบรนด์และเข้าถึงลูกค้าผ่านบริการโฆษณาของแกร็บ
“ในปีพ.ศ. 2561 แกร็บ ไฟแนนเชียล ได้ก้าวขึ้นสู่การเป็นผู้นำแพลตฟอร์มฟินเทคในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งในแง่ของจำนวนผู้ใช้ต่อเดือน (Monthly Active Users) และมูลค่าการใช้จ่ายรวม (Total Payments Volume) การร่วมมือทางธุรกิจในครั้งนี้จะทำให้แกร็บ ไฟแนนเชียลเป็นแพลตฟอร์มแรกบนสมาร์ทโฟนที่ได้รับใบอนุญาตในการเปิดให้บริการระบบชำระเงินใน 6 ประเทศอาเซียน รวมถึงตอกย้ำความแข็งแกร่งในกลยุทธ์การร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจ จากการที่แกร็บเปิดแพลตฟอร์มนี้เอง ทำให้มีธุรกิจด้านการเงินชั้นนำจำนวนมากที่ต้องการร่วมมือกับแกร็บเพื่อสร้างธุรกิจให้เติบโตยิ่งขึ้น” มร. รูเบน ไหล ผู้อำนวยการจัดการอาวุโส แกร็บไฟแนนเชียล กล่าว
เกี่ยวกับ แกร็บ
แกร็บ (Grab) คือแพลตฟอร์ม O2O (Online to Offline) ที่ให้บริการอำนวยความสะดวกในชี
วิตประจำวันของลูกค้าในการเดิ
นทาง รับประทานอาหาร ส่งของ รวมไปถึงชำระเงินผ่านมือถื
อและโมบายวอลเล็ต ซึ่งได้รับการเรียกใช้งานมากที่
สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉี
ยงใต้ แกร็บ เชื่อว่าชาวเอเชียตะวันออกเฉี
ยงใต้ทุกคนควรได้รับประโยชน์
จากการเข้าสู่เศรษฐกิจแบบดิจิทั
ล จึงได้ให้บริการที่หลากหลาย ซึ่งครอบคลุมการเดินทาง การรับส่งอาหาร การจัดส่งพัสดุสินค้า รวมไปถึงการชำระเงินผ่านมือถื
อและบริการทางการเงินต่างๆ ในปัจจุบัน แกร็บให้บริการใน 8 ประเทศได้แก่ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ไทย เวียดนาม พม่าและกัมพูชา สามารถอ่านและติดตามรายละเอี
ยดเพิ่มเติมได้ที่
http://www.grab.com
เกี่ยวกับธนาคารกสิกรไทย:
ธนาคารกสิกรไทยก่อตั้งเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2488 ตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา ธนาคารมุ่งมั่นพัฒนาองค์กรและผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่อย่างสม่ำเสมอเพื่อให้บริการที่เป็นเลิศ ภายใต้คำขวัญ “บริการทุกระดับประทับใจ” และแนวคิด “การยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง” ซึ่งนำไปสู่การรวมธนาคารกสิกรไทยและบริษัทของธนาคารกสิกรไทย (K Companies) และได้กำหนด “K KASIKORNTHAI” เป็นสัญลักษณ์ ที่รับประกันคุณภาพและมาตรฐาน
ธนาคารฯ มุ่งมั่นเป็นกลุ่มธุรกิจทางการเงินที่ยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ที่ริเริ่มในสิ่งใหม่ ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง และกระทำทุกวิถีทางเพื่อเป็นกลุ่มธุรกิจทางการเงินที่สร้างความยั่งยืนแก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย และมุ่งมั่นที่จะผสมผสานการใช้เทคโนโลยีและทรัพยากรมนุษย์ในการสร้างอย่างยั่งยืนบริการทางการเงินที่มีคุณภาพมาตรฐานสากล ทั้งนี้ เพื่อให้บรรลุผลที่ดีและเป็นธรรมต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย