สมาคมฟินเทคประเทศไทย พร้อมด้วยผู้สนับสนุนหลักอย่าง ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา อลิอันซ์ อยุธยา ประกันภัย และเมืองไทยประกันชีวิต ได้จัดร่วมกันจัดงาน “TFTA Forum ครั้งที่ 6 ” ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ทางสมาคมต้องจัดในทุกไตรมาส โดยไตรมาสนี้ อยู่ภายใต้หัวข้อ “Insurtech เทคโนโลยีประกันภัย สะดวกมั่นใจ และเข้าถึง” จัดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม 2562 เวลา 14.00-16.00 น. ณ ชั้น 10 อาคาร Knowledge Exchange (KX Center) อันเป็นหัวข้อที่ผู้ที่สนใจด้านฟินเทคกำลังให้ความสำคัญและจับตามองและเป็นกระแสหลักในปัจจุบันอย่างเรื่องเทคโนโลยีประกันภัย ที่ได้รับความสนใจจากสมาชิกสมาคมฟินเทคในคณะนี้ โดยครั้งนี้ได้สมาคมฟินเทคได้เชิญประธานสมาคมคนล่าสุดอย่าง คุณทิพยสุดา ถาวรมร ขึ้นกล่าวเปิดงานฟอรั่มครั้งแรกรวมไปถึงการในแนวคิดและความเห็นด้านเทคโนโลยีการประกันไว้เล็กน้อย อีกทั้งทางสมาคมฟินเทคได้รับเกียติอย่างสูงจาก ดร. สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับ และส่งเสริม การประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ในการเปิดมุมมองด้านเทคโนโลยีประกันภัยจากหน่วยงานกำกับดูแล และวิทยากรอีก 5 ท่านจากองค์กรที่มีชื่อเสียงด้านประกันภัย ได้แก่ ดร.ฉัตรชัย ธนาฤดี (CEO, JP Insurance), คุณสปัญญ์ สุรินโรจน (Innovation Project Lead, Fuchsia Innovation Center บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)), คุณชินพงศ์ กระสินธุ์ (Head of CIT: Center of Insurtech), ดร. โชติมา พัวศิริ (ผู้จัดการฝ่ายประกันภัย Non-Motor บริษัท นำสินประกันภัย จำกัด (มหาชน) และ คุณวิชชุกร นิลมานัตต์ (กรรมการงาน Insurtech สมาคมประกันวินาศภัยไทย และ Deputy MIS Department Manager, The Viriyah Insurance PLC)
ดร. สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับ และส่งเสริม การประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ได้กล่าวถึงมุมมองของเทคโนโลยีการประกันภัยไว้ว่า “สิ่งที่ทำให้เกิดการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีการประกันภัยไม่ใช้เพียงแค่ช่วยในการเบิกค่าสินไหมทดแทน และเทคโนโลยียังเข้ามาช่วยส่วนอื่นๆ ของเทคโนโลยีการประกันภัยได้อีกหลากหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการทำงานแอพพิเคชั่น หรือเว็บไซต์ที่ทำให้ทุกอย่างเกี่ยวกับประกันนั้นสะดวกมากขึ้น เพราะเป็นประโยชน์ที่ได้จากเทคโนโลยี เช่น เราสามารถใช้ Ai ในการเชื่อมต่อการติดตามพฤติกรรมผู้ซื้อ คำนวณค่าสินไหมในได้เงินเข้าบัญชีได้ทันที และลดเรื่องบุคลากรที่ไม่จำเป็นในขั้นตอนของประกันได้ เพราะบางเรื่องไม่จำเป็นต้องใช้แรงคนอีกต่อไป หากเรามีเทคโนโลยีเข้ามา ทั้งหมดนี้จะส่งผลให้เบี้ยประกันก็ถูกลดตามไปด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่เป็นประโยชน์มาก”
คุณวิชชุกร นิลมานัตต์ (กรรมการงาน Insurtech สมาคมประกันวินาศภัยไทย และ Deputy MIS Department Manager, The Viriyah Insurance PLC) กล่าวถึงพัฒนาการของเทคโนโลยีประกันภัยไว้ว่า “บริษัทที่ประกอบธุรกิจประกันภัยต้องมีการปรับเปลี่ยนการทำงาน เพื่อรองรับในสถานการณ์ที่มีผลต่อธุรกิจ โดยเฉพาะกับ คน ระบบ และกระบวนการ เมื่อก่อนรูปแบบการประกันเป็นสิ่งที่บริษัทเป็นผู้กำหนด และ ณ ปัจจุบันเปลี่ยนไปแล้ว เพราะเราจะมองว่าผู้ซื้อต้องการอะไร หากเราไม่ปรับเปลี่ยนตามเทคโนโลยี อาจจะเป็นอุปสรรคในอนาคตได้ อีกทั้งประโยชน์ของเทคโนโลยีมีมาก ไม่ว่าจะเป็นการเข้าถึงที่ง่าย สะดวก และรวดเร็ว อาจจะเป็นโอกาสการทำธุรกิจของ Insurtech ได้”
คุณสปัญญ์ สุรินโรจน (Innovation Project Lead, Fuchsia Innovation Center บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)) ได้กล่าวว่า “ธุรกิจประกันภัยจะมีภาพลักษณ์ที่ดีขึ้นได้นั้นต้องมีเทคโนโลยีอยู่ในนั้นด้วย ซึ่งขณะนี้เทคโนโลยีเอื้อประโยชน์ต่อคนประกันมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นในขั้นตอนต่างๆ โดยเทคโนโลยีมาช่วยลดความซับซ้อนและยุ่งยาก ทั้งนี้สิ่งเหล่านี้จะไม่เกิดถ้าไม่มีคนรุ่นใหม่เข้ามาร่วมเพิ่มประสิทธิภาพ”
คุณชินพงศ์ กระสินธุ์ (Head of CIT: Center of Insurtech) กล่าวว่า “เทคโนโลยีจะมาช่วยลดความวุ่นวายในความเข้าใจด้านกรมธรรม์ โดยทาง Center of Insurtech สนับสนุนการสร้างมุมมองที่เปลี่ยนไปของประกันภัย ทางเราจึงพยายาม และมั่นใจว่าจะทำให้ประกันมีภาพลักษณ์ที่ดีขึ้น พร้อมทั้งต้องการสร้างรากฐานทางเทคโนโลยีอย่างดีที่สุด เพื่อให้ประกันภัยปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพ”
ดร. โชติมา พัวศิริ (ผู้จัดการฝ่ายประกันภัย Non-Motor บริษัท นำสินประกันภัย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “เทคโนโลยีประกันภัยเป็นสิ่งที่น่าสนใจ และต้องศึกษาอย่างมาก เพราะมันสามารถส่วนด้านสินไหมทดแทน ซึ่งเห็นว่าในประเทศไทยเทคโนโลยีประกันภัยน่าจะพัฒนาไปได้อีกมาก ซึ่งหวังอย่างยิ่งว่าจะมีการใช้เทคโนโลยีในการวิเคราะห์เบี้ยประกันภัย”
อย่างไรก็ตาม ทางสมาคมฟินเทคประเทศไทยได้จัดงานสัมมนาที่ให้ความรู้เชิงกฎหมายเรื่องดังกล่าว ซึ่งได้รับความสนใจเป็นอย่างดีจากสมาชิกสมาคมและบุคคลภายนอกที่สนใจในเรื่องดังกล่าว หากสนใจที่จะรับความรู้ด้านนวัตกรรมทางการเงินสามารถเข้าไปติดตามได้ที่ เฟสบุ๊คเพจ Thai Fintech Association – สมาคมฟินเทคประเทศไทย