โดยภายในงานมีเหล่าวิทยากรระดับแนวหน้าของประเทศมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแชร์ข้อมูลเกี่ยวกับอนาคตของธุรกิจฟินเทคในประเทศไทย
ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล กรรมการบริษัท ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า แต่ก่อนธุรกิจฟินเทคกำลังเป็นกระแส นักลงทุนต่างให้ความสนใจเข้าไปลงทุน จึงมีธุรกิจฟินเทคเกิดขึ้นใหม่เยอะ แต่เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา นักลงทุนเริ่มเข้มงวดกับกระบวนการให้เงินมากยิ่งขึ้น ดอกเบี้ยก็สูงขึ้น ทำให้เม็ดเงินจากนักลงทุนที่ไหลไปสู่ธุรกิจฟินเทคเหล่านั้นลดลง ธุรกิจฟินเทคจึงหายไปเยอะ แต่ในอนาคตจะยังมีธุรกิจฟินเทคที่ยังอยู่
ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวาณิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) มองว่า จะมีฟินเทคอยู่ 3 กลุ่มที่จะได้ไปต่อ คือ
1. Payment : ในอนาคตจะมีการใช้งานเงินดิจิทัลจากธนาคารกลาง หรือ CBDC รวมทั้งรูปแบบการชำระเงินแบบใหม่ๆอย่าง Facial Recognition เกิดขึ้น
2. Lending : จะเกิดการนำข้อมูล Alternative Data มาใช้งานต่อ อย่างการปล่อยสินเชื่อ ซึ่งถ้าหนี้เสียน้อย ธุรกิจจะดำเนินต่อไปได้ แต่ถ้าหนี้เสียเยอะ ทวงหนี้ไม่ได้ ธุรกิจก็จะเจ๊ง
3. Digital Assets : การแปลงเงินจาก Prompt Pay ให้มาเป็นสกุลเงินรูปแบบใหม่ หรือสกุลเงินดิจิทัล (CBDC) สามารถช่วยให้การชำระสินค้ามีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
คุณชลเดช เขมะรัตนา นายสมาคมฟินเทคประเทศไทยจึงเสริมต่อว่า เราสามารถผลักดันเมืองไทยให้เป็น Fintech Hub ระดับโลกได้ ถ้าเราร่วมมือกันพัฒนาประเด็นเหล่านี้
1. การให้ความรู้เรื่องฟินเทค (Financial Literacy) ตั้งแต่ระดับโรงเรียนไปจนถึงระดับมหาวิทยาลัย
2. ปรับปรุงวิธีการจัดตั้งบริษัทให้ง่ายขึ้น รวมถึงการแก้ไขเรื่อง Work Permit ใหม่
3. การเพิ่มจำนวนบุคคลากรด้านฟินเทค
4.พัฒนาโครงการสำหรับคนไทยที่มีความรู้ความสามารถ ให้ได้ทำงานร่วมกับบริษัทฟินเทคของไทย แทนการไปทำงานกับบริษัทต่างประเทศ
5. พัฒนา Fintech Hub ระดับจังหวัด และการ Matching Fund
ดังนั้น ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนจึงเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนา Fintech Ecosystem ให้เติบโตได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน