รูปภาพ Eko Susanto
ประเทศอินโดนีเซียนับได้ว่าเป็นประเทศเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งชาวอินโดนีเซียนิยมใช้นวัตกรรม Fintech มากกว่าการธุรกรรมการเงินแบบเดิม หรือต้องการธนาคารที่ดีและปลอดภัยกว่าเดิม จึงทำให้ประเทศอินโดนีเซียมีแผนที่จะขยายนวัตกรรม Fintech ในอนาคตเสมอ
เมื่อเราดูข้อมูลการใช้เทคโนโลยีพบว่า เว็บไซต์ Kitabisa.com เป็นหนึ่งในความหลากหลายของ Croewdfunding ที่คนอินโดนีเซียคุ้นเคย ซึ่งเว็บไซต์ Kitabisa.com มีเป้าหมายที่จะช่วยด้านการเงินแก่แหล่งชุมชนในอินโดนีเซีย โดยจัดตั้งแคมเปญ “WE CAN” เพื่อระดมทุนช่วยผู้ด้อยโอกาสในแหล่งชุมชน เช่น การสร้างโรงเรียนให้แก่เด็กในชุมชน ช่วยค่ารักษาพยาบาล เป็นต้น ทั้งนี้แคมเปญดังกล่าว ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากเห็นได้จากจำนวนเงินบริจาคที่ Kitabisa.com ได้รับ มีมูลค่า มากกว่า 111,000,000,000 รูเปีย หรือประมาณ 30,000,000 บาท ซึ่งเป็นยอดเงินที่ระดมทุนได้ตั้งแต่มีแคมเปญมีขึ้นมา (2013-2017)
ในส่วนของการใช้ Fintech พบว่า ชาวอินโดนีเซียให้สื่อสารผ่านมือถือกันมาก ไม่แปลกที่คนอินโดนีเซียจำนวนมากจะมีการชำระเงินผ่านมือถือ ซึ่งเมื่อดูข้อมูลการใช้บริการธุรกรรมการเงินและข้อมูลจากสถาบันการเงินชุมชนรายย่อย พบว่าชาวอินโดนีเซียนิยมทำธุรกรรมการเงินผ่าน Fictech ในวงกว้าง สอดคล้องกับข้อมูลจาก Fintech Indonesia และ Daily Social ที่กล่าวว่า ชาวอินโดนีเซียมากกว่า 100 ล้านคน มี Internet User ซึ่ง 70% ใช้มือถือในการเว็บไซต์ต่าง ๆ
หากดูข้อมูลการใช้ธุรกรรมการเงินของชาวอินโดนีเซียพบว่าเพียง 9% ที่ชำระเงินผ่านบัตรเครดิต เพราะชาวอินโดนีเซียส่วนใหญ่มักจะจ่ายเงินสดหรือชำระเงินที่ธนาคารโดยตรง ซึ่ง 36% ของชาวอินโดนีเซีย ใช้ธุรกรรมการเงินผ่าน DOKU แอพพิเคชั่นและ วอลเล็ทท์ GO-PAY แอพพิเคชั่น ซึ่ง 43% ของอุตสาหกรรมธุรกรรมการเงินในอินโดนีเซีย คือส่วนแบ่งของ Fictech หมายความว่า Fictech เป็นความสำคัญ เพราะ Fintech เป็นช่องทางที่ไวกว่าช่องทางอื่น
รูปภาพ http://letscrowdsmarter.com
Indonesian Fintech สำหรับชาวอินโดนีเซีย
การเข้ามาของ Crowdfunding ทำให้อุตสาหกรรมการธนาคารของอินโดนีเซียเติบโตมากขึ้นถึง 78% เพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2015-2016 มีมูลค่า 486.3 พันล้านรูเปีย ซึ่งตัวอย่างของ Crowdfunding ที่เป็นที่รู้จักของชาวอินโดนีเซีย คือ Kapital Boost และ EthisCrowd ที่ให้บริการชาวมุสลิมเป็นส่วนใหญ่ และสามารถสร้างผลตอบแทนได้ถึง 15%-24% ต่อปี
อีกหนึ่งแอพพิเคชั่นที่ช่วยอุสาหกรรมการเกษตรของชาวอินโดนีเซีย อันเป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญของชาวอินโดนีเซีย ซึ่งเหตุนี้เองทำให้มีสตาร์อัพคิดค้น Limakilo แอพพิชั่นเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรมีช่องทางเพิ่มในการขายพืชผล โดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ “ปฏิบัติการสร้างเครือข่ายเพื่อเศรษฐกิจประชาชน” โดยได้รับการจัดตั้งโครงการจากประธานาธิบดีโจโกวี วิโดโด
รูปภาพ www.dealstreetasia.com
เนื่องจากประชาชนกรที่มีมากกว่าพื้นที่ในประเทศอินโดนีเซีย Fintech ถือว่าสำคัญสำหรับชาวอินโดนีเซียมาก เพราะ Fintech สามารถช่วยลงเวลาของชาวอินโดนีเซียได้มาก ยิ่งเมื่อดูจากข้อมูลการใช้อินเตอร์เน็ต จะพบว่า Fintech จำเป็นมากแค่ไหน ไม่ว่าจะเป็นส่วนของความรวดเร็ว ง่าย และสะดวกทางการเงิน ยังสามารถช่วยเศรษฐกิจของประเทศอินโดนีเซียได้อีกด้วย
…Fintech เป็นมากกว่านวัตกรรม…
Reference
Fintechnews Singapore. (2017). Why Indonesia needs Fintech?. Retrieved from http://fintechnews.sg/10448/indonesia/indonesia-needs-fintech/.