สมาคมฟินเทศประเทศไทย ได้จัดงานเสวนาเพื่อสื่อสารและให้คำปรึกษาแก่สมาชิก ให้หัวข้อ “การปรับตัวของธุรกิจ เพื่อให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ ส่งเสริมการประกอบธุรกิจด้วยเทคโนโลยีทางการเงิน” ภายใต้งาน TFTA Forum 2017 อันเป็นภารกิจหนึ่งของสมาคมฟินเทคประเทศไทยในด้านการให้ความรู้ อัพเดตข่าวสารกิจการต่าง ๆ ในแวดวงฟินเทค ทั้งนี้สมาคมฟินเทคประเทศไทยยังเป็นเจ้าแรกที่จับหัวข้อ พ.ร.บ. ฟินเทค ขึ้นมาจัดงานเสวนาอย่างเติมรูปแบบในระยะเวลา 2 ชั่วโมงเต็ม
“สมาคมได้มีวัตถุประสงค์ในการจัดงานเสวนาในหัวข้อดังกล่าวขึ้นเพื่อเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับ พ.ร.บ. ส่งเสริมการประกอบธุรกิจด้วยเทคโนโลยีทางการเงิน รวมไปถึงนำเสนอความคืบหน้า แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และแนวทางแก้ไขในหัวข้อดังกล่าวแก่สมาชิกและแขกผู้มีเกียรติของสมาคม โดยหัวข้อดังกล่าวเป็นหัวข้อที่ทางสมาคมเห็นว่าเหมาะสมต่อการจัดงานเพื่อสื่อสารแก่ทุกท่าน เพราะหัวข้อ พ.ร.บ. ส่งเสริมการประกอบธุรกิจด้วยเทคโนโลยีทางการเงิน เป็นหนึ่งในภารกิจของสมาคมฟินเทคประเทศไทย อันเป็นสิ่งที่สามารถผลักดันอุตสาหกรรมเทคโนโลยีทางการเงินและการประกันภัยในประเทศไทยในอนาคต”
งานเสวนาครั้งนี้ได้เชิญสมาชิกของสมาคมฟินเทคประเทศไทย ผู้สนับสนุน สื่อมวลชน และแขกอันมีอุปการคุณแก่สมาคม โดยงานครั้งนี้ได้ “คุณกรณ์ จาติกวนิช”ประธานสมาคมฟินเทคประเทศไทยกล่าวเปิดงาน เพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้ร่วมเสวนาและผู้เข้าฟังเสวนาในครั้งนี้ ซึ่งผู้ดำเนินรายการในงานเสวนาครั้งนี้คือ “คุณเจษฎา สุขทิศ” นายกสมาคมฟินเทคประเทศไทย ร่วมเสวนากับวิทยากรผู้เชี่ยวชาญอีก 4 ท่าน ได้แก่ 1. คุณวรพล โสคติยานุรักษ์ (ประธานคณะกรรมการกฎหมายฟินเทค) จาก สภานิติบัญญัติแห่งชาติ 2. คุณทิพย์สุดา ถาวรามร (รองเลขาธิการ กรรมการในคณะกรรมการกำกับตลาดทุน) จาก กลต. 3. คุณบัญชา มนูญกุลชัย (ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเทคโนโลยีทางการเงิน) จาก ธนาคารแห่งประเทศไทย และ 4. คุณอายุศรี คำบันลือ (ผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย) จาก คปภ.
คุณวรพล โสคติยานุรักษ์ กล่าวว่า “ทุกวันนี้การทำธุรกรรมแบบ face to face เป็นเรื่องที่ยากขึ้น เพราะ ณ ขณะนี้มีนวัตกรรมเข้ามา ซึ่งถือว่าเป็นโอกาสกับคนที่ไม่สามารถเดินทางไปธนาคารได้ อาจจะใช้การวีดีโอของผู้ทำธุรกรรมเข้าไปที่ธนาคาร หรือเอาข้อมูลของธนาคารที่มีมากมายนำเอาออกมาใช้ให้เกิดคุณค่า โดยการวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้า เข้าใจกลุ่มเป้าหมายว่าเข้าต้องการอะไร ถ้ากฎหมายฟินเทคจะออกมาได้ในวันข้างหน้า จะช่วยเปิดทางในการเงินนั้นครอบคลุมมากขึ้น ”
ในเรื่องของประโยชน์ของ พ.ร.บ. ฟินเทคที่สามารถเข้าถึงได้นั้น คุณทิพย์สุดา ถาวรามร ได้กล่าวว่า “ประชาชนจะได้เปรียบมากขึ้นในด้านการเดินทางไปทำธุรกรรมทางธนาคาร ซึ่งเราจะไม่ต้องเดินทางไปหาผู้ประกอบการเหมือนเคย และมีการใช้ Digital ID มาเกี่ยวข้องที่จะทำให้การพิสูจน์ตัวตนง่ายมากขึ้น โดยไม่ต้องยุ่งยากเหมือนเดิม สิ่งนี้คือสิ่งที่เราจะได้จากนวัตกรรมฟินเทค ในขณะนี้ภาคการเงินได้มีการหารือกันกับธนาคารและบริษัทหลักทรัพย์ ที่จะสร้างมาตรฐานทางเทคโนโลยีขึ้นมา จึงทำให้เกิดที่มาในการสร้างกฎหมายเพื่อให้ความมั่นใจ เพื่อเป็นบังคับในหน่วยงานของรัฐในความร่วมมือในด้านการตรวจสอบ และบังคับให้เปิดเผยข้อมูล”
ในด้านการเข้าถึงข้อมูลในด้านธุรกิจประกันภัย คุณอายุศรี คำบันลือ กล่าวว่า “คนไทยสมัยนี้เข้าถึงข้อมูลประกันโดยการเปรียบเทียบในมือถือแต่มันจะยากหน่อย และทาง คปภ.ตั้งใจจะเป็น Digital Insurance Regulator ซึ่งจะเป็นศูนย์ด้านข้อมูลประกันภัย เพื่อจะดูแลภาคประชาชนในเรื่องการเคลม เรื่องค่าสินไหม ถ้าเราเอาข้อมูลนี้มาใช้พัฒนา จะทำให้เกิดความสบายใจมากขึ้น จะทำให้ภาครัฐทำงานได้มากขึ้น เพราะฉะนั้นเราสารารถนำข้อมูลนี้ไปใช้ได้ โดยเฉพาะการคำนวนเบี้ยประกันได้ ซึ่งจะเกิดประโยชน์จากภาครัฐและเอกชน”
ในส่วนของความสะดวกสบายที่จะได้จากนวัตกรรมฟินเทค คุณบัญชา มนูญกุลชัย ได้กล่าวว่า “กระบวนการดิจิทัลทั้งหลายจะทำให้ผู้บริโภคและผู้ประกอบการมากขึ้น ซึ่งในตัวกฎหมายจะมารองรับจากการธุรกรรมแบบไม่ผ่านตัวกลางได้ดีขึ้น แม้จะมีความยุ่งยากในด้านการทำงานบ้างก็ตาม”
เนื่องจากที่สมาคมฟินเทคประเทศไทยมีจุดประสงค์ เป้าหมาย และเจตนารมณ์ที่ได้กล่าวไว้ในข้างต้น ซึ่งทำให้สมาคมจะมีกิจกรรมเพื่อสมาชิกอยู่ประจำในทุกเดือน และในโอกาสอันดีในช่วงเดือนพฤศจิกายน ทางสมาคมฟินเทคประเทศไทยเห็นว่าควรจัดตั้งเวทีเสวนาขึ้นในรูปแบบงานเสวนา ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ทางสมาคมต้องจัดในทุกไตรมาส โดยงานเสวนาครั้งนี้ถือเป็นงานเสวนาครั้งแรกในปี 2017 ภายใต้หัวข้อ “การปรับตัวของธุรกิจ เพื่อให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ ส่งเสริมการประกอบธุรกิจด้วยเทคโนโลยีทางการเงิน” จัดขึ้นในวันอังคารที่ 28 พฤศจิกายน 2560 เวลา 13.00 – 16.00 น. ณ ห้อง X04A ชั้น 10 อาคาร Knowledge Exchange Center
โดยภารกิจสำคัญของสมาคมฟินเทคประเทศไทย คือการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการฟินเทคไทยมีโอกาสในการเติบโตและเพิ่มจำนวนมากขึ้นเพื่อแข่งขันกับฟินเทคจากต่างประเทศที่ปัจจุบันเริ่มเข้ามาแข่งขันในตลาดประเทศไทยแล้ว นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้บริโภคมีทางเลือกในการเข้าถึงบริการทางการเงินและการลงทุนใหม่ ๆ ได้มากขึ้น เพื่อพัฒนาและต่อยอดไปถึงการสร้างการแข่งขันอย่างเป็นธรรมให้กับอุตสาหกรรมฟินเทค