กฎระเบียบของ Cryptocurrency จำเป็นมากน้อยแค่ไหนโดย “กรณ์ จาติกวณิช” – ประธานสมาคมฟินเทคประเทศไทย

29 พฤศจิกายน 2018
Share

ตั้งแต่มี Cryptocurrency ถือกำเนิดขึ้นนั้น มันบอกให้เรารับรู้ถึงเรื่องความพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี ที่ทำให้เกิดสิ่งนี้ขึ้นมา โดยเฉพาะบนเทคโนโลยี Blockchain ที่มีความแน่นหนาเรื่องความปลอดภัย แต่เมื่อดูสถิติในเรื่องความปลอดภัยในการถือครอง Cryptocurrency จาก JP Morgan Bank ประเมินได้ว่าจาก Bitcoin ที่มีอยู่ทั้งหมดบนโลกประมาณ 30% เคยถูกแฮงค์ (จาก Wallet ไม่ใช่ Blockchain) จึงทำให้เกิดปัญหาขึ้นประชาชนไม่รู้ว่าจะต้องไปร้องเรียนกับใครได้ เพราะ Cryptocurrency ไม่ได้เป็นของใครคนใดคนหนึ่ง หากเปรียบเทียบให้เห็นภาพคือ เมื่อมีบัญชีธนาคารที่ดันถูกขโมย ถูกนำเงินของเรานำไปใช้ เราก็สามารถไปร้องเรียนได้ แต่ในโลกของ Cryptocurrency มันไม่มี…นี่คือปัญหาใหญ่

จากปัญหาที่กล่าวมาข้างต้นทำให้คนเริ่มพูดถึง Stable Coin หรือ  Cryptocurrency ที่ออกโดยธนาคารกลาง ประเด็นนี้มันก็ย้อนกับจุดยืนเดิมของ  Cryptocurrency ที่ว่าจะไม่ต้องการอยู่ในอำนาจของฝ่ายใด ทั้งนี้มันสะท้อนให้เห็นว่านวัตกรรม Cryptocurrency นั้น “ยังไม่หยุดนิ่ง” ยังมีความจำเป็นที่ต้องพัฒนาต่อไป อีกประเด็นที่หลายคนอาจเคยได้ยินคือ  Bitcoin มีจำนวนตายตัว ที่ตอนนี้เราก็พบว่ามันเริ่มไม่จริง อาจเป็นเพราะเกิดจากการตกลงกันไม่ได้ในเรื่องของรายละเอียดบางประการของคุณสมบัติ ทำให้เกิดการแยกกลุ่ม มันก็ทำให้กลายเป็นจำนวนของ  Bitcoin ไม่มีข้อจำกัด

ทั้งหมดนี้คือประเด็นบกพร่องทางเทคโนโลยีที่ยังมีอยู่ จึงทำให้ผู้เชี่ยญชาญในเรื่องดังกล่าวต้องเข้ามาพัฒนา…กล่าวคือแก้ปัญหาของสกุลเงิ…แม้กระทั้งเงินบาทก็ได้ถูกแก้ไขไปเรื่อยๆ ด้วยดิจิทัลเทคโนโลยี เนื่องด้วยปัจจุบันเงินสดมีผู้ใช้น้อยลง บางประเทศตอนนี้ก็กลายเป็นปัญหา อย่างประเทศ Sweden คือ เงินธนบัตรที่หมุนเวียนอยู่ในระบบของ Sweden ลดลงเหลือเพียง 1% ของ GDP กลายเป็นว่าจะไม่มีใครยอมรับเงินสดแล้ว เพราะว่าชาว Sweden ทำให้ต้นทุนการถือเงินสดสูงมาก ยกตัวอย่าง IKEA ที่เป็นบริษัทมาจาก Sweden ที่ได้ทำการสำรวจเรื่องดังกล่าวพบว่ามีลูกค้าเพียงแค่ 1 ใน 100 ที่ชำระสินค้าด้วยเงินสด นอกนั้นใช้ Digital Money แต่ความน่าแปลกในก็คือพนักงานของ  IKEA ใช้เวลา 15% จากการทำงานในการนับเงินสดที่มาจากลูกค้า จึงทำให้เกิดนโยบายเลิกกับเงินสด เพราะไม่คุ้มค่าต่อเวลาในการทำงานของพนักงาน

หลายคนมองว่า Cryptocurrency ต้องมีการใช้งานได้จริง โดยมีนวันตกรรม ICO เกิดขึ้น หากดูพัฒนาการของ ICO ใน 2 ปีนี้ จะพบว่าไม่ได้ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรในด้านของราคา เพราะมันไม่ได้ตอบโจทย์ที่สำคัญที่สุดของการเป็น ICO…นั้นคือ “สุดท้ายแล้วเราไปใช้ทำอะไร” โดยทุกอย่างที่จะมีมูลค่าได้นั้น มันต้องมีการใช้งาน ซึ่งถ้าเรามองในมุมว่า  ICO ที่ออกไปแล้วมีการใช้งานได้จริงหรือไหม ก็เป็นเรื่องที่ท้าทายมาก เพราะถ้านำไปใช้งานได้จริง ก็มั่นใจได้ว่ามูลค่ามันจะขึ้นสูงขึ้น ถ้านำไปใช้ไม่ได้จริงหรือใช้ในปริมาณที่ไม่เพียงพอ ก็จะทำให้มูลค่าไม่กลับคืนมาเมื่อเทียบกับปีก่อน

ประเด็นมูลค่าของ Cryptocurrency ก็ยังเป็นประเด็นที่ท้าทายผู้ที่ถือครองอยู่ แต่สำหรับมุมมองของเรามองว่า Cryptocurrency และ ICO เป็นนวัตกรรมที่มีความสำคัญ เพราะว่ามันเป็นวีธีที่ดีที่สุด และเป็นไปได้มากที่สุดสำหรักนักนวัตกรรมในการระดมทุนที่จะนำมาซึ่งการพัฒนาเทคโนโลยี Blockchain…โดยเกือนทุก  ICO ที่ใช้เทคโนโลยี Blockchain ในการยกระดับด้านต่างๆ ที่จะต้องมีเงินทุนที่มาจากคนที่เชื่อในอนาคตของเทคโนโลยี Blockchain จริงๆ กล่าวคือ กลุ่มคนที่พร้อมจะลงทุน ถ้าไม่มี ICO …สุดท้ายการพัฒนาเทคโนโลยี Blockchain ก็จะเกิดเพียงในระบบภาครัฐ แน่นอนว่ามันต้องช้ามาก หรือจะเกิดได้ก็แค่กับกลุ่มคนที่มีเงินเท่านั้น

นั้นคือสาเหตุที่สมาคมฟินเทคประเทศไทยได้ประสานกับทางสำนักงาน ก.ล.ต. ในด้านการออกกฎหมายที่จะออกมาก่อนหลายๆ ประเทศ ที่จะรองรับการออก ICO ซึ่งเชื่อว่าถ้ามีความเชื่อมั่นเกิดขึ้น ถ้ามีกฎระเบียบที่ชัดเจน จะส่งผลต่อการพัฒนา Cryptocurrency ให้มีประสิทธิภาพ และมีอนาคตที่สดใสมากขึ้น เมื่อดูในฝั่งต่างชาติก็พบว่าหลายประเทศก็ต้องการมีกฎระเบียบที่ชัดเจน โดยมองว่าการมี White Paper เพียงอย่างเดียว และการระดมทุนผ่าน ICO ไม่สามารถสร้างความน่าเชื่อถือได้ และทำให้เกิดการแทรกซึมจากมิจฉาชีพได้…กฎระเบียบจึงสำคัญมาก หากประเทศมีกฎระเบียบนี้ก่อนใคร ก็จะเป็นประเทศที่เป็นตัวอย่างได้ดี ทั้งในเรื่องหน่วยงานการกำกับดูแล การเงิน และเทคโนโลยี

 

สมาคมฟินเทคประเทศไทย

Related Posts

  • Data Tech Trends & Predictions for 2025
  • Singapore FinTech Festival (SFF) 2024 06 – 08 November 2024
  • Fintech Course: Unleashing Future of Finance by TFA
bt_bb_section_bottom_right_section_coverage_image

Contact Us

Address

439B-1 Siam Paragon Shopping Mall, 4th Floor, Rama 1 Road, Pathumwan, Pathumwan, Bangkok, Thailand 10330

The information contained in this website is provided for informational purposes only and on an “as is” basis, without representation or warranty of any kind. Thai Fintech Association does not guarantee whether the information is correct or up-to-date.   no event shall Thai Fintech Association be liable to you or any person for any loss of business or profits, or for any indirect, incidental or consequential damages arising out of any use of, or inability to use, or for any other claim by you or any other person.

© Copyrights 2021 - All Rights Reserved - Thai Fintech Association