หากเราย้อนกลับไปดูข้อมูลประวัติการใช้เงินตราของโลกนั้น เราจะพบว่าประเทศจีนเป็นประเทศแรกๆ ที่บุกเบิกการใช้ “ธนบัตร” แต่ตอนนี้ประเทศจีนกลายเป็นประเทศที่เป็น “สังคมไร้เงินสดแห่งแรกของโลก”
ในปี 2017 มีชาวจีนมากกว่า 3 ใน 4 ใช้การชำระเงินแบบดิจิทัล และมีจำนวนผู้ใช้บริการดังกล่าวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วภายในปีเดียวกัน ซึ่งขณะนี้ธนาคารกลางของประเทศจีนและหน่วยงานด้านการเงินอื่นๆ กล่าวว่าพวกเขาต้องการที่จะใช้ประโชยน์จากการไม่ใช่เงินสดกับประชาชนที่อาศัยอยู่ในแทบชนบทของประเทศจีน เพื่อลดต้นทุนในการทำธุรกรรม
เมื่อดูข้อมูลเจาะลึกลงไป พบว่า ประเทศจีนอยู่เบื้องหลังสังคมไร้เงินสดของประเทศสวีเดน และตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะเป็น “สังคมไร้เงินสด” แบบสมบูรณ์แบบตามหลังประเทศจีน ในปี 2023 อย่างไรก็ตาม การเติบโตของการชำระเงินดิจิทัลของประเทศจีนเป็นเรื่องที่น่าทึ่งมาก ในการเป็น “สังคมไร้เงินสด” ที่น่าสนใจมากกว่าประเทศอื่น ด้วยปัจจัยของจำนวนประชากรนั้นเอง แต่ประเทศจีนมีเทคโนโลยีการชำระเงินที่เติบโตอย่างก้าวกระโดด เพราะมีข้อมูลของผู้ชำระเงินบนมือถือในประเทศจีนจำนวนมากในทุกๆ ปี
รายงานการชำระเงินทั่วโลกในปี 2018 ประเทศจีนเน้นโอกาสการเติบโตที่ไร้ขีดจำกัดโดยเฉพาะในภาคธุรกิจ ซึ่ง “จีนแสดงให้เห็นว่าตัวเองนั้น เป็นผู้นำด้านบริการธุรกรรมการเงินในยุคโลกดิจิทัลที่ผู้ใช้เชื่อถือมากที่สุด” ที่ยืนยันศักยภาพดังกล่าวได้จากการเติบโตของบริษัทผู้ให้บริการ Mobile Wallet อย่าง Alipay และ WeChat Pay ทำให้ประเทศจีนเป็นตลาดการชำระเงินผ่านมือถือที่ใหญ่ที่สุดในโลกไปแล้ว และยังเป็นผู้นำในการชำระเงินแบบ Peer-to-Peer Payment อีกด้วย
แม้ประเทศจีนจะประสบความสำเร็จในการเป็น “สังคมไร้เงินสด” แต่ก็ยังมีหลายคนตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ที่อาจจะก่อให้เกิดผลเสียได้ในอนาคต ซึ่งทางประเทศ UK เห็นว่าการเป็นสังคมไร้เงินสดมากเกินไป จะส่งผลเสียต่อคนยากจน คนพิการ และครอบครัวในชนบท (ที่ความรู้เข้าถึงได้ยาก) จะถูกหลอกได้จากมิจฉาชีพทางเทคโนโลยี
ทั้งนี้ พบรายงานที่ระบุว่า “สังคมที่ไม่มีเงินสด” เป็นสิ่งที่ไม่พึงปรารถนาสำหรับคนบางกลุ่ม ทำให้ประเทศจีนต้องพัฒนาและแก้ไขเรื่องดังกล่าวต่อไป เพื่อป้องกันผลกระทบที่สามารถเกิดได้ในอนาคตมากที่สุด โดยหนึ่งในแผนการป้องกัน นั้นคือเพิ่มความพร้อมในการให้บริการอินเทอร์เน็ต อีกทั้งการสร้างบริการสาธารณะทางดิจิทัลให้มากขึ้น และอำนวยความสะดวกในการขายผลผลิตบนออนไลน์ในชนบทให้แก่ผู้บริโภคในเมือง เพื่อจูงในและสร้างความรู้ด้านเทคโนโลยีให้กับผู้ทำการเกษตร สามารถสลับไปสู่ความรู้ด้านสังคมไร้เงินสด ที่จะช่วยให้เกษตรกรสามารถซื้อสิ่งจำเป็นต่อกิจการของตัวเองได้สะดวกขึ้น เช่น ปุ๋ย เมล็ดพันธ์ และรวมไปถึงเข้าถึงสินเชื่อได้ง่ายขึ้น เป็นต้น โดยบริษัทใหญ่อันดับต้นๆ อย่าง Alibaba และ JD ได้ทำแผนดังกล่าว เพื่อจัดตั้งบริการออนไลน์ที่ช่วยให้เกษตรกรซื้อและขายผลิตผลเรียนร้อยแล้ว
หากดูข้อมูลการชำระเงินทางดิจิทัลจากธนาคารกลางของประเทศจีนได้ระบุว่า ใน 2017 ประชาชนในพื้นที่ชนบท 66.5% ใช้การชำระเงินทางดิจิทัล ซึ่งข้อมูลดังกล่าว สอดคล้องกับการที่มีผู้สนับสนุนการเปลี่ยนเป็นการชำระเงินแบบไร้เงินสดที่มากขึ้น เพราะความเร็วในการทำธุรกรรม ช่วยลดความเสี่ยงทางธุรกิจ และลดโอกาสให้อาชญากรโกงได้อีกด้วย ซึ่งผลตอบรับที่ดีขึ้นมาจากการให้ความรู้เรื่องดังกล่าว และคนในชุมชน และชนบทที่ทั่วถึง
ในอีกมุมการเกิดอาชญากร สามารถลดคดีปล้นธนาคารได้ แต่ผู้ฉ้อโกงทางออนไลน์จะมาแทน ที่ปรับตัวให้เข้ากับการลดลงของเงินสด สิ่งนี้ทำให้นักพัฒนาทางเทคโนโลยีต้องคำนึงและวางแผนรับมืออยู่เสมอ
Reference
www.straitstimes.com