สมาคมฟินเทคประเทศไทย พร้อมด้วยผู้สนับสนุนหลักอย่าง ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา อลิอันซ์ อยุธยา ประกันภัย และเมืองไทยประกันชีวิต ได้จัดร่วมกันจัดงาน “TFTA Forum ครั้งที่ 5 ” ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ทางสมาคมต้องจัดในทุกไตรมาส โดยไตรมาสนี้ อยู่ภายใต้หัวข้อ “โอกาสและอนาคตของ P2P ในไทย” จัดเมื่อวันจันทร์ที่ 29 เมษายน 2562 เวลา 14.00-16.00 น. ณ ชั้น 10 อาคาร Knowledge Exchange (KX Center) อันเป็นหัวข้อที่ผู้ที่สนใจด้านฟินเทคกำลังให้ความสำคัญและจับตามองเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ของ Peer-to-Peer Lending ที่กำลังจะออกมา โดยครั้งนี้ได้ผู้ดำเนินรายการจากบริษัทด้านกฎหมายชื่อดังในประเทศไทยอย่าง คุณอธิษฐา จิตรานุเคราะห์ (Partner, Tilleke&Gibbins) และวิทยากรอีก 3 ท่าน จากหน่วยงานกำกับดูแลการเงินของประเทศไทย ได้แก่ คุณวิจิตรเลขา มารมย์ (รองผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยีการเงิน, ธนาคารแห่งประเทศไทย) คุณพรสิริ รุ่งสิริโอภาส (รองผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายการกำกับสถาบันการเงิน, ธนาคารแห่งประเทศไทย) และคุณบุตรี หวังศิริรุ่งเรือง (ฝ่ายส่งเสริมเทคโนโลยีทางการเงิน, สำนักงาน ก.ล.ต.)
คุณอธิษฐา จิตรานุเคราะห์ – Partner, Tilleke&Gibbins ได้กล่าวว่า กฎเกณฑ์ดังกล่าวเป็นสิ่งที่ผู้สนใจด้านการเงิน และฟินเทคเองเป็นจับตามอง ทำให้หลายตั้งข้อสังเกตว่าทางหน่วยงานกำกับดูแล มีกระบวนการทำงานให้ได้มาซึ่งข้อกฎเกณฑ์ที่จะปล่อยออกมาไม่ช้านี้ โดยเชื่อว่าจะออกกฎเกณฑ์ออกมาภายในปีนี้แน่นอน เพราะขณะนี้อยู่ในขั้นตอนที่เกือบสุดท้ายในการออกกฎเกณฑ์ดังกล่าว
คุณวิจิตรเลขา มารมย์ – รองผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยีการเงิน, ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้กล่าวว่า สินเชื่อแบบ Peer-to-Peer เป็นธุรกิจการเงินแบบใหม่ในประเทศไทย ทาง ธปท. จึงต้องทำการทดสอบและพัฒนาใน Sandbox เพื่อดูความพร้อมของผู้ให้บริการ ส่งเสริม และพัฒนานวัตกรรมดังกล่าวในแต่ละระบบที่ต้องอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ เช่น การบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสม ดูประสิทธิภาพด้านการดูแลเงิน การบริหารด้านความปลอดภัยของทั้งผู้ให้กู้และผู้กู้ การให้ข้อมูล ความน่าเชื่อถือที่ผู้ให้กู้และผู้กู้สามารถไว้วางใจได้ เป็นต้น
คุณพรสิริ รุ่งสิริโอภาส – รองผู้อำนวนการฝ่ายนโยบายการกำกับสถาบันการเงิน, ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้กล่าวว่า ในการออกกฎหมายของสินเชื่อชนิดนี้ ทาง ธปท.ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนทั่วไป และผู้ประกอบธุรกิจ เพื่อหาสิ่งที่จะนำมาปรับใช้ในกฎหมาย เท่าที่ทาง ธปท.จะปรับได้ โดยสินเชื่อแบบ Peer-to-Peer นี้ เป็นเรื่องที่ธนาคารประเทศไทยต้องเป็นตัวกลางในการออกกฎเกณฑ์ เพื่อป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการกู้และให้กู้บนเว็บไซต์ แอพพิเคชั่น และแพลตฟอร์ม ที่อาจจะเกิดได้ในอนาคต
คุณบุตรี หวังศิริรุ่งเรือง – ฝ่ายส่งเสริมเทคโนโลยีทางการเงิน, สำนักงาน ก.ล.ต. ได้กล่าวว่า ทางสำนัก ก.ล.ต. จะดูในส่วนของ Funding Portal โดยธุรกิจต้องมีความน่าเชื่อถือ มีความพร้อมให้บริการบนแพลตฟอร์ม ที่ประกอบด้วยระบบที่แสดงถึงความน่าเชื่อถือและความปลอดภัยถึง 12 ระบบ ที่ทางสำนักงาน ก.ล.ต. ต้องการ เพื่อนำไปเข้าหารือขอความเห็นชอบจากทางสำนักงาน ก.ล.ต เพื่อประกอบธุรกิจอย่างถูกต้อง
อย่างไรก็ตาม ทางสมาคมฟินเทคประเทศไทยได้จัดงานสัมมนาที่ให้ความรู้เชิงกฎหมายเรื่องดังกล่าว ซึ่งได้รับความสนใจเป็นอย่างดีจากสมาชิกสมาคมและบุคคลภายนอกที่สนใจในเรื่องดังกล่าว หากสนใจที่จะรับความรู้ด้านนวัตกรรมทางการเงินสามารถเข้าไปติดตามได้ที่ เฟสบุ๊คเพจ Thai Fintech Association – สมาคมฟินเทคประเทศไทย