ก.ล.ต. ร่วมกับชมรมฟินเทคฯ เร่งพัฒนาธุรกิจวางแผนการเงิน และ Robo-Advisor

6 ตุลาคม 20160
Share

ชมรมฟินเทคแห่งประเทศไทย (ชมรมฯ) เร่งเครื่องผลักดันการพัฒนาอุตสาหกรรมฟินเทค หรือการใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในอุตสาหกรรมการเงินการธนาคารอย่างต่อเนื่อง โดยทางชมรมฯ ได้จัดให้มีการประชุม National FinTech Sandbox Forum ครั้งที่ 1 หรือ NFS Forum 1 เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2559 ในหัวข้อเรื่อง “การพัฒนาโครงสร้างการรับรายได้ของผู้ประกอบการฟินเทคด้านการแนะนำการลงทุน และนักวางแผนการเงิน” โดยมีผู้ประกอบการวางแผนการเงิน ผู้ประกอบการฟินเทค บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) รวมกว่า 100 องค์กรเข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการโต๊ะกลมในครั้งนี้

ธุรกิจการวางแผนการเงิน และการแนะนำการลงทุน เป็นธุรกิจที่มีแนวโน้มขยายตัวเป็นอย่างมาก สืบเนื่องจากอัตราการออมของประเทศอยู่ในระดับสูง ดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำ และประเทศไทยที่กำลังก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัย ซึ่งจากการศึกษาพบว่าวิธีการสำคัญที่จะทำให้คนไทยสามารถมีเงินเก็บพอเลี้ยงตัวเองยามเกษียณ คือการเพิ่มอัตราการออมเป็นอย่างน้อย 15 – 20% ของรายได้ทุกเดือนนับแต่เริ่มทำงาน หรือเพิ่มอัตราผลตอบแทนการลงทุนให้มากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ทั้งหมดนี้ทำให้ธุรกิจการวางแผนการเงิน รวมไปถึงบริษัทฟินเทคด้านการแนะนำการลงทุน อย่างเช่น Robo Advisor มีแนวโน้มเติบโตสูงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหากดูในกรณีของต่างประเทศจะพบว่าธุรกิจการวางแผนการเงิน และการแนะนำการลงทุนส่วนใหญ่จะดำเนินงานโดยที่ปรึกษาการเงินอิสระ (Independent Financial Advisor) โดยในบ้านเรา อาชีพน้กวางแผนการเงินได้เริ่มมีการเติบโตเป็นอย่างมากในช่วง 2 – 3 ปีที่ผ่านมา

สำหรับประเทศไทยปัญหาที่พบในปัจจุบันคือโครงสร้างการประกอบธุรกิจและการรับรายได้ยังคงไม่รองรับต่อการขยายตัวต่อแนวโน้มการเติบโตครั้งนี้ โดยในปัจจุบัน นักวางแผนการเงินหลายกลุ่ม รวมถึงผู้ประกอบการฟินเทคด้านการแนะนำการลงทุนหลายราย (ผู้ประกอบการ)ได้รวมตัวกันจัดตั้งเป็นนิติบุคคลเพื่อทำธุรกิจ แต่ธรรมเนียมปฏิบัติในการรับรายได้จากบริษัทหลักทรัพย์ที่ทำธุรกิจเป็นนายหน้า ค้า และจัดจำหน่ายหน่วยลงทุน (LBDU: Limited broker, dealer and underwriter) ในปัจจุุบันจะเป็นการจ่ายเงินตรงให้กับนักวางแผนการเงินแต่ละรายที่มีใบอนุญาตผู้แนะนำการลงทุน (IP, IC) ส่งผลให้ผู้ประกอบการฯ ไม่สามารถเติบโตได้อย่างเช่นในต่างประเทศ

edf

ในการประชุมครั้งนี้ ทาง ก.ล.ต. ร่วมกับชมรมฟินเทคฯ ได้เสนอแนวทางการแก้ปัญหาเพื่อสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมการวางแผนการเงิน และผู้ประกอบการฟินเทคด้านการแนะนำการลงทุน “ทางสำนักงานฯ มีแนวคิดในการการใช้ Regulatory Sandbox หรือการสร้างสนามทดลองให้กับผู้ประกอบการที่ต้องการทดสอบและพัฒนาบริการด้านการวางแผนการเงิน และแนะนำการลงทุน โดยผู้ประกอบการที่สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมโครงการ Regulatory Sandbox ของสำนักงานก.ล.ต. โดยทาง ก.ล.ต. พร้อมให้คำปรึกษากับผู้ประกอบการที่สมัครเข้าร่วมโครงการ และพิจารณาหลักเกณฑ์ที่เหมาะสมต่อไป” นางทิพยสุดา ถาวรามร รองเลขาธิการ ก.ล.ต. กล่าว

สำหรับนิติบุคคลที่ทำธุรกิจวางแผนการเงิน ผู้ประกอบการฟินเทค และบริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน (ผู้ประกอบการฯ) ที่ทำธุรกิจอยู่แล้ว ทางก.ล.ต. มีแนวคิดในการให้ใบอนุญาตที่ปรึกษาการลงทุน (IA) แก่ผู้ประกอบการฯ เพื่อสามารถทำธุรกิจต่อไปได้เลย และสามารถรับรายได้จาก LBDU ได้ทันทีในช่วงระยะเวลาหนึ่ง หลังจากนั้นทาง ก.ล.ต. จะดำเนินปรับเกณฑ์การขอใบอนุญาตให้เหมาะสม และให้ผู้ประกอบการฯ ดำเนินการขอใบอนุญาต IA ต่อไป โดยเชื่อว่าแนวทางดังกล่าวจะทำให้ธุรกิจการวางแผนการเงินของประเทศไทยเติบโตได้อีกมาก

screenhunter_1224-oct-07-09-34
ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ

ขณะที่ชมรมฟินเทคแห่งประเทศไทย จะจัดให้มี National FinTech Sandbox (NFS) หรือศูนย์ทดสอบและพัฒนาฟินเทคแห่งชาติเพื่อทำงานร่วมกับ Regulatory Sandbox ของทาง ก.ล.ต. “นอกจากการประสานงานให้ผู้ประกอบการฟินเทคเข้าร่วมใน Regulatory Sandbox แล้ว ศูนย์ทดสอบและพัฒนาฟินเทคแห่งชาติมีแผนงานในการจัดให้มีเทคโนโลยีแพลตฟอร์มเพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการหน้าใหม่ให้ได้มีพื้นที่ (Co working space) ในการทดสอบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ มีการประสานงานร่วมกับสถาบันการเงินต่าง ๆ ในการหาโอกาสขยายฐานลูกค้า และที่สำคัญคือมีการเกณฑ์ลูกค้าจำนวนหนึ่งที่อาสาสมัครเข้าร่วมทดสอบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ภายใต้สภาพแวดล้อมที่กำหนดเพื่อให้ผู้ประกอบการฟินเทคเกิดกระบวนการเรียนรู้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์กับลูกค้าจริง ในสภาพแวดล้อมจริง” นายเจษฎา สุขทิศ เลขาธิการชมรมฯ กล่าวถึงเรื่อง National FinTech Sandbox (NFS)

ชมรมฟินเทคแห่งประเทศไทยจัดตั้งขึ้นในเดือนกรกฎาคม 2559 ที่ผ่านมา โดยมีคุณกรณ์ จาติกวณิช อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธานชมรม โดยในปัจจุบันกำลังอยู่ระหว่างขออนุญาตจัดตั้งเป็น “สมาคมฟินเทคประเทศไทย” โดยในการนี้ ทางชมรมได้กำหนดพันธกิจหลักคือ การลดต้นทุนธุรกรรมทางการเงินของประเทศไทย การช่วยให้คนไทยเข้าถึงบริการทางการเงินกว้างขวางมากยิ่งขึ้น การส่งเสริมการแข่งขันอย่างโปร่งใสและยุติธรรมต่อผูู้บริโภค และการสนับสนุนให้ฟินเทคสตาร์ทอัพของไทยสามารถแข่งขันได้ในระดับโลก โดยชมรมฯ จะทำหน้าที่เป็นหน่วยงานหลักในการจัดตั้ง National FinTech Sandbox – NFS (ศูนย์ทดสอบและพัฒนาฟินเทคแห่งชาติ) เพื่อเป็นตัวเร่งสำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรม FinTech และเป็นศูนย์บ่มเพาะหลักสำหรับผู้ประกอบการ รวมถึงการเป็นหน่วยงานหลักในการสร้าง FinTech Ecosystem ในประเทศไทย อันประกอบด้วย ผู้ประกอบการ FinTech, สถาบันการเงิน, หน่วยงานกำกับดูแล, ศูนย์บ่มเพาะ, VC, และคู่ค้าทางธุรกิจอื่น ๆ และการจัดทำ National FinTech Roadmap (แผนพัฒนาอุตสาหกรรมฟินเทคแห่งชาติ) ร่วมกับหน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นแผนงานหลักในการพัฒนาอุตสาหกรรมฟินเทคของไทยให้สามารถแข่งขันได้ในระดับภูมิภาค และระดับโลกต่อไป

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Related Posts

  • Get ready to meet TFA executive committees at Money20/20 Asia
  • Join the Money20/20 Asia !
  • บรรยากาศงานเสวนา Open Banking Data for Consumer Empowerment
bt_bb_section_bottom_right_section_coverage_image

Contact Us

Address

439B-1 Siam Paragon Shopping Mall, 4th Floor, Rama 1 Road, Pathumwan, Pathumwan, Bangkok, Thailand 10330

The information contained in this website is provided for informational purposes only and on an “as is” basis, without representation or warranty of any kind. Thai Fintech Association does not guarantee whether the information is correct or up-to-date.   no event shall Thai Fintech Association be liable to you or any person for any loss of business or profits, or for any indirect, incidental or consequential damages arising out of any use of, or inability to use, or for any other claim by you or any other person.

© Copyrights 2021 - All Rights Reserved - Thai Fintech Association