สมาคมฟินเทค เจ้าแรกที่จัดเวทีที่เชิญ Law Firm และ ก.ล.ต. เผยแพร่เรื่อง “กฎหมายเงินดิจิทัล

24 กรกฎาคม 2018
Share

จบงานไปอย่างงดงามกับงาน TFTA Forum ครั้งที่ 4 ที่อัดแน่นไปด้วยความรู้ด้านกฎหมายที่ว่าด้วยเรื่องการประกอบธุรกิจทรัพย์สินดิจิทัล ภายใต้ชื่องาน Digital Asset Talk เจาะจนเข้าใจเรื่องกฎหมายเงินดิจิทัล” โดยได้นักกฎหมายจากบริษัทกฎหมายชื่อดังในประเทศไทย อาทิ BakerMcKenzie, DFDL และ Tilleke & Gibbins ซึ่งในงานยังมีอีก 2 วิทยากรผู้เชี่ยวชาญ มากประสบการณ์ และลงสนามในหัวข้อดังกล่าวจริง อย่าง ดร.ภูมิ ภูมิรัตน (ที่ปรึกษาสมาคมฟินเทคประเทศไทย) และ คุณทิพยสุดา ถาวรมร (รองเลขาธิการสำนักงาน ก.ล.ต.) โดยงาน TFTA Forum ครั้งนี้ จัดขึ้นเมื่อวันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม 2561 เวลา 14.30-17.00 น. ณ. MCFiVA ชั้น 22 Gaysorn Tower

สมาคมฟินเทคประเทศไทยได้ก่อตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมสนับสนุนพัฒนาและผลักดันอุตสาหกรรมฟินเทคของประเทศไทย โดยมี กรณ์ จาติกวณิช เป็นประธานสมาคม ซึ่งหนึ่งในเป้าหมายของสมาคมคือเป็นศูนย์กลางในการช่วยเหลือผู้พัฒนาฟินเทค เน้นการเผยแพร่ความรู้ด้านเทคโนโลยีทางการเงินให้แก่สาธารณะ ภาครัฐและเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคส่วนอุตสาหกรรมทางการเงินและที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงผู้สนใจในนวัตกรรมฟินเทคที่จะช่วยร่วมสร้างระบบนิเวศน์ที่แข็งแกร่ง อันจะเกิดประโยชน์และสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ตลาดเงินตลาดทุนและประเทศชาติ

ในหัวข้อ “ว่าด้วยเรื่องกฎหมายเงินดิจิทัล” บรรยายโดย คุณทิพยสุดา ถาวรามร รองเลาขาธิการ ก.ล.ต. ได้กล่าวว่า “พ.ร.ก. ออกมาแล้ว ทางก.ล.ต. ต้องออกมากฎระดับรอง หากดีไม่ดีก็ค่อยมาแก้ไข เพราะทุกอย่างสามารถนำไปอัพเดตเพื่อไปปรับ เนื่องจาก Cryptocurrency ถูกสร้างเพื่อแลกเปลี่ยน สามารถชำระแทนเงินตรา แต่ตอนนี้มันก็มีวิวัฒนาการของมันไปเรื่อยๆ ซึ่งมันยังไม่เป็นหลักทรัพย์เสียทีเดียว ต่อมาก็มีคนที่หัวใสทำอยากให้มันเป็นหลักทรัพย์ ทำให้ทางเราต้องดูว่ามันเป็นหลักทรัพย์หรือไม่ ต้องกำกับดูแลหรือเปล่า ทั้งนี้การกำกับดูแลที่เกิดขึ้นนี้ ก็เพื่อไม่ให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบกัน”

ในส่วนของการเสวนาจากนักกฎหมายที่พูดถึงกฎหมายเงินดิจิทัล หัวข้อ “นักกฎมายกับกฎหมายเงินดิจิทัล” ซึ่งมี ดร.ภูมิ ภูมิรัตน เป็นผู้ดำเนินรายการ โดยมีผู้ร่วมเสวนาดังนี้ คุณกุลรัตน์ ผ่องสถาพร จาก Baker McKenzie, คุณอธิษฐา จิตรานุเคราะห์ จาก Tilleke & Gibbins และคุณไกรศร เรืองกูล จาก DFDL

คุณกุลรัตน์ ผ่องสถาพร จาก Baker McKenzie กล่าวถึงมุมมองของตัวบทกฎหมายดังกล่าวว่า “หากคุณอยากจะออก ICO ต้องคิดก่อนว่ามันต้องเปิดขึ้นในเมืองไทยใช่ไหม พอมาดูหลักเกณฑ์ของเราก็จะเป็นว่ามีหลักเกณฑ์ค่อนข้างเยอะ ดังนั้นถ้าจะออก ICO ในไทยต้องศึกษาให้ดี ต้องสามารถเปิดเผยข้อมูลของตัวเองได้ เพื่อดูว่ามันถูกต้องและสอดคล้องกับสิ่งที่พูดมาหรือไม่ หากมามองในมุมนักลงทุนก็ต้องดูกฎเกณฑ์ของ ก.ล.ต.เช่นกัน ว่าตัวเองเป็นนักลงทุนประเภทไหน และทำ KYC กับ CDD ให้เรียบร้อย”

คุณอธิษฐา จิตรานุเคราะห์ จาก Tilleke & Gibbins กล่าวเพิ่มเติมเรื่องตัวบทกฎหมายดังกล่าวว่า “เราต้องดูกฎหมายตัวนี้อย่างเข้มข้น ถ้าอยากจะทำ ICO ในไทยคุณต้องจดทะเบียนที่มีรายละเอียดค่อนข้างเยอะ เวลามองกฎหมายอยากให้มองรายละเอียดด้วยว่ามีอะไรที่กระทบเราบ้าง เช่น มีผู้ประกอบการต่างชาติมาหุ้นกับเราด้วย และส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติ ซึ่งแน่นอนว่าหน่อยงานกำกับดูแลไม่ได้ขึ้นอยู่ที่เดียว และความวุ่นวายก็จะเกิดขึ้นอีกอยู่ เป็นต้น”

คุณไกรศร เรืองกูล จาก DFDL กล่าวถึงมุมมองของตัวบทกฎหมายดังกล่าวว่า “เราเห็นว่า การที่ ก.ล.ต ได้ออกกฎครั้งนี้ ถือว่าเป็นรัฐบาลไม่กี่ประเทศในโลกที่เข้ามาทำเรื่องนี้เต็มตัวและออกมาอย่างละเอียด ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีที่หน่วยงานกำกับดูแลเพื่อมาทำประโยชน์ สร้างความปลอดภัยในแก่นักลงทุน โดยเรายินดีมากมันทำให้ Asset ชนิดนี้ดูมีความน่าเชื่อถือ และเป็นประเด็นที่น่าสนใจว่าถ้านำไปใช้จริงจะเป็นอย่างไร”

อย่างไรก็ตาม ทางสมาคมฟินเทคประเทศไทยได้จัดงานสัมมนาที่ให้ความรู้เชิงกฎหมายเรื่องดังกล่าวเป็นที่แรกนับตั้งแต่มีตัวกฎหมายนี้เกิดขึ้น ซึ่งได้รับความสนใจเป็นอย่างดีจากสมาชิกสมาคมและบุคคลภายนอกที่สนใจในเรื่องดังกล่าว…และพบกับในงานครั้งต่อไป

Related Posts

  • TFA Masters Golf Tournament 2024 งานพบปะผู้ประกอบการฟินเทคและสถาบันการเงิน
  • “FinTech x Climate Tech” งานพบปะที่รวบรวมผู้ประกอบการ FinTech และ Climate Tech ของประเทศไทย
  • งาน “Triam Talk : FINTECH แบบไหนจะโตไว หรือร่วงโรย” กับแขกรับเชิญระดับแนวหน้าของประเทศที่มาแชร์ข้อมูลธุรกิจฟินเทค
bt_bb_section_bottom_right_section_coverage_image

Contact Us

Address

439B-1 Siam Paragon Shopping Mall, 4th Floor, Rama 1 Road, Pathumwan, Pathumwan, Bangkok, Thailand 10330

The information contained in this website is provided for informational purposes only and on an “as is” basis, without representation or warranty of any kind. Thai Fintech Association does not guarantee whether the information is correct or up-to-date.   no event shall Thai Fintech Association be liable to you or any person for any loss of business or profits, or for any indirect, incidental or consequential damages arising out of any use of, or inability to use, or for any other claim by you or any other person.

© Copyrights 2021 - All Rights Reserved - Thai Fintech Association