เมื่อวันอังคารที่ 28 สิงหาคม 2561 เวลา 14.30-17.00 ทางสมาคมฟินเทคประเทศไทยและศูนย์ CIT (Center of Insurtech Thailand) ได้ร่วมกันจัดการบรรยายภายใต้ชื่องาน Insurance Regulatory Sandbox โดยมีเลขาธิการ คปภ. ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เป็นผู้กล่าวเปิดงานและบรรยายความเป็นมาของการจัดตั้งศูนย์ CIT ซึ่งได้กล่าวไว้ ดังนี้
เมื่อเรามาเจาะดูข้อมูลของ Insurtech Startup เราจะพบว่า Insurtech เป็นส่วนหนึ่งของ Fintech ซึ่งในขณะนี้เป็นยุคดิจิทัลที่มีอิทธิพลต่อการประกอบการธุรกิจ หากเราดูข้อมูลสถิติจากสถาบัน TWC เราจะเห็นว่าธุรกิจที่ได้รับผลกระทบคือ “ธุรกิจประกันภัย” เพราะธุรกิจประกันภัยเป็นธุรกิจที่เก่าแก่ จึงเป็นเรื่องที่ถูกกระทบมากคือ ได้แก่ พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปและกฎกติกา เพราะก่อนหน้านี้ธุรกิจประกันภัยอยู่ภายใต้กรมประกันภัยได้เปลี่ยนมาอยู่ภายใต้สำนักงาน คปภ. ที่ไม่ใช้หน่วยงานราชกาล แต่เป็นหน่วยงานของรัฐและเป็นหน่วยงานอิสระ โดยทางสำนักงาน คปภ. มีลักษณะคล้ายกับ ธปท. และ ก.ล.ต.
สำนักงาน คปภ. อยู่ในระหว่างการดำเนินการตามรัฐบาล ซึ่งเราต้องดูอีกว่าจะทำอย่างไรจึงจะเหมาะสม เมื่อถึงเวลาออกออกกฎกติกาเราจะต้องพิจารณา และเมื่อดูในส่วนของข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ซึ่งขณะนี้ Generation ใหม่ไม่พอใจกับรูปแบบประกันภัยแบบเดิม ซึ่งเขาต้องการมาตรการที่เข้ามาคุ้มครองพวกเขาได้อย่างไม่เอาเปรียบเข้า ดังนั้นเมื่อพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนเราก็ต้องปรับตัวมากขึ้น เช่น มีเว็บไซต์ เข้าถึงด้วยระบบสมาร์ตโฟน และสามารถจะเข้าถึงประกันภัยได้ ซึ่งจะตอบโจทย์ความต้องการคนยุคใหม่ได้ ทั้งนี้เหตุที่กล่าวมาเป็นช่องทางเรากำลังจะปฏิรูป โดยการเข้าถึงภาค Startup เพื่อเข้าถึงผู้บริโภค ซึ่ง Startup เหล่านี้จะใช้เทคโนโลยีเข้าสู่การประกันภัยที่ปรับเปลี่ยนเข้าหาพฤติกรรมผู้บริโภคในยุคนี้ได้ดี
ในหลายประเทศ Startup มีมูลค่ามากมาย หลายที่เกิน 100 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือที่เรียกว่า Unicorn หากเราดูข้อมูลส่วนนี้ไม่ว่าจะเป็นจีน จะพบว่า CVC ที่เป็นโครงการสนับสนุน Startup และข้อมูลประกันภัยจะพบว่ามีบริษัทประกันที่ทำงานกับ Startup ก็มี ซึ่งพบว่าการทำงานร่วมกับ Startup ตอบโจทย์ได้ดีกว่า
เรามองเรื่องการตอบโจทย์ผู้บริโภคว่า หากเราหยุดอยู่ตรงนี้หรือพัฒนาช้า จะทำให้ธุรกิจประกันภัยถูก Take over รวมไปถึงด้านศักยภาพอาจจะดูน้อยลง ทั้งนี้ธุรกิจประกันภัยจะต้องอยู่ให้ได้ต้องแข็งแกร่ง และที่สำคัญคือเราจะต้องปรับตัวเข้าหายุค Digital ด้วย หากเราไม่ปรับตัว เราจะไม่สามารถกำกับดูแลอุตสาหกรรมประกันภัยให้เกิดประสิทธิภาพ ที่จะส่งผลให้เกิดการเติบโตในทางเติบโตในทางที่ถูกที่ควรได้ หากเรายังใช้การทำงานรูปแบบเดิม ฉะนั้นหน่วยงานรัฐต้องปรับเปลี่ยนวิธีการเพื่อประชาชน จึงเป็นที่มาในการจัดตั้ง CIT (Center of Insurtech Thailand)
CIT มีวัตถุประสงค์ดังนี้
- ศึกษาวิจัยแลกเปลี่ยนความรู้เพื่อเสริมความรู้ให้อยู่ต่อไปได้
- สนับสนุนประกันภัยของประชาชน
- Insurtech จะช่วยด้านประกันภัยในการเลือกซื้อเพื่อเปรียบเทียบประกันภัย บริหารเบี้ยประกัน ช่วยบริษัทประกันภัยในการพิจารณา และการเคลมประกันที่ง่ายขึ้น
- เป็นเวทีกลางในการระดมความคิดเห็นในการพัฒนาเทคโนโลยีประกันภัย
คนไทยมักจะอยู่ใน Comfort zone เราจึงต้องมีตัวช่วยให้เราไปข้างหน้า เราจึงมี CIT เพื่อพัฒนาแม้เราจะไม่มีสถานที่ แต่เราเริ่มทำแล้วเมื่อเรามีวัตถุประสงค์และความรับผิดชอบเพราะประชาชน