นวัตกรรม Blockchain กับโลกการเงิน ในความคิดของ “กรณ์ จาติกวณิช” – ประธานสมาคมฟินเทคประเทศไทย

28 พฤศจิกายน 2018
Share

การศึกษาให้ได้ความมาซึ่งความรู้อย่างเข้าใจเรื่อง Blockchain เป็นเรื่องที่คนไทยต้องเรียนรู้ เพราะมันเป็นเรื่องสำคัญ ที่คนไทยต้องรุ้ว่ามันเอาไปประยุกต์ใช้กับอะไรได้บ้าง มันจะมีผลอะไรกับชีวิตเรา เกี่ยวข้องอะไรกับ Cryptocurrency  และ Cryptocurrency จะมาแทนเงินหรือไม่…มันเป็นจุดที่น่าสนใจมาก

ทัั้งชีวิตของ “กรณ์ จาติกวณิช” อยู่กับการเงินมาโดยตลอด จึงเรียกตัวเองในอีกนามหนึ่งว่า “นักเศรษฐศาสตร์” ถึงแม้จะมีบทบาททางการเมืองเป็นส่วนใหญ่ก็ตาม แต่ก็ได้รับงานที่เกี่ยวข้องกับการเงินในหน้าที่ของ “รัฐมนตรีคลัง” และมองว่า “เงิน” เป็นนวัตกรรมที่สำคัญของมนุษย์ที่มีมาอย่างยาวนาน โดยย้อนกับไปยุคโบราณ หลายคนอาจจะมองว่าเงินมาแทนระบบแลกเปลี่ยน แต่มันมาพร้อมกับระบบหนี้ เพราะมองว่าหนี้มาก่อนเงิน พบเรามีหนี้ก็ต้องมีหลักฐานที่แสดงการเป็นนี้หรือที่เราเรียกว่า “IOU” และ IOU ก็ถูกออกแบบมาให้แลกเป็นได้ในรูปแบบของเงิน แม้แต่พระราชาในอดีตก็ผลิตเหรียญเงินขึ้นมาเพื่อเป็นการยืนยันหนี้สินที่มีต่อประชากรในด้านต่างๆ และนั้นคือที่มาของเงิน

เงินเป็นนวัตกรรมสำคัญ ทำให้เราเกิดการค้าขาย ผลักดันเศรษฐกิจโลกได้ หากถามว่าเงินมีคุณสมบัติอย่างไร เนื่องจากมีหลายคนที่มีคำถามว่า “Cryptocurrency จะมาแทนเงินหรือไม่” ซึ่งเราต้องทำความเข้าใจก่อนว่า “เงินคืออะไร” มี 4 ข้อหลักที่หากตกหล่นในข้อใดข้อหนึ่ง การที่ Cryptocurrency จะมาแทนเงินคงเป็นไปได้ยาก โดยขออธิบายดังนี้

  1. ใช้ได้โดยสะดวก
  2. ถือครองได้ พกพาได้
  3. รักษามูลค่าของมันได้ ที่จะมากับความน่าเชื่อถือ ซึ่งไม่ได้มาจากอำนาจทางกฎหมายอย่างเดียว
  4. เป็นที่ยอมรับ

หากพูดในภาษา Startup จะพูดได้ว่าเงินนั้นมี Pain Point ของมัน โดย Pain Point ที่สำคัญที่สุดของเงินคือ “ต้นทุน” พูดให้เห็นภาพก็คือการถือเงินและการใช้เงิน ที่ต้องอยู่ในระบบธนาคาร การมีธนาคารนั้นก็คือต้นทุนของเรา เพราะมันบ่งบอกถึงประสิทธิภาพทางการเงินของเราและศักยภาพของธนาคาร แต่ธนาคารในประเทศไทยเป็นกลุ่มธนาคารที่มีกำไรติดอันดับที่อาจจะมากที่สุดในโลก ทั้งนี้ไม่มีธนาคารที่ใดในโลกที่มีกำไรโลกรวมเท่ากันธนาคารประเทศไทย หากถามว่ากำไรจากธนาคารมาจากไหน ก็ตอบได้ว่ากำไรดังกล่าวมาจากผู้ใช้ธนาคาร ถ้าลองวัดดูตามรายได้ของธนาคารหรือสถาบันการเงินโดยรวม คิดเพียงกับ GDP จะเห็นว่ามันเทียบเท่ากับ 8.5% ของ GDP ซึ่งมันสูงมาก เมื่อเราดูข้อมูลแบบเดียวกับกับประเทศที่เจริญแล้วจะพบว่ารายได้ของธนาคารของพวกเขาจะเพียงแค่ 4% บ่งบอกว่าต้นทุนการใช้เงินบาทของประเทศไทยสูงมาก อีก 2 สิ่งที่ถือว่าเป็น Pain Point ประเด็นการแลกเปลี่ยนสกุลเงินที่แตกต่างกัน อีกอย่างที่มีต่อสกุลเงินปกติ และประเด็นการแทรกแซงทางการเมือง ทำให้เกิดจุดกำเนิดของ Cryptocurrency

เมื่อมีจุดวุ่นวายจากระบบเดิม และเกิดเทคโนโลยีใหม่อย่าง Blockchain อาจจะเข้ามาแก่ปัญหาเหล่านี้ได้ หากพูดให้เห็นภาพคือ Bitcoin ไม่มีใครเป็นเจ้าของมันแต่เพียงผุ้เดียว ไม่มีธนาคารกลางของอเมริกาที่กำหนดว่าจำนวนเงินดอลล่าในระบบจะต้องมีเท่าไหร่ ซึ่ง Bitcoin เป็น Logarithm ที่ตายตัว ผนวกเข้ากับคุณสมบัติของ Blockchain ทำให้เกิดความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น โดยไม่มีใครมาแทรกแซงได้ ทั้งนี้ผู้ที่คิดค้นต้องการให้การใช้ Cryptocurrency จะต้องมีต้นทุนที่ต่ำกว่าการใช้สลุกเงินทั่วไป

ในการที่ค่าของ Cryptocurrency ที่ลดลง ณ ตอนนี้มาจากเทคโนโลยียังไม่เสถียร หากย้อนไปดูหลักคิดก็เป็นเรื่องดีใช้ได้ แต่ติดที่เทคโนโลยีไม่ว่าจะเป็นในแง่ของการผลิตที่มีต้นทุนการผลิตที่สูงมากกว่าที่ควรจะเป็น ในด้านของการใช้ที่มีการ Varidate แต่ละ Transaction ที่แตกต่างกัน ว่าง่ายๆ มันขาดความสะดวก แต่ในแง่ความปลอดภัยจาก Blockchainในการถือครอง…ถือเป็นเรื่องดี

 

สมาคมฟินเทคประเทศไทย

Related Posts

  • Get ready to meet TFA executive committees at Money20/20 Asia
  • Join the Money20/20 Asia !
  • บรรยากาศงานเสวนา Open Banking Data for Consumer Empowerment
bt_bb_section_bottom_right_section_coverage_image

Contact Us

Address

439B-1 Siam Paragon Shopping Mall, 4th Floor, Rama 1 Road, Pathumwan, Pathumwan, Bangkok, Thailand 10330

The information contained in this website is provided for informational purposes only and on an “as is” basis, without representation or warranty of any kind. Thai Fintech Association does not guarantee whether the information is correct or up-to-date.   no event shall Thai Fintech Association be liable to you or any person for any loss of business or profits, or for any indirect, incidental or consequential damages arising out of any use of, or inability to use, or for any other claim by you or any other person.

© Copyrights 2021 - All Rights Reserved - Thai Fintech Association