ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI เป็นนวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่สามารถทำงานร่วมกับภาคธุรกิจต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับภาคธนาคาร ซึ่ง AI สามารถช่วยลดต้นทุนได้ โดยคาดการณ์ว่าจะประหยัดได้มากกว่า 1 ล้านล้านเหรียญ ในปี 2030…ถึงแม้ว่าในขณะนี้ AI ยังไม่พร้อมแทนที่การทำงานของมนุษย์ แต่ Ai ได้ทำประโยชน์ในด้านความสะดวกให้แก่มนุษย์มากมาย ทั้งนี้การพัฒนา AI ในปัจจุบันมีผลมาจากเทคโนโลยีจำพวก Machine learning และ Language manipulation โดย 2 ส่วนมีการทำงาน ดังนี้
ส่วนของ Machine learning คือ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยอัตโนมัติที่สร้างแบบจำลองการวิเคราะห์ ซึ่งการทำงานจะเกิดขึ้นเมื่อคอมพิวเตอร์เปลี่ยนพารามิเตอร์ / อัลกอริทึมเมื่อได้รับข้อมูลใหม่
ส่วนของ Natural Language Processing (NLP) คือ ความสามารถของเทคโนโลยีในการใช้การสื่อสารของมนุษย์การพูดหรือเขียนโดยธรรมชาติ ซึ่งเป็นการป้อนข้อมูลที่กระตุ้นให้เกิดการประมวลทางคอมพิวเตอร์ เพื่อเรียงลำดับข้อมูลจำนวนมากที่มีอยู่เพื่อให้เกิดการตอบสนองต่อเสียงของมนุษย์ อีกทั้งสามารถใช้รูปแบบของคำพูดเพื่อนำมาใช้ในการสรุปผลทางการเงินได้
ประโยชน์จาก AI
ลดต้นทุน – การเปลี่ยนมาใช้งาน AI เป็นการประหยัดเวลาในการตอบสนองผู้ใช้บริการ ซึ่งการใช้จริงในธนาคารแห่งหนึ่งในนิวยอร์ค โดย AI เหล่านี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อดำเนินงานวนซ้ำไปซ้ำมาอยู่หลายครั้ง เพื่อทำหน้าที่ในการตอบคำถามอัตโนมัติ, ตอบสนองคำขอข้อมูลจากผู้ตรวจสอบภายนอก, แก้ไขในการจัดรูปแบบข้อมูลให้ถูกต้อง และตรวจจับข้อมูลผิดพลาดในการยื่นคำขอโอนเงิน
ลดความเสี่ยง – ลดความเสี่ยงในการทำสัญญาเงินกู้ผ่าน Machine learning ซึ่งสามารถลดความเสี่ยงด้านอาชญากรรมทางการเงิน และมีการควบคุมข้อมูลแม่นยำกว่าการใช้ระบบเดิม
เพิ่มกำไร ได้ประสิทธิภาพ และเพิ่มลูกค้า – เนื่องจาก AI มีการการวิเคราะห์ที่รวดเร็ว แน่นอนว่าสามารถเพิ่มผลผลิตทางการทำงานได้ ส่งผลให้มีพนักงานที่ประสิทธิภาพในการพัฒนา AI เข้ามาทำงานมากขึ้น ส่งผลให้เกิดความสะดวกสบายแก่ลูกค้ามากขึ้นได้
บทบาท AI ในวงการธนาคาร
ในขณะที่ความก้าวหน้าของ AI มีการพัฒนาไปมากมาย แต่มีธนาคารจำนวนน้อยนิดที่ใช้ประโยชน์จาก AI อย่างไรก็ตามธนาคารไม่ควรละเลยประสิทธิภาพของ AI เพราะมันเป็นกลยุทธ์ที่สร้างโอกาสในการเพิ่มพันธมิตรทางธุรกิจและต่อสู้กับคู่แข่ง โดยประสิทธิภาพของ AI มีดังนี้
- ช่วยวิเคราะห์ – การวิเคราะห์แบบ AI-driven สามารถตรวจสอบข้อมูลจำนวนมหาศาล นำไปสู่การจัดเรียงข้อมูลตามหมวดหมู่ อันผลดีต่อการนำข้อมูลส่วนต่างๆ ไปวิเคราะห์ต่อไป ยิ่งไปกว่านี้ AI จะทำการวิเคราะห์ข้อมูลแบบแบบเรียลไทม์ด้วย Machine learning ที่สามารถนำข้อมูลหลังวิเคราะห์ไปใช้ในส่วนต่างๆ เช่น การสร้างแบบจำลองความเสี่ยง, การระบุไบโอเมตริกซ์, การตรวจสอบการทุจริต, การสมัครบัตรเครดิต เป็นต้น
- Chatbot – บริการที่ขับเคลื่อนโดยอัลกอริทึมเพื่อใช้ในการโต้ตอบกับลูกค้าที่มีการตอบเลียนแบบมนุษย์ โดยก่อนหน้า ธนาคารกลางของสหรัฐอเมริกาได้พัฒนา chatbot ที่ใช้ระบบ AI สำหรับให้คำแนะนำทางการเงินแก่ลูกค้าในรูปแบบเสียงและข้อความ และในธนาคาร Wells Fargo เป็นธนาคารแรกๆ ที่ใช้ Chatbot ที่ผ่านแพลตฟอร์ม Facebook Messenger ตั้งแต่เดือนเมษายนปี 2017
- Robotic process automation (RPA) – กระบวนการ RPA ใช้เทคนิคการทำซ้ำที่เป็นกิจวัตรของมนุษย์ เพื่อย้ำเตือนความถูกต้องทางด้านข้อมูล ส่งผลต่อการตรวจผลข้อมูลอย่างอัตโนมัติ
- รายงาน – AI สามารถรวบรวมข้อมูลมาร้อยเรียง เขียนรายงาน และสรุปโดยการสังเคราะห์ข้อมูลที่มีโครงสร้างจำนวนมาก นำมาจัดเป็นประเด็นต่างๆ ซึ่งผลดีคือเราจะรู้ว่ามีประเด็นใดสำคัญบ้าง
จากรายงานที่กล่าวมาข้างต้นจะพบว่า AI ไม่ได้เป็นเรื่องที่ไกลตัวเราอีกต่อไป ซึ่งบางทีมันอาจจะมีบทบาทในชีวิตเราอยู่แล้วโดยที่เรานั้นไม่รู้ตัว…ก่อนหน้านี้การคุยออนไลน์ของเราอาจจะเป็นการสนทนากับ Chatbot ที่เป็นผลผลิตชิ้นเอกของ AI อยู่ก็ได้ โดยทางสมาคมฟินเทคอยากให้ทุกคนรับรู้ถึงความสำคัญของเทคโนโลยีชิ้นนี้ เพราะมันมีความสำคัญกับวงการธนาคารมาก และคาดว่าจะมากขึ้นเรื่อยๆ
Reference
Fintechnews Singapore