หากกล่าวถึงศูนย์กลางของนวัตกรรมฟินเทคในแถบเอเชีย…ทุกคนจะนึกถึงประเทศสิงคโปร์ ซึ่งเป็นประเทศที่ได้ชื่อว่าศูนย์กลางของนวัตกรรมฟินเทคที่ก้าวหน้าที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาค โดยสิงคโปร์ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐบาลในการผลักดันฟินเทคในระดับประเทศจนไปถึงระดับเอเชีย ซึ่งในขณะที่ Fintech มีการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทางสิงคโปร์ได้พิจารณาข้อดีและข้อเสียที่ได้จาก Fintech เพื่อพัฒนารวมไปถึงการรับมือกับปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต
จากการทบทวนเสถียรภาพทางการเงินในปีนี้ ทางธนาคารกลางสิงคโปร์ (MAS) ได้ให้ความสำคัญกับ Fintech ในส่วนของรูปแบบการประเมินความเสี่ยงทางการเงินที่โปร่งใส่และให้ความถูกต้อง อันมีส่วนช่วยให้ SMEs และผู้บริโภคสามารถเข้าถึงเงินทุนได้ง่ายและช่วยลดความเสี่ยงด้านการเงินได้อีกด้วย แต่ในทางกลับกัน Fintech ทำให้การเงินมีเสี่ยงใหม่เข้ามา อาจรวมถึงความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ เช่น Cybercime ช่องโหว่ในการดำเนินงาน เป็นต้น นอกจากนี้อาจมีความเสี่ยงด้านการเงินและตลาดการเงิน เช่น ความผันผวนที่มากเกินไป ซึ่งอาจทำให้เกิดแรงกระแทกต่อการเงินได้
เมื่อ Fintech เข้ามามีบทบาท ทำให้การบริการมีความเร็วเพิ่มขึ้นและปริมาณธุรกรรมทางการเงินมากขึ้นตาม ซึ่งนำไปสู่ความการลดเวลาและรายจ่าย เช่น มีการ AI สามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของสถาบันการเงินได้ถึง 30 เปอร์เซ็นต์ โดยค่าใช้จ่ายเหล่านี้แปลเป็น 10 ถึง 20 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ที่จากการดำเนินงาน (สำหรับธนาคารในเอเชีย) โดยปัจจุบันมีโมเดลทางการเงินและแพลตฟอร์มการเงินใหม่ ๆ ที่เข้ามาช่วยให้สถาบันการเงินเติบโตมากขึ้น และอาจช่วยให้เข้าถึงตลาดที่คาดการณ์ไว้ได้ ซึ่งหมายถึงสถาบันการเงินอาจจะได้ฐานลูกค้าเพิ่ม เพราะความสะดวกในการใช้แอพพลิเคชั่นธนาคารผ่านมือถือและแพลตฟอร์มการชำระเงินแบบไร้เงินสดนั้นเอง
นอกจากนี้การแข่งขันกับบริษัท Fintech มีการความเข้มข้นขึ้น โดยใช้ค่าทำเนียมในการใช้บริการเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ทั้งนี้ทางธนาคารกลางสิงคโปร์ได้คาดการณ์ว่า ภายใน 2 ปีข้างหน้าช่องทางการชำระเงินของ Fintech จะเพิ่มขึ้นเป็น 5 ถึง 10 เปอร์เซ็นต์ และรายงานของ McKinsey ในปี 2014 คาดการณ์ว่าอย่างน้อย 56 เปอร์เซ็นต์ของลูกค้าชาวสิงคโปร์ยินดีที่จะเปลี่ยนเป็นธนาคารดิจิทัลเพียงอย่างเดียว
อย่างไรก็ตาม หากมีการจัดการที่ไม่ดีของนวัตกรรม Fintech และไม่มีการรับมือที่ดีในการป้องกันความเสี่ยงใหม่ที่อาจจะเกิดขึ้นมา สิ่งเหล่านี้อาจทำให้ธุรกิจ Fintech ไม่มั่นคง โดยมีรายงานก่อนหน้านี้ระบุว่าสถาบันการเงินแบบดั้งเดิมมีทรัพยากรและฐานลูกค้ามาก เพื่อดึงดูดความสามารถและความร่วมมือกับบริษัทที่ประกอบการ Fintech ในทางกลับกันธนาคารที่รับภาระกับระบบเดิม อาจทำให้มองว่าในบริการช้า จึงทำให้ลูกค้าบางส่วนหัวไปใช้บริการแบบดิจิทัลที่ให้ความรวดเร็วมากกว่า ซึ่งในขณะที่ Fintech กำลังพัฒนานั้น ทางธนาคารที่สามารถสร้างความสามารถด้านดิจิทัลเช่นกัน โดยสร้างความแตกต่างกันในด้านประโยชน์ที่ได้รับ และอาจจะนำไปสู่การพัฒนาเพื่อความสำเร็จในอนาคต
Reference
Yon Heong Tung (2017).Fintech could help banks save costs but also erode their income, says Singapore’s central bank. Retrieve from https://e27.co/fintech-help-banks-save-costs-also-erode-income-says-singapores-central-bank-20171201/.