ทำไมชาวอินโดนิเซียต้องการฟินเทค

16 August 2017
Share

รูปภาพ Eko Susanto

 

ประเทศอินโดนีเซียนับได้ว่าเป็นประเทศเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งชาวอินโดนีเซียนิยมใช้นวัตกรรม Fintech มากกว่าการธุรกรรมการเงินแบบเดิม หรือต้องการธนาคารที่ดีและปลอดภัยกว่าเดิม จึงทำให้ประเทศอินโดนีเซียมีแผนที่จะขยายนวัตกรรม Fintech ในอนาคตเสมอ

เมื่อเราดูข้อมูลการใช้เทคโนโลยีพบว่า เว็บไซต์ Kitabisa.com เป็นหนึ่งในความหลากหลายของ Croewdfunding ที่คนอินโดนีเซียคุ้นเคย ซึ่งเว็บไซต์ Kitabisa.com มีเป้าหมายที่จะช่วยด้านการเงินแก่แหล่งชุมชนในอินโดนีเซีย โดยจัดตั้งแคมเปญ “WE CAN” เพื่อระดมทุนช่วยผู้ด้อยโอกาสในแหล่งชุมชน เช่น การสร้างโรงเรียนให้แก่เด็กในชุมชน ช่วยค่ารักษาพยาบาล เป็นต้น ทั้งนี้แคมเปญดังกล่าว ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากเห็นได้จากจำนวนเงินบริจาคที่ Kitabisa.com ได้รับ มีมูลค่า มากกว่า 111,000,000,000 รูเปีย หรือประมาณ 30,000,000 บาท ซึ่งเป็นยอดเงินที่ระดมทุนได้ตั้งแต่มีแคมเปญมีขึ้นมา (2013-2017)

ในส่วนของการใช้ Fintech พบว่า ชาวอินโดนีเซียให้สื่อสารผ่านมือถือกันมาก ไม่แปลกที่คนอินโดนีเซียจำนวนมากจะมีการชำระเงินผ่านมือถือ ซึ่งเมื่อดูข้อมูลการใช้บริการธุรกรรมการเงินและข้อมูลจากสถาบันการเงินชุมชนรายย่อย พบว่าชาวอินโดนีเซียนิยมทำธุรกรรมการเงินผ่าน Fictech ในวงกว้าง สอดคล้องกับข้อมูลจาก Fintech Indonesia และ Daily Social ที่กล่าวว่า ชาวอินโดนีเซียมากกว่า 100 ล้านคน มี Internet User ซึ่ง 70% ใช้มือถือในการเว็บไซต์ต่าง ๆ

หากดูข้อมูลการใช้ธุรกรรมการเงินของชาวอินโดนีเซียพบว่าเพียง 9% ที่ชำระเงินผ่านบัตรเครดิต เพราะชาวอินโดนีเซียส่วนใหญ่มักจะจ่ายเงินสดหรือชำระเงินที่ธนาคารโดยตรง ซึ่ง 36% ของชาวอินโดนีเซีย ใช้ธุรกรรมการเงินผ่าน DOKU แอพพิเคชั่นและ วอลเล็ทท์ GO-PAY แอพพิเคชั่น ซึ่ง 43% ของอุตสาหกรรมธุรกรรมการเงินในอินโดนีเซีย คือส่วนแบ่งของ Fictech หมายความว่า Fictech เป็นความสำคัญ เพราะ Fintech เป็นช่องทางที่ไวกว่าช่องทางอื่น

 

รูปภาพ http://letscrowdsmarter.com

 

Indonesian Fintech สำหรับชาวอินโดนีเซีย

การเข้ามาของ Crowdfunding ทำให้อุตสาหกรรมการธนาคารของอินโดนีเซียเติบโตมากขึ้นถึง 78% เพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2015-2016 มีมูลค่า 486.3 พันล้านรูเปีย ซึ่งตัวอย่างของ Crowdfunding ที่เป็นที่รู้จักของชาวอินโดนีเซีย คือ Kapital Boost และ EthisCrowd ที่ให้บริการชาวมุสลิมเป็นส่วนใหญ่ และสามารถสร้างผลตอบแทนได้ถึง 15%-24% ต่อปี

อีกหนึ่งแอพพิเคชั่นที่ช่วยอุสาหกรรมการเกษตรของชาวอินโดนีเซีย อันเป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญของชาวอินโดนีเซีย ซึ่งเหตุนี้เองทำให้มีสตาร์อัพคิดค้น Limakilo แอพพิชั่นเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรมีช่องทางเพิ่มในการขายพืชผล โดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ “ปฏิบัติการสร้างเครือข่ายเพื่อเศรษฐกิจประชาชน” โดยได้รับการจัดตั้งโครงการจากประธานาธิบดีโจโกวี วิโดโด

 

รูปภาพ www.dealstreetasia.com

 

 เนื่องจากประชาชนกรที่มีมากกว่าพื้นที่ในประเทศอินโดนีเซีย Fintech ถือว่าสำคัญสำหรับชาวอินโดนีเซียมาก เพราะ Fintech สามารถช่วยลงเวลาของชาวอินโดนีเซียได้มาก ยิ่งเมื่อดูจากข้อมูลการใช้อินเตอร์เน็ต จะพบว่า Fintech จำเป็นมากแค่ไหน ไม่ว่าจะเป็นส่วนของความรวดเร็ว ง่าย และสะดวกทางการเงิน ยังสามารถช่วยเศรษฐกิจของประเทศอินโดนีเซียได้อีกด้วย

…Fintech เป็นมากกว่านวัตกรรม…

 

Reference

Fintechnews Singapore. (2017). Why Indonesia needs Fintech?. Retrieved from http://fintechnews.sg/10448/indonesia/indonesia-needs-fintech/.

 

 

 

Related Posts

  • Data Tech Trends & Predictions for 2025
  • Singapore FinTech Festival (SFF) 2024 06 – 08 November 2024
  • Fintech Course: Unleashing Future of Finance by TFA
bt_bb_section_bottom_right_section_coverage_image

Contact Us

Address

439B-1 Siam Paragon Shopping Mall, 4th Floor, Rama 1 Road, Pathumwan, Pathumwan, Bangkok, Thailand 10330

The information contained in this website is provided for informational purposes only and on an “as is” basis, without representation or warranty of any kind. Thai Fintech Association does not guarantee whether the information is correct or up-to-date.   no event shall Thai Fintech Association be liable to you or any person for any loss of business or profits, or for any indirect, incidental or consequential damages arising out of any use of, or inability to use, or for any other claim by you or any other person.

© Copyrights 2021 - All Rights Reserved - Thai Fintech Association