ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ทรงคิดค้นสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการประมวลผลข้อมูลด้วยพระองค์เอง

25 October 2017
Share

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่สนพระทัย และทรงศึกษาอย่างจริงจังลึกซึ้งในการค้นคว้าวิจัยเพื่อการพัฒนาในทางเทคโนโลยี โดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นทรงให้ความสำคัญและประโยชน์อย่างยิ่งทรงสนับสนุนการค้นคว้าในทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ ซึ่งพระองค์นั้นทรงศึกษาคิดค้นสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการประมวลผลข้อมูลต่าง ๆ ด้วย ทั้งนี้พระองค์เองทรงประดิษฐ์รูปแบบตัวอักษรไทยที่มีลักษณะงดงามเพื่อแสดงผลบนจอภาพ คอมพิวเตอร์และเครื่องพิมพ์ โดยพระองค์ทรงใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการบันทึกพระราชกรณียกิจต่าง ๆ และทรงติดตั้งเครือข่ายสื่อสารคอมพิวเตอร์เพื่อสนับสนุนพระราชภารกิจต่าง ๆ อีกทั้งยังทรงเคยประดิษฐ์ ส.ค.ส.ด้วยคอมพิวเตอร์เผยแพร่ผ่านสื่อมวลชนเพื่อทรงอวยพรปวงชนชาวไทยอีกด้วย

ม.ล.อัศนี ปราโมช เป็นผู้ซื้อคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยที่สุดในยุคนั้นขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย ซึ่งหากนับอายุโดยคร่าวของ Macintosh Plus ก็จะพบว่ามีอายุนับจากการเปิดตัวครั้งแรกในปี 1986 หรือประมาณ 30 ปีแล้ว ส่วนสาเหตุที่เลือก Macintosh Plus นั่นเป็นเพราะสามารถเก็บและพิมพ์โน้ตเพลงได้ง่าย การเรียนรู้ และใช้งานง่าย อีกทั้งยังสามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์พิเศษสำหรับเล่นดนตรีตามโน้ตเพลงที่เก็บไว้ได้ ซึ่งสำหรับเรื่องอักขระคอมพิวเตอร์หรือฟอนต์ (Font) นั้นเป็นที่สนพระราชหฤทัยก็เพราะหลังจากที่พระองค์ท่านได้ทรงศึกษา และใช้คอมพิวเตอร์ทำโน้ตคือเมื่อประมาณเดือนธันวาคมพ.ศ.2529 และทรงทดลองใช้โปรแกรม”Fontastic”เมื่อ
ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2530 โดยสิ่งที่ทรงสนพระทัยเป็นพิเศษคือการประดิษฐ์ตัวอักษรไทย

พระองค์ท่านทรงประดิษฐ์อักษรไทยหลายแบบ เช่น แบบจิตรลดา แบบภูพิงค ์ฯลฯ และทรงสนพระทัยประดิษฐ์อักษรขนาดใหญ่ที่สุดจนถึงขนาดเล็กที่สุด ซึ่งนอกจากนี้ยังตั้งพระทัยในการประดิษฐ์อักษรภาษาอื่นๆเพิ่มขึ้นคือ ภาษาสันสกฤตและทรงดำริจะประดิษฐ์อักษรภาษาญี่ปุ่น แต่ขณะนี้ยังไม่ได้เริ่มประดิษฐ์รับสั่งว่าต้องใช้เวลามาก ต่อมาก็ได้ทรงหันมาศึกษาการใช้คอมพิวเตอร์แสดงตัวเทวนาครีบนจอภาพหรือที่พระองค์ท่านทรงเรียกว่า “ภาษาแขก” ซึ่งจัดทำได้ยากกว่าตัวอักษรภาษาไทยเพราะตัวอักษรเทวนาครีนั้นรูปแบบไม่คงที่กล่าวคือ ถ้านำส่วนหนึ่งของอักษรนำมาต่อรวมกับอีกส่วนหนึ่งของอักษรจะเกิดอักษรใหม่ขึ้นและโปรแกรมที่พระองค์ทรงสร้างขึ้นนั้นมีตัว phonetic symbols การสร้างตัวอักษรเทวนาครีนั้นทรงเริ่มเมื่อประมาณ เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2530 ทรงศึกษาตัวอักษร เทวนาครีด้วยพระองค์เองจากพจนานุกรมและตำราภาษาสันสกฤตและทรงสอบถามจากผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาบาลีสันสกฤต เช่น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี และท่านองคมนตรีม.ล.จิราย นพวงศ์ ซึ่งจะต้องตรวจสอบตัวอักษรที่ทรงสร้างขึ้นพระองค์นำโปรแกรมออกแสดงเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๓๐ มีคำถามว่าเหตุใดพระองค์ท่านจึงทรงสนพระราชหฤทัยในตัวอักษรเทวนาครีหรือภาษาแขกเรื่องนี้มีผู้อธิบายไว้ว่าในหลวงที่รักของพวกเรานั้นทรงศึกษาข้อธรรมะในพระพุทธศาสนาอย่างจริงจังและลึกซึ้งการที่ทรงศึกษาตัวอักษรแขกก็เพื่อเป็นการนำไปสู่ความเข้าใจด้านอักษรศาสตร์และความเข้าใจในหัวข้อธรรมะนั่นเองเรื่องนี้นับว่าพระองค์มีวิจารณญาณที่ลึกซึ้งยิ่งนักเพราะคำสอน และข้อธรรมะในพุทธศาสนานั้นเดิมทีก็เกิด และเผยแพร่มาจากประเทศอินเดียบรรดาธรรมะที่ลึกซึ้งและยากแก่ความเข้าใจ ก็อาจจะถูกตีความผันแปรบิดเบือนไปได้ ดังนั้นการศึกษาค้นคว้าลึกลงไปถึงภาษาแขกจึงน่าจะได้ความรู้เกี่ยวกับธรรมะชัดเจนกระจ่างมากขึ้น

ต่อมาได้มีผู้ทูลเกล้าฯ ถวายเครื่องคอมพิวเตอร์ IBM PC Compatible และทรงสนพระทัยศึกษาในการพัฒนา Software  ต่าง ๆ และได้สร้างโปรแกรมใหม่ๆขึ้นมารวมทั้งสนพระทัยในเทคนิคการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์แบบนี้มากทีเดียว บางครั้งทรงเปิดเครื่องออกดูระบบต่าง ๆ ภายในด้วยพระองค์เอง หรือทรงปรับปรุง Softwareใหม่ขึ้นใช้ ทรงแก้ซอฟต์แวร์ในเครื่อง เช่น โปรแกรมภาษาไทย CU WRITER ให้เป็นไปตามพระราชประสงค์

จะเห็นได้ว่าพระองค์ทรงใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการพิมพ์งานทรงพระอักษรส่วนพระองค์ และทรงเก็บงานเหล่านี้เป็นเรื่องๆมาปะติดปะต่อกันจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับพระราชกรณียกิจและบทพระราชนิพนธ์ เช่น เรื่องนายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ เป็นต้น ผลงานอีกชิ้นหนึ่งที่พระองค์ทรงประดิษฐ์ก็คือ การใช้คอมพิวเตอร์ “ปรุง “อวยพรปีใหม่เพื่อพระราชทานแก่ข้าราชการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องแต่เดิม
พระองค์ได้พระราชทานผ่านเครื่องเทเล็กซ์ นอกจากนี้พระองค์ทรงสนพระทัยคอมพิวเตอร์เป็นอย่างมาก สังเกตได้จากขณะเสด็จพระราชดำเนินชม งานนิทรรศการต่าง ๆ เช่น สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังพระองค์สนพระทัยซักถาม อาจารย์และนักศึกษาที่ประดิษฐ์ซอฟต์แวร์ต่าง ๆ อย่างละเอียดและเป็นเวลานาน

นอกเหนือจากเป็นสถานีวิทยุของสื่อมวลชนเพื่อการบันเทิง และเผยแพร่ความรู้กับประชาชนแล้ว ยังได้ทำหน้าที่แจ้งข่าวสารแก่ประชาชนในโอกาสสำคัญ หรือเกิดเหตุการณ์ที่สำคัญต่าง ๆ ขึ้น เช่น การเกิดโรคโปลีโอระบาดในปี พ.ศ. 2495 อหิวาตกโรคในปี พ.ศ. 2501 และเมื่อเกิดวาตภัยที่แหลมตะลุมพุกในปี พ.ศ. 2505

 

Reference

http://www.princess-it.org/kp9/hmk-IT/hmk-computer.th.html

 

Related Posts

  • Data Tech Trends & Predictions for 2025
  • Singapore FinTech Festival (SFF) 2024 06 – 08 November 2024
  • Fintech Course: Unleashing Future of Finance by TFA
bt_bb_section_bottom_right_section_coverage_image

Contact Us

Address

439B-1 Siam Paragon Shopping Mall, 4th Floor, Rama 1 Road, Pathumwan, Pathumwan, Bangkok, Thailand 10330

The information contained in this website is provided for informational purposes only and on an “as is” basis, without representation or warranty of any kind. Thai Fintech Association does not guarantee whether the information is correct or up-to-date.   no event shall Thai Fintech Association be liable to you or any person for any loss of business or profits, or for any indirect, incidental or consequential damages arising out of any use of, or inability to use, or for any other claim by you or any other person.

© Copyrights 2021 - All Rights Reserved - Thai Fintech Association