สรุปประเด็น Clubhouse “Digital Disruption อีก 10 ปี ข้างหน้าโลกจะเป็นอย่างไร”

16 July 2021
Share

ทางสมาคมฯ ต้องขอขอบคุณเพจ วันนี้สรุป..มา – Clubhouse Thailand ที่จดสรุปประเด็น Digital Disruption อีก 10 ปี ข้างหน้าโลกจะเป็นอย่างไร ได้อย่างละเอียด ครบถ้วนเลยค่ะ

 

สรุปจาก DIGITAL DISRUPTION อีก10 ปีข้างหน้าโลกจะเป็นยังไง

======================

  1. Disruption คืออะไร

======================

[คุณชลเดช]

– Disruption คือบริการใหม่ที่จะมาฆ่าของเก่า

– Disruption Innovator นักคิดค้นสินค้าบริการใหม่ เช่น Steve Jobs (วงการเพลง – iPod, มือถือ, iPhone), Jeff Bezos (E-Commerce – Amazon), Elon Musk (วงการรถยนต์ – Tesla, วงการคอมพิวเตอร์เชื่อสมอง – Neuralink)

– คำว่า Disruption โด่งดังมาตั้งแต่ปี 1997 โดยคุณ Clayton Christensen และถูกพูดถึงในหนังสือหลายเล่ม

– การ Disruption เกิดขึ้นในหลายๆ วงการ โดยเฉพาะ Digital Disruption ที่ถูกเร่งปฏิกิริยาโดยโควิด ทำให้แอพพลิเคชั่นต่างๆ เช่น Zoom, Google Meet ซึ่งจริงๆ เกิดขึ้นมานานแล้ว แต่ยังไม่ได้มีการถูกใช้กันอย่างจริงจัง ถูกใช้มากขึ้นด้วยเหตุจำเป็น ทำให้วิถีชีวิตเราเปลี่ยนไป การสั่งอาหารมาทานที่บ้าน การหาสื่อ entertainment ได้จากที่บ้าน

– การ Disruption ที่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไวอาจจะเรียกว่า Transformation, Digital Transformation เปลี่ยนการเปลี่ยนแบบต่อเนื่อง เช่น เดิมทีเราจะอาจจะคุ้นกับการเรียก Taxi -> โทรเรียก Taxi -> เรียก Taxi ผ่านอินเทอร์เน็ต -> ride-hailing -> autonomous car

 

======================

  1. ปัจจัยที่ทำให้เกิดการ disruption

======================

[คุณวรฉัตร]

– Disruption เกิดมาจากสองปัจจัย 1. เทคโนโลยี (technology) เปลี่ยน และ 2. พฤติกรรม (behavior) ของคนเปลี่ยน

– ตอน iPhone ออกมาในช่วงปี 2007-2008 มันเปลี่ยนพฤติกรรมคน ทำให้มาทำทุกอย่างอยู่บนมือถือมากขึ้น ทำให้เกิดธุรกิจ E-Commerce และหลายๆ อย่าง

– Smartphone หรือ tablet มันเปลี่ยนพฤติกรรมให้คนไม่มีความอดทนสูง ไม่อยากรอ อยากได้อะไรต้องได้ ทำให้เกิดธุรกิจ on-demand ขึ้นมากมาย เพราะคนไม่อยากรอ

– Grab, E-Commerce, Netflix, Disney+ ทั้งหมดเกิดขึ้นมาเพราะ พฤติกรรมของคนต้องการ on-demand จากที่เมื่อก่อนที่ต้องออกไปหา แต่ตอนนี้คืออยู่กับที่แล้ว service วิ่งเข้ามาหา

– ถ้าพฤติกรรมเปลี่ยนขนาดนี้ แล้วเราจะเปิดหน้าร้านแล้วรอคนเดินมาหาก็น่าจะยากขึ้น ถ้าเรามองย้อนกลับไปอย่างธุรกิจเช่าวิดีโอ ไม่ใช่แค่ธุรกิจร้านเช่าที่หายไป แต่คนผลิตวิดีโอ ผลิตซีดีก็หายไปด้วย แม้แต่ตามบ้านเดี๋ยวนี้ยังหาเครื่องเล่น VCD, DVD ยากแล้ว เดี๋ยวนี้ต่อ Wi-Fi เข้าอินเทอร์เน็ตทุกอย่างก็ทำได้หมด

 

======================

  1. การ disruption กับวงการการเงิน

======================

[คุณแซม]

– ถ้าย้อนกลับไป 5-6 ปีก่อน นวัตกรรมที่ใหม่ที่สุดคือ ตู้ ATM แล้วหลังจากนั้นมันก็ไม่มีอะไรพัฒนาขึ้นมาใหม่เลย mobile banking เขาก็บอกว่าไม่ใช่นวัตกรรม เป็นแค่ channel ใหม่ เราเลยมาสำรวจและค้นหาพบว่า ใน 5 ปีที่ผ่านมา มีอะไรเกิดขึ้นเยอะมาก

*1. การลงทุน

*2. การกู้ยืม (ต่างประเทศมี peer-to-peer lending, DeFi)

*3. การโอนเงิน (การใช้ blockchain เข้ามาช่วย, การโอนเงินอย่างรวดเร็วข้ามประเทศ)

*4. การชำระเงิน (เร็วขึ้น สะดวกขึ้น โอนฟรี จ่ายด้วย QR Code หรือเดินออกได้เลยแบบ Amazon Go)

– พวกนี้คือ การเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง  ธนาคารกลัวมาก แต่ละคนมาแย่งงานธนาคาร startup เก่งๆ มารวมตัวกันเป็น digital challenger bank หรือ neobank มาแข่งกับธนาคารโดยตรง มีครบทุกผลิตภัณฑ์ เริ่มจากในฝั่งอังกฤษ Monzo Bank, Starling Bank อเมริกามี Simple บราซิลมี Nubank ดิจิทัลแบงค์อันดับหนึ่งของโลกที่มี valutation พอๆ กับ Grab เหตุผลที่บราซิลยังเติบโตได้เยอะ เพราะยังมีประชากรที่เป็น unbank อยู่เยอะ

-อย่าง Grab, Shopee ก็ได้ license แบงค์ แล้วที่สิงคโปร์ คนที่เคยเป็น startup, fintech, e-commerce คนที่มี data ที่แบงค์ไม่เคยมี ก็เข้ามาแข่งขันโดยตรง วันนี้แบงค์ไม่ได้แข่งกับแค่ fintech หรือ startup แล้ว จริงๆ เรามองบริษัทพวกนี้ในไทยเป็น collaboration แต่วันนี้เราเห็นคู่แข่งใหม่ startup ที่รวมตัวกันกลายเป็น neobank ใช้ต้นทุนต่ำกว่า 5-10 เท่า เช่น Revolut ที่เพิ่ง raise fund ไป มีจำนวนลูกค้าพอๆ กับธนาคารกรุงศรี แต่เขาใช้พนักงานแค่ 2,000 คน ในขณะที่เราใช้ถึง 25,000 คน ต้นทุนของแบงค์อยู่ที่ประมาณ 60% ซึ่งต้นทุนใหญ่ก็คือคน สิ่งนี้สามารถทำให้ผู้เล่นใหม่ๆ สามารถทำกำไรได้อย่างมหาศาล

– นี่ยังไม่นับ Alipay, WeChat Pay ที่จีน หรือ KakaoBank ที่เกาหลี ที่เขาทำกำไรมานานแล้วเขามี data รวมถึงพวก cryptocurrency ที่เข้ามาทำให้ระบบชำระเงินเปลี่ยนไป, digital asset, NFT หรือการกู้ยืมเงินอย่าง DeFi (Decentralized Finance) ที่ไม่ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกันแล้ว ไม่ต้องมีแบงค์ที่เป็นตัวกลางหรือที่เป็นระบบ CeFi (Centralized Finance)

[คุณชลเดช]

– Fintech disruption การ inclusion การเข้าถึงการบริการทางการเงิน การลงทุน ไม่ว่าจะเป็น lending, insurance หรือ investment ที่ผมทำกับเพื่อนๆ ทำ ลงทุนได้ตั้งแต่ 5-10 บาท ช่วยให้คนสามารถลงทุนได้เพิ่มขึ้น

– Funding ก็เริ่มมีบทบาททั้งหุ้นกู้ SME, Startup กู้ทั่วไปอาจจะลำบาก ต้องมี statement มีหลักทรัพย์คำ้ประกัน หุ้นกู้โดย crowdfunding เริ่มเยอะขึ้น หรือเป็น equity crowdfunding ขายหุ้นทั่วไปแล้วต่อยอดจากหุ้นกู้

– Blockchain, DeFi ก็เป็นเทรนที่จะมาในอนาคต

 

======================

  1. Grab ในสิงคโปร์ได้ digital bank license ไปแล้ว Grab Thailand จะเป็นยังไงบ้าง มีแนวโน้มที่จะทำบ้างไหม

======================

[คุณวรฉัตร]

– ถ้าในส่วนของ Grab ในไทย ตอนนี้เรายังไม่มีแนวโน้มมาก เพราะพื้นฐานของธุรกิจเราคือการ move ของจากจุด a ไปจุด b ซึ่ง transport ก็คือคน แล้วก็มี food delivery แล้วก็เริ่มขยายไป grocery ตอนนี้ก็มีของทั่วไป พวกของใช้ในบ้านด้วย กลายเป็นว่ามีร้านค้าทั่วไปที่มา on board แล้วลูกค้าก็มาเลือกซื้อได้ มีวิธีคิดแบบเดียวกันคือ ของที่สั่งซื้อก็คือร้านที่อยู่ในระแวกบ้าน

– คนต้องการ on-demand+ขี้เกียจ+โควิด ไม่อยากออกจากบ้าน สมมุติทุกวันนี้เราขายอุปกรณ์ตกแต่งบ้าน ถ้าเราเปิดหน้าร้านอยู่อย่างเดียว อาจจะไม่มีใครซื้อ เพราะถ้าคนจะออกไปซื้ออาจจะไปห้างใหญ่ไปเลย แต่ถ้าคุณปรับมาอยู่บน platform ก็สามารถปรับตัวได้ เราเห็นว่า behavior คนมันเปลี่ยน เราก็ต้องปรับให้เข้ากับเขา

– โดย fundamental ไม่ได้มองว่า financial ในไทยของเราจะ make money เราทำระบบ payment เพราะมันเป็น flow ที่สำคัญมาก ทำไมเราต้อง build payment ถ้าลูกค้าจ่ายเงินสด flow การส่งอาหารก็จะช้า คนขับต้องไปกดเงิน ทอนเงิน แต่พอเรา drive เรื่องของ cashless มันก็ทำให้เกิด efficiency พอลูกค้าสั่ง เราก็ยิงออเดอร์ไปหาร้านค้ากับคนขับพร้อมกัน ทำเสร็จแล้วก็วางไว้ มอเตอร์ไซต์ไปรับ ก็ไม่ต้องกังวลเรื่องราคาเอาไปได้เลย ลูกค้าก็แฮปปี้ efficiency  ก็ดีขึ้น ลูกค้าที่ใช้ cashless ก็จะมีความพึงพอใจที่สูงกว่ามาก เพราะมันเร็ว

– เราก็เริ่มขยาย ตอนนี้เราก็เริ่มทำสินเชื่อ จุดเริ่มต้นอันแรกคือสินเชื่อ Smartphone บางตัวก็ทำร่วมกับกรุงศรี เพราะคนขับ Grab ก็ต้องใช้มือถือกันทุกคน ต้องเป็นมือถือที่ดี GPS แม่น segment ของคนขับ Grab จำนวนมากเขาไม่สามารถเข้าถึงการยืมเงินแบบพวกบัตรเครดิต อยากจะผ่อนสินค้า 0% ก็ไม่สามารถทำได้ เราทำเพื่อที่จะได้ช่วยเขา ออกโปรแกรมผ่อนมือถือ 0% ให้กับคนขับ เราไม่ได้เอาผลกำไรอะไร เราก็ไปดีลกับค่ายมือถือ ไปหารุ่นที่มันดีๆ อย่างแบรด์  Samsung หรือหลังๆ ก็ขยายมีแบรนด์อื่น เอามาให้เขาเลือกใช้และผ่อนกับเราได้

– ที่มันเจ๋งกว่าทั่วไป เพราะปกติมันต้องผ่อนเป็นรายเดือน แต่เราให้คืนได้แบบเป็นรายวันเลย คุณก็เอาโทรศัพท์ไปใช้ทำงาน อันนั้นเป็นจุดเริ่มต้นของการทำสินเชื่อ ทั้งผ่อนรายวัน ทั้งไม่มีดอกเบี้ย มันไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ที่เราทำขึ้นมาเพื่อทำกำไรอยู่แล้ว

– จนเราขยายมาสินเชื่อเงินสด เพราะคนขับเขามีปัญหาหนี้นอกระบบเยอะ คือเขาไม่สามารถเข้ามาในระบบได้ เราก็เลยต้องมา disrupt flow ถ้าไม่มีใครให้บริการเขา มันก็จะเป็หนี้ไปเรื่อยๆ ประเด็นคือถ้าเขามีปัญหาชีวิตเขาก็จะไม่สามารถทำงานได้อย่างมีความสุข ประสบการณ์ที่เขาจะให้ลูกค้าก็จะไม่ดี เราเลยแก้ด้วยการออกสินเชื่อเงินสด ให้เขาเอาไปปิดหนี้นอกระบบ แล้วเอามาจ่ายกับ Grab เป็นรายวัน ดอกเบี้ยเราก็ถูกมากๆ เพราะเราลดต้นลดดอกแบบรายวัน จะทำให้มันถูกกว่ารายเดือน 20-25%

– Fintech มัน disrupt เพราะมันมีปัญหาแบบนี้แล้วไม่มีคนแก้ พอแก้แล้วก็จะไป disrupt ระบบเดิม ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ดี พอเราเริ่มทำ payment ให้สะดวก lending เพื่อแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ พอคุณไม่มีหนี้แล้วคุณก็ควรมีหลักประกัน ประกันหรือลงทุน Grab ก็ให้บริการ ประกัน แต่อาจจะไม่เหมือนประกันทั่วไป เพราะเราเห็นว่ามันไม่เหมาะกับเขา อนาคตก็จะมีทำลงทุนหรือจริงๆ คือ อยากให้เขาออมเงินมากกว่า

– สิงคโปร์เราได้ license ธนาคารไปแล้ว เดี๋ยวก็คงจะ launch digital bank ล่าสุดเพิ่งได้ที่มาเลเซีย เราก็จะ launch โดยจริงๆ แล้ว context แต่ละที่มันต่างกัน อย่างสิงคโปร์ มาเลเซีย regulation มันไม่เหมือนกัน เขามีแต่ license เป็นหลักแบบใหญ่ๆ เลย ถ้าไม่ใช่ธนาคารก็ทำไม่ได้ แต่ประเทศไทยเรามี licnese ย่อยกว่า แยกเป็น license payment, license แต่ละประเภท เราสามารถขอแยกได้ แล้ว regulation ก็ทำตามนั้น เราก็เลยคิดว่าในไทยก็คงยังจะไม่ทำเป็นแบงค์ ถือว่าประเทศไทยมี regulation ที่ดีในเรื่องนี้

 

======================

  1. คิดว่าในอีก 5-10 ปี digital disruption เราจะได้เห็นอะไร

======================

[คุณแซม]

—————————————

*1. AI (Artificial Intelligence)

—————————————

– โลกของ AI มาแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นวงการธนาคารหรือ corporate พูดถึง AI มาสักพักแล้ว แต่มันเริ่มเป็นจริงมากขึ้นเรื่อยๆ ทุกคนรู้ว่ารายได้ในประเทศของเราจะเพิ่มขึ้นมากกว่านี้ยากมาก เพราะมันถูกจำกัดด้วยจำนวนประชากร เว้นแต่จะไปต่างประเทศ สิ่งที่ดีที่สุดคือ การควบคุมค่าใช้จ่าย จะเพิ่มลูกค้าอย่างไร โดยไม่ต้องเพิ่มจำนวนพนักงาน เพิ่มอัตราพนักงานต่อลูกค้า สิ่งที่จะมาช่วยคือ AI ที่กรุงศรีเรามีใช้ทั้ง Voice และ Non-voice chatbot อนาคตในการโทรทวงถามหนี้ เราก็จะใช้ AI เข้าไปโทร ซึ่งจะเป็น AI ที่รู้จังหวะ รู้เวลาที่ถูกต้องที่ควรโทรไป โทรให้ได้เสมือนเป็นคน ตอนนี้มันเริ่มแล้ว

– งานที่ง่ายๆ ให้ AI ทำ งานที่ยากๆ ยังไงก็ยังต้องให้คนทำต่อไป แบบนี้คนก็จะแฮปปี้ขึ้น ถ้าให้คนตอบแต่คำถามเดิมๆ ซ้ำๆ บางทีคนก็จะรู้สึกเบื่อ รู้สึกว่าไม่ได้ทำอะไรที่มันท้าทาย หลายๆ อย่างก็ยังคงต้องใช้คนอยู่ แต่จะ leverage AI ยังไงให้ได้มากที่สุด ใช้คนน้อยที่สุด ให้คนไปแก้ปัญหายากๆ แทน

– AI ของเราตอนนี้ใช้มา 2-3 ปีแล้ว ยังนับว่าเป็นระดับอนุบาล แต่ต่อไปอีก 2-3 ปีมันก็จะฉลาดขึ้น เป็น Machine Learning ก็ต้องเรียนเหมือนนักเรียน มันจะกลายเป็นตัวที่เข้ามาช่วยลด cost อย่างแท้จริง call center หลักหลายร้อย ต่อไปก็ไม่ต้องเพิ่มคนหรืออาจะลดคนได้ ทั้งๆ ที่ลูกค้าเพิ่มขึ้น ผมสนับสนุนทุกที่ว่าต้องเริ่มใช้ AI อย่างจริงจังและชัดเจน ต่อยอดจากพวก self-service ขึ้นไป

[คุณชลเดช]

– พูดถึงการใช้ AI ที่คนชอบนึกว่าจะมา disrupt คน จะขอบอกว่าจริงๆ แล้วมันจะมา disrupt เฉพาะคนที่ทำงานเดิมๆ ซ้ำๆ เท่านั้น ซึ่งจริงๆ คนเราควรจะไปทำงานที่มีความท้าทาย ทำให้มีความสุขมากกว่านั้น แต่ก็ยังมีหลายงานที่ยังต้องใช้คน เปรียบเสมือนเครื่องบิน ถ้าเรามี AI ที่ไปขับเครื่องบินให้ กับนักบินขับให้ คนก็ยังเลือกให้นักบินขับอยู่ หลายๆ อย่าง เรื่องการลงทุน สุขภาพ ไม่ต้องกลัวว่า AI จะมาแย่งงาน AI มาอยู่แล้ว คนจะต้องเรียนรู้ที่จะให้ AI มาช่วยให้เราเก่งขึ้น

[คุณแซม]

– ตอนเราทำ AI สมัยแรกๆ คนกลัวมากว่าจะแทนที่คน แต่พอเราพัฒนาไปเรื่อยๆ พนักงานก็แฮปปี้มากกว่า พนักงาน call center, collection เขายิ่งสนับสนุน ทำให้เขามีชีวิตที่ดีขึ้น คำถามง่ายๆ ก็หายไป AI ช่วยตอบ หลายคนได้ upskill reskill ขึ้นมาจากตอบคำถามเป็น bot trainer พวกเขาได้กลายเป็น change agent ในองค์กร หลายๆ คนเคยอยู่ operation เดี๋ยวนี้ทำงานเรื่อง AI รู้สึกมีคุณค่าทำให้การเปลี่ยนแปลง ผมชื่นชม เพราะปกติคนที่จะได้รับการ endose มักจะเป็นคนหน้าบ้าน innovation, business ทุกวันนี้เราต้องยกให้ operation ซึ่งปกติเหมือนเป็นคนปิดทองหลังพระ เป็นคนที่ทำจริง upskill ขึ้นมาเองในตอนนี้

—————————————

*2. วงการการเงิน

—————————————

– ทุกคนก็พูดกันว่า ธนาคาร (bank) ไม่จำเป็นแล้ว แต่ระบบ (banking) ยังจำเป็นอยู่ เพราะฉะนั้นแบงค์ก็ต้องปรับตัว แบงค์ไม่ได้เป็นแค่แบงค์อีกต่อไป แต่ต้องทำตัวเองให้เป็น Banking as a Service (BAS) หรือ Lending as a Service อย่างวันนี้กรุงศรีเราก็จับมือร่วมกันกับ Grab ปล่อยกู้ให้คนขับ ให้ลูกค้า โดยเราไม่ต้องออกหน้าแล้ว แต่เราเป็น engine ข้างหลัง ด้วยประสบการณ์ที่เราปล่อยกู้มานาน ผสมกับข้อมูลลูกค้าที่เรามี ก็จะสามารถช่วยเหลือได้

– หรือยกตัวอย่างเช่น LINE BK คือ LINE + KBank อันนี้ก็จะสามารถช่วยกันปล่อยกู้ให้กลุ่มลูกค้า LINE ได้

– อีกหน่อยไม่ต้องบอกแล้วว่าเป็นแบงค์ แต่เป็น Grab, Central, Shopee หรืออื่นๆ อยู่ข้างหน้าแทน แล้วการทำธุรกรรมการเงินจะเป็นของแบงค์กรุงศรี กรุงไทย ไทยพาณิชย์ หรือกสิกรไทย ช่วยทำอยู่ข้างหลัง ต่อไปอยากมีบัญชีสะสมทรัพย์ กองทุน โอนเงิน ข้างหน้าเป็น Grab ข้างหลังเป็นแบงค์ แบงค์จะต้องปรับตัวจริงจังเพราะเริ่มอยู่ลำบากแล้ว

[คุณชลเดช]

– หลายๆ ธนาคารในไทยก็ถือว่าทำได้ดี เช่นการทำ mobile banking ส่วนนึงมาจากการใช้งานที่ง่าย และการยกเลิกค่าธรรมเนียมการโอน เมื่อ 2-3 ปีก่อน

—————————————

*3. BMI (Brain Machine Interface)

—————————————

[คุณชลเดช]

– Neuralink ของ Elon musk ที่มีการให้ลิงเล่นเกมโดยไม่ใช้ joystick แต่ใช้สมองในการควบคุม เป็นการฝังชิปเข้าไปในสมองลิง โดยใช้ BMI (Brain Machine Interface) ในเว็บพูดว่าในอนาคตสามารถเอาอุปกรณ์นี้มาใช้กับผู้ที่ปัญหาเกี่ยวกับสมอง หรือผู้เป็นอัมพาต ให้สามารถบังคับเครื่องจักรกล หรืออวัยวะเทียมได้

– อีก 10 ปี ถ้ามันปลอดภัยหรือแพร่หลาย ก็เป็นไปได้ที่จะมาฝังในสมองพวกเรา สมองเชื่อมกับโลกออนไลน์ได้ เราอาจจะไม่ต้องใช้นิ้วจิ้มสั่งของแล้ว แค่คิดแล้วมันก็โผล่ขึ้นมาเลย เป็น disruption wave ถัดไป แต่ไม่แน่ใจว่าจะมาทันภายใน 10 ปีนี้ไหม

—————————————

*4. Blockchain

—————————————

[คุณชลเดช]

– อยากให้มองในมุมกว้างกว่า digital asset หรือ cryptocurrency อาจจะเอามาใช้เป็น medical record ทะเบียนรถยนต์ ทะเบียนสมรส โฉลดที่ดิน หรือใช้เลือกตั้ง ก็เป็นได้

– อยากให้ลองหาข้อมูล ลองศึกษาเรื่องพวกนี้ดู พอเทรนมันมาจริงๆ เราจะได้ใช้ประโยชน์จากตรงนั้น

 

======================

  1. คำแนะนำสำหรับการปรับตัว

======================

[คุณวรฉัตร]

– นอกจากพวกเทคโนโลยี อยากให้ลองตั้งคำถามง่ายๆ เช่นลองสังเกตพฤติกรรมของลูกเรา สมมุติตอนนี้อายุ 7 ขวบ อีก 10 ปี เขาจะอายุ 17 กลายเป็น consumer หลัก อยากให้ดูว่า behavior ของพวกเขามันจะเปลี่ยนไปยังไงบ้าง แล้ว reflect มาที่บริษัทของเรา จะทำให้เรากลับมาตอบโจทย์หลักของเราได้ว่าเราจะปรับธุรกิจของเรายังไง เพราะไม่ใช่ทุกธุรกิจที่จะใช้แต่ Blockchain, AI สุดท้ายธุรกิจมันต้องขับเคลื่อนด้วยบริการ หรือการ trading ซึ่งเป็นหัวใจหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วย

– เปรียบเทียบเหมือนร้านเช่าวิดีโอ ให้ลองคิดดูว่าอีกสิบปีข้างหน้า เขาจะใช้บริการที่เราขายอยู่วันนี้ไหม ถ้าไม่ เราต้องเริ่มคิดล่วงหน้าแล้ว 3-5 ปีเราจะทำอะไรเพิ่มได้บ้าง ต้อง diversify ธุรกิจให้มากขึ้น

– ขนาดลูกผมยังถามว่า ทำไมเวลาดูหนังจะดูตอนไหนก็ได้ แต่เวลาตอนเรียนต้องตื่นมาเรียนตอน 7 โมงเช้าเท่านั้น? ทำไมชอบศิลปะมากกว่าเลข แต่ต้องใช้เวลาเรียนเท่ากัน แปลว่าเด็กกำลังต้องการ on-demand education ผมเชื่อมากๆ เลยทุกอย่างจะเป็น on-demand ไปหมดในอนาคต ไม่เหมือนรุ่นเรา ยังมีครึ่งๆ บางอันยัง on-demand บางอันเป็น traditional แต่กับเด็กยุคใหม่ เขาไม่รอแล้ว ทุกอย่างเป็น on-demand มีความเป็น independent มากขึ้น กล้าคิด กล้าถาม ถ้าตอบไม่ได้ เขายิ่งสงสัย challenge norm challenge ธุรกิจเดิมๆ คนที่ไม่ได้อยู่ในสาย tech จะต้องเริ่มตั้งคำถามกับสิ่งพวกนี้

[คุณแซม]

– อยากให้ลองถามลูกค้า ถาม prospect ของเรา ทำ user experience จะได้ไอเดียอะไรใหม่ๆ เจอโปรดักใหม่ๆ ที่คิดว่าควรต้องทำ ถามตัวเอง ถามคนข้างนอก แล้วเก็บคำถามพวกนี้เข้ามาหาคำตอบ

[คุณชลเดช]

– หนังสือเรื่อง The Innovator’s DNA บอกลักษณะของคนที่เป็น innovator ไว้

*1. Questioning: ถามเยอะๆ วันนึงเราถามหรือตอบเยอะกว่า ผมเชื่อว่าถ้าเราตั้งคำถามเยอะๆ มันจะดีกว่ามัวแต่มาหาคำตอบ

*2. Observing: รู้จักสังเกต pain point

*3. Networking: เอาสิ่งที่เราสังเกตหรือตั้งคำถาม มาถามกับผู้คน ก็จะได้ไอเดียใหม่ๆ

*4. Experimenting ต้องลองลงมือทำ

 

======================

  1. ช่วง Q&A

======================

Q1: คิดว่า autonomous driver จะมาไหม ทาง Grab มีแผนที่จะนำมาใช้ในไทยไหม

 

[คุณวรฉัตร]

– ผมว่ามันยังไม่มาขนาดนั้น ทั้งสองปัจจัยจาก tech หรือ behavior

– ตอนนี้ถ้าจะ disrupt แล้วต้องไม่มีคนขับเลย เทคโนโลยีต้อง advance มาก แต่ผมไม่คิดว่าสามารถเป็นไปได้ใน 10 ปี คิดว่ายังค่อนข้างไกลมาก คนขับอัตโนมัติยังเป็นแค่ experiment หรือ PR มากกว่า

– ธุรกิจ sharing ของ Grab สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้าง network ของสังคม ผมไม่คิดว่าเราทำ sharing economy แล้วอยู่ดีๆ จะไม่ต้องการ stakeholder ที่เป็นคนขับในระบบแล้ว ผมว่ามันดูเป็นหุ่นยนต์ไปนิดนึง เรื่องแบบนี้ต้องมีมุมในการพึ่งพากันด้วย ในระยะเวลาสั้น ไม่ได้อยู่ในหัวคิดเลย

– สิ่งที่น่าจะเห็นมากกว่าคิดว่าน่าจะเป็น

*1. รถที่จะเปลี่ยนเป็นรถไฟฟ้า

*2. ในระยะทางที่สั้น อาจจะเปลี่ยนจากมอเตอร์ไซต์มาเป็นการส่งในรูปแบบอื่น เช่น สกู๊ตเตอร์ไฟฟ้า แต่ถ้าจะเป็นโดรนเลยคิดว่าน่าจะยาก เพราะวันนึงมีออเดอร์เยอะมากๆ ถ้าใช้โดรนจริงๆ คงเต็มท้องฟ้า เยอะไปหมด

*3. ถ้าในมุมของ food delivery ก็จะมี dark kitchen หรือ dark store เหมือนที่ Grab ทำ Grab Kitchen คือไม่ต้องมีโต๊ะ ไม่ต้องมีหน้าร้าน ร้านมาแต่ตัวกับสูตรเราทำให้หมดเลย อันนี้เป็นมุมหนึ่งที่น่าจะได้เห็นมากขึ้นเรื่อยๆ หลายๆ ร้านก็มาอยู่ที่เดียวกัน มอเตอร์ไซต์ก็วิ่งรอบเดียวได้หลายร้าน

—————————————

Q2: Skillset ที่ควรมีสำหรับในอนาคต

—————————————

[คุณวรฉัตร]

– คิดว่าส่วนใหญ่จะเป็น soft skill คือ

*1. สกิลการ manage คน, การ negotiation

*2. สกิลในการ presentation

– สิ่งนี้เป็นหัวใจมาก คือเรามี data มากมายมหาศาลแต่เราสามารถ present มันออกมาได้ไหม เราสามารถนำเสนอออกไปแล้วเปลี่ยนเป็น business ได้ไหม พวกนี้ไม่ใช่สกิลที่สอนอยู่ในโรงเรียน หรือเราสามารถ google หาได้ ต้องเกิดจากการเรียนรู้และปรับไปเรื่อยๆ

*3. สกิลในการ connect the dot

– วันนี้เรามีข้อมูลอยู่มากมาย โดยเฉพาะคนที่อยู่ใน middle หรือ high level ขององค์กร เราจะรับรู้ข้อมูลจาก partner จากคนในองค์กร การเอาข้อมูลพวกนี้มา connect กันในหัว และ optimize ให้เหมาะสม เป็นสกิลที่สำคัญมาก บางทีเราเห็น data แบบนี้ทุกวัน ต้องสามารถวิเคราะห์ได้ว่าสถานการณ์แบบนี้ partner เป็นแบบนี้ เราจะทำอะไรดี ผมว่าสกิลแบบนี้มันเป็นศิลป์มากกว่าวิทย์

—————————————

Q3: ในอนาคตธุรกิจประกัน คนกลางจะหายไปไหม

—————————————

[คุณแซม]

– ถ้าเป็น Non-life Insurance น่าจะหายไปได้เรื่อยๆ เห็นเทรนการปรับไปเป็นออนไลน์ จากการที่เราก็เห็นว่าประกันก็มาขายออนไลน์มากขึ้น แต่ถ้าเป็น Health/Life Insurance ยังไง Digital ก็ไม่น่าจะเข้ามาทดแทนได้หมด แต่อาจจะแค่มาช่วยทำยังไงให้สมัครได้ง่ายขึ้น ไม่ต้องใช้เอกสาร ไม่ต้องเซ็น ทำให้ผู้ขายขายง่ายขึ้น Health/Life Insurance ต้องการใช้คำอธิบาย ราคาก็ไม่ใช่ถูกๆ หลักหมื่นถึงแสน เห็นมีหลายคนก็พยายามแต่ก็ยังไม่เคยเห็นแบบที่ทดแทนได้

[Guest 1]

– เราพบว่าประกันชีวิต การจะทำให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อเองแถบจะเป็นไปไม่ได้ การ make decision ร้อยละ 99 ต้องมีตัวกลางเข้าไป convince ทุกวันนี้ก็มีพยายามการสร้าง digital disruption

– การซื้อประกันคือ การซื้อความเชื่อถือ ความมั่นใจในตัวคนที่เข้ามา สุดท้ายคนที่สามารถอธิบายหรือเอา fact ต่างๆ มาพูดให้ผู้เอาประกันเข้าใจ ถ้าเป็นประกันรถยนต์อาจจะไม่เป็นไร เทียบราคาเอาได้ คล้ายๆ กัน บริษัทประกันก็พยายามสร้างช่องทาง digital แต่สุดท้ายประกันหรือลงทุนก็ต้องการ knowledge และ experience ค่อนข้างสูง สุดท้ายก็ต้องหาคนมาช่วย

[Guest 2]

– Non-life เป็น instant product แต่ Life ค่อนข้างแตกต่าง หน้าที่ตัวแทนประกันหรือแบงค์ มองแล้วอาจจะเหมือน relationship manager ลูกค้ามีปัญหาอะไรก็จะโทรหาตัวแทนก่อน

– การเอาเทคโนโลยีเข้ามา เพื่อมาเสริมมากกว่าให้ตัวแทน free up เวลาของตัวเองที่ต้องทำเอกสารออกไปให้หมด เพื่อให้เอาเวลาไปโฟกัส on relationship กับลูกค้า

 

======================

Moderator:

[@chonladet] คุณชลเดช Chonladet Khemarattana

– President of Thai Fintech Association

– Group CEO of Robowealth

======================

Speaker:

[@worachat] คุณวรฉัตร Worachat Luxkanalode

– Executive Director, Grab Thailand

– Country Head of Grab Financial Group, Thailand

[@samtanskul] คุณแซม Sam Tanskul

– Managing Director, Krungsri Finnovate

– Head of Innovation & Fintech, Krungsri

======================

สรุปโดย P Panit (เพจ วันนี้สรุป..มา)

Date: 15 July 2021 (20:00-21:30)

#ClubhouseTH #DigitalDisruption #ThaiFintechAssociation #Robowealth #Grab #Krungsri #DTX #todayinotetotext #todayinoteto #วันนี้สรุปมา

Related Posts

  • TFA Masters Golf Tournament 2024 งานพบปะผู้ประกอบการฟินเทคและสถาบันการเงิน
  • “FinTech x Climate Tech” งานพบปะที่รวบรวมผู้ประกอบการ FinTech และ Climate Tech ของประเทศไทย
  • งาน “Triam Talk : FINTECH แบบไหนจะโตไว หรือร่วงโรย” กับแขกรับเชิญระดับแนวหน้าของประเทศที่มาแชร์ข้อมูลธุรกิจฟินเทค
bt_bb_section_bottom_right_section_coverage_image

Contact Us

Address

439B-1 Siam Paragon Shopping Mall, 4th Floor, Rama 1 Road, Pathumwan, Pathumwan, Bangkok, Thailand 10330

The information contained in this website is provided for informational purposes only and on an “as is” basis, without representation or warranty of any kind. Thai Fintech Association does not guarantee whether the information is correct or up-to-date.   no event shall Thai Fintech Association be liable to you or any person for any loss of business or profits, or for any indirect, incidental or consequential damages arising out of any use of, or inability to use, or for any other claim by you or any other person.

© Copyrights 2021 - All Rights Reserved - Thai Fintech Association