ปรากฏการณ์ฟินเทค แนวทางไฮเทคของธนาคารไทย

11 August 2017
Share

ในยุค Thailand 4.0 นี้ ปฏิเสธไม่ได้ว่าเรื่องเทคโนโลยีเป็นสิ่งสำคัญในการใช้ชีวิตของคนไทยในปัจจุบัน สังเกตได้จากการใช้เทคโนโลยี ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ส่งผลโดยตรงกับการเลือกใช้บริการต่าง ๆ เพราะคนที่มีพฤติกรรมดังกล่าวจะเน้นความสะดวก ความรวดเร็ว ความง่ายในการใช้บริการ ทั้งนี้อาจหมายถึงว่าองค์กรหรือผู้ให้บริการต้องมีการพัฒนาด้านบริการให้เข้ากับลูกค้า เพื่อให้ลูกค้ารู้สึกได้รับความสำคัญจากองค์กร และการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมนี้ เกิดจาก 3 องค์ประกอบดังนี้

  1. การเติบโตของมือถือ
    ในประเทศไทยตลาดมือถือ ถือได้ว่าเป็นตลาดที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง การขยายตัวของมือถือมีมากกว่า 3.3 พันล้านเครื่องในเอเชีย ถ้าคิดเป็นต่อประชากรแล้ว หมายความว่าทุก ๆ 1 คนจะมีมือถือ 1 เครื่อง และในปี 2019 อัตราการขยายตัวของมือถือจะขึ้นไปอยู่ที่ 4.3 พันล้านเครื่อง หรือ 117 เครื่องต่อประชากร 100 คน ซึ่งทาให้อัตราการเติบโตของ Mobile internet สูงขึ้นอย่างมาก โดยใช้ระยะเวลาเพียง 1-2 ปีเท่านั้น และด้วยเทคโนโลยีทางมือถือที่มีแอพพิเคชั่นเข้ามาให้ความสะดวก ทำให้ผู้ประกอบการต้องปรับเปลี่ยนตามการเติบโตทางด้านเทคโนโลยี
  1. การเติบโตของโซเชียลมีเดีย
    ด้วยการขยายตลาดของมือถือที่รวดเร็ว นั้นก็หมายถึงว่าโซเชียลมีเดียก็เติบโตควบคู่ไปกับมือถือ การใช้บริการ Social Media จึงเพิ่มขึ้นเช่นกัน ทาให้ประชากรคนเอเชียกว่า 1 พันล้านคนเป็น Active users ใน Social Media โดย Facebook ระบุว่าตลาดเอเชียโตกว่า 50% ในปี 2014 และถือว่าเป็นตลาดที่โตเร็วที่สุด ในไตรมาสแรกปี 2015 โดย Facebook ระบุว่ามี Active User ในเอเชียกว่า 451 ล้านคน ซึ่งตัวเลขนี้ยังไม่รวมประเทศจีน ซึ่งประเทศจีนนั้นมี Social media ของตัวเองอย่าง Weibo เข้าถึงคนกว่า 198 ล้านคน (เดือนมีนาคม 2015) เติบโตขึ้น 38% จากปีที่แล้ว และ 86% ของผู้ใช้ Weibo ใช้จากมือถือ สิ่งสำคัญคือ Social Media หรือ Social Network ก็เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือในการให้บริการด้านข้อมูล การแลกเปลี่ยน การซื้อขายสินค้าได้
  1. การเติบโตของ Online Commerce
    พบว่า ในเอเชียมีอัตราการเติบโตสูงมากเมื่อเทียบกับอเมริกา ทำให้ตลาด e-Commerce เอเชียกลายเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดในโลกตอนนี้ โดยในประเทศจีนนั้นการขายของห้างต่าง ๆ เกิดขึ้น 8% ในโลกออนไลน์ และคาดการณ์ว่าปี 2018 จะเติบโตสูงกว่า 16% ซึ่งสอดคล้องกับทิศทางการเติบโตภายในเอเชียเช่นกัน สิ่งที่เกิดขึ้นคือการซื้อขายนั้นไม่ได้เกิดขึ้นในโลกออนไลน์ แต่เกิดขึ้นในโลกของ Mobile ด้วย นอกจากนี้การเติบโตของ Mobile Payment จะกลายเป็นเรื่องสำคัญใน e-Commerce Ecosystem และจะพัฒนาร่วมกับ Social Network ต่าง ๆ กลายเป็น s-Commerce มากขึ้น เช่น โปรแกรมแชทที่กลายเป็นช่องทางการติดต่อซื้อขาย และใช้ช่องทาง Mobile Payment ในการชำระสินค้า โดยที่ตัวผู้ขายเองไม่ได้มีหน้าร้าน

การมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามา ทำให้ทั้งตัวลูกค้าและผู้ประกอบได้ประโยชน์ซึ่งกันและกัน เพราะสามารถลดการใช้เวลาในการซื้อขาย ทั้งอำนวยความสะดวก และสามารถรับรู้ข้อมูลอีกฝ่ายได้แบบเรียลไทม์ ไม่ว่าจะเป็นการแชทด้วยข้อความ พูดคุย ส่งไฟล์เสียง และวีดีโอคอล เหล่านี้เป็นเครื่องมือการให้บริการที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขาย ซึ่งเมื่อมีการเลือกซื้อสินค้าต่าง ๆ จากผู้บริโภค การชำระค่าบริการต่าง ๆ ก็ต้องทำได้ง่าย และมีความปลอดภัยสูง ซึ่งสถาบันการเงินต้องมีการปรับตัวทางด้านเทคโนโลยีให้ทันสมัย จึงทำให้ฟินเทคเข้ามามีบทบาทกับอุตสาหกรรมธนาคาร

 

 

ฟินเทค เป็นนวัตกรรมที่เข้ามาพัฒนายุค Thailand 4.0 เป็นการขับเคลื่อนแวดวงการเงิน และพัฒนาเศรษฐกิจ อันเป็นกลไลสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศในด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการทางการเงิน ซึ่งนวัตกรรมฟินเทคตอบสนองวัตถุประสงค์ทั้ง 6 ประการ ดังนี้

  1. เพิ่มประสิทธิภาพโครงสร้างพื้นฐาน
    โดยการใช้การตลาดรูปแบบใหม่ที่สะดวกและง่ายขึ้น เช่น การโอนเงินระหว่างกันโดยตัดตัวกลาง (Peer-to-Peer Transfers) และการใช้จ่ายผ่านโทรศัพท์มือถือ (Mobile Money) ก็เป็นนวัตกรรมที่เปลี่ยนแปลงวิธีการโอนเงิน และโอนสินทรัพย์ต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลที่สูงขึ้น และต้นทุนการทำธุรกรรมที่ต่ำกว่าโครงสร้างพื้นฐานแบบเดิม
  1. การเพิ่มประสิทธิภาพกิจกรรมมูลค่าสูงด้วยระบบอัตโนมัติ
    การวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูง ซึ่งระบบประมวลผลคอมพิวเตอร์ ระบบประมวลผลแบบกลุ่ม Cloud Computing และการแบ่งปันสมรรถภาพระหว่างองค์กร เป็นกลุ่มนวัตกรรมที่จะเข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานแก่ธุรกิจ นอกจากนี้ระบบการให้คำแนะนำและการบริหารความมั่งคั่งแบบอัตโนมัติ (Automated Advice and Wealth Management) และการส่งคำสั่งซื้อขายอัตโนมัติ สำหรับนักลงทุนรายย่อย (Retail Algorithmic Trading) เป็นนวัตกรรมที่ช่วยยกระดับความสามารถของนักลงทุน
  1. การตัดตัวกลางทางการเงิน
    การแข่งขันผู้ให้บริการนวัตกรรมทางการเงินมักดึงดูดผู้ใช้บริการด้วยค่าบริการที่ถูกลง และการสร้างผลตอบแทนที่สูงขึ้น จึงทำให้เกิดการตัดตัวกลางทางการเงิน ซึ่งเป็นเงื่อนไขหลักที่ผู้ประกอบการใช้ลดต้นทุนของธุรกรรม โดยมีช่องทางการชำระเงินรูปแบบใหม่ ทั้ง 3 รูปแบบ ได้แก่ สกุลเงินดิจิทัล (Cryptocurrency) การโอนเงินระหว่างกันโดยตัดตัวกลาง (Peer-to-Peer Transfers) และการใช้จ่ายผ่านโทรศัพท์มือถือ (Mobile Money) คือตัวอย่างที่ชัดเจนของการตัดตัวกลางทางการเงิน ออกจากระบบชำระเงิน ซึ่งเป็นโครงสร้างสำคัญของระบบเศรษฐกิจ นอกจากนี้นวัตกรรมการกระชับกระบวนการ (Lean Processes) และการกู้ยืมระหว่างกันโดยตรงระหว่างผู้กู้และผู้ให้กู้ (Peer-to-Peer Lending) ก็เป็นบริการที่เปลี่ยนแปลงกระบวนการประเมิน และอนุมัติสินเชื่อ ซึ่งส่งผลกระทบต่อรายได้หลักของสถาบันการเงินในปัจจุบัน
  1. การสร้างข้อมูลเพิ่มจากรากฐานข้อมูลขนาดใหญ่
    ข้อมูลด้าน Machine Accessible Data ข้อมูลปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence / Machine Learning) และระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เป็นนวัตกรรมที่ช่วยขยายรายละเอียดของข้อมูล ทั้งปริมาณและคุณภาพ ซึ่งทำให้ประสิทธิภาพการเข้าถึงโอกาสการลงทุนสูงขึ้น ทั้งยังมีกลุ่มข้อมูลใหม่ คือ ข้อมูลทางสังคม (Social Data) ที่มีประโยชน์ต่อการทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย เพื่อนำเสนอบริการที่ตอบสนองความต้องการได้ดีขึ้น นอกจากนี้การจัดเก็บและพัฒนาฐานข้อมูล อีกทั้งได้รับประโยชน์จากนวัตกรรมอุปกรณ์แบบสวมใส่ (Wearable Devices) ระบบเซ็นเซอร์ที่ดีขึ้นและราคาถูกลง (Smarter and Cheaper Sensors) เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตที่สามารถเชื่อมโยงการทำงานกับอุปกรณ์ชนิดต่าง ๆ (Internet of Things)
  1. การนำเสนอสินค้าและบริการเฉพาะกลุ่ม
    เทคโนโลยีทำให้ต้นทุนการพัฒนาสินค้าและบริการต่ำลง ผู้ประกอบการจึงมีโอกาสสร้างธุรกิจ จากช่องว่างทางการตลาด อาจเป็นเพราะกลุ่มเป้าหมายน้อยเกินไปและมีโอกาสน้อยในการหากำไร ทำให้ธนาคารต้องมีการธนาคารรูปแบบใหม่ เช่น ธนาคารเสมือน 2.0 (Virtual Banking 2.0) การเชื่อมต่อฐานงานธนาคาร (Banking as Platform) และการทำธุรกรรมทางธนาคารผ่านโทรศัพท์มือถือ (Evolution of Mobile Banking) เป็นนวัตกรรมที่สร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้บริโภค
  1. การเพิ่มศักยภาพของลูกค้า
    เทคโนโลยีช่วยให้ลูกค้าเข้าถึงหลักทรัพย์และการบริการที่หลากหลาย ซึ่งเคยถูกจำกัดด้วยความคุ้มค่าของการทำธุรกรรม ช่วยเพิ่มอำนาจการตัดสินใจจากคุณภาพ และปริมาณของข้อมูล รวมทั้งระบบการวิเคราะห์ข้อมูล และการให้คำแนะนำที่มีประสิทธิภาพ

สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดในข้างต้นถือว่าเป็นเรื่องดีของคนในยุคเทคโนโลยีเป็นอย่างมากกว่า ซึ่งนวัตกรรมฟินเทคสามารถตอบสนองความต้องการของคนในยุคนี้ได้อย่างแข็งแกร่ง ทำให้การทำธุรกรรมทางการเงินไม่ใช่เรื่องที่ยากเย็นและวุ่นวายอีกต่อไป…ก้าวไปอย่างไม่หยุดยั้ง…ด้านวัตกรรมฟินเทค

 

Reference

พรชัย ชุนหจินดา. (2560). ฟินเทค (FinTech) เพื่อก้าวสู่การเป็นประเทศไทย 4.0. เข้าถึงได้จาก http://e-jodil.stou.ac.th/Page/ShowPaPer.aspx?idindex=592.

อิสราภรณ์ ทิพย์คำ. (2559). เมื่อฟินเทคก้าวเข้ามาในธุรกิจธนาคาร (2). ศูนย์วิจัยและพัฒนา, กรุงเทพฯ.

Related Posts

  • Data Tech Trends & Predictions for 2025
  • Singapore FinTech Festival (SFF) 2024 06 – 08 November 2024
  • Fintech Course: Unleashing Future of Finance by TFA
bt_bb_section_bottom_right_section_coverage_image

Contact Us

Address

439B-1 Siam Paragon Shopping Mall, 4th Floor, Rama 1 Road, Pathumwan, Pathumwan, Bangkok, Thailand 10330

The information contained in this website is provided for informational purposes only and on an “as is” basis, without representation or warranty of any kind. Thai Fintech Association does not guarantee whether the information is correct or up-to-date.   no event shall Thai Fintech Association be liable to you or any person for any loss of business or profits, or for any indirect, incidental or consequential damages arising out of any use of, or inability to use, or for any other claim by you or any other person.

© Copyrights 2021 - All Rights Reserved - Thai Fintech Association