สายการบิน VS เทคโนโลยีฟินเทค

19 September 2017
Share

ข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับรายได้ของสายการบินในเอเชียในปี 2017 คาดว่ามีกำไรไม่ต่ำกว่า 7.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งไม่ได้ทำรายได้ให้เพิ่มจากปีก่อน และในขณะเดียวกันอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีการการเติบโตอย่างรวดเร็ว อันเป็นผลให้สายการบินเพิ่มประสบการณ์ให้แก่ผู้โดยสารโดยการใช้เทคโนโลยี Fintech เพื่อเป็นการให้ความสะดวกด้านการจองตั๋วของสายการบิน อีกทั้งเพิ่มประสิทธฺภาพในการแข่งขันกับคู่แข่งที่ไม่ใช้เพียงการแข่งกันในด้านการบริการบนเครื่องเพียงเดียวเหมือนแต่ก่อน แต่ละสายการบินสร้างประสบการณ์ด้าน Fintech ให้แก่ผู้โดยสารโดยการจองตั๋วและชำระเงินออนไลน์ ซึ่งขณะนี้สายการบิน Air Asia ของประเทศมาเลเซียกำลังรอการอนุมัติจากธนาคารกลางในการทำใช้เทคโนโลยี Fintech ที่เป็นโปรแกรมแพลตฟอร์มในการดำเนินการชำระค่าตั๋วเครื่องบินและการซื้อสินค้าพรีเมียมของสายการบินได้เพิ่มขึ้นมากกว่า 60 ล้านคน  และคาดว่าจะสำเร็จในไม่กี่เดือนข้างหน้า

หากเราดูข้อมูลแบบเจาะลึกเกี่ยวกับประสิทธิภาพการใช้แอพพิเคชั่นในการชำระเงินในประเทศสำคัญของสายการบินในเอเชีย เช่น ประเทศไทย มาเลเซีย ฮ่องกง เวียดนาม สิงคโปร์ และอินโดนิเซีย สิ่งที่พบคือสายการบินในเอเซียส่วนใหญ่จะจดทะเบียนแพลตฟอร์มการชำระเงินกับบริษัท Fintech ขนาดใหญ่ ซึ่งไม่ได้จดทะเบียนโดยตรงกับธนาคาร โดยมีการให้ชำระเงินผ่าน AliPay และ Paypal เพราะมีค่าทำเนียมที่ต่ำและเซฟเงินในกระเป๋าผู้โดยสารได้มากขึ้น แต่ในทางกลับกันในการใช้แอพพิเคชั่นในการซื้อตั๋วเครื่องบินนั้นก็สร้างความสะดวกให้ผู้โดยสารบางส่วน และอีกบางส่วนก็คิดว่าเป็นวิธีการที่ไม่ได้ค่อยได้ประโยชน์จากเดิมมากเท่าไหร่ อย่างไรก็ตามแต่ละสายการบินก็มีการพัฒนาแอพพิเคชั่นของตัวเองให้ดีและถูกใจผู้โดยสารมากขึ้น ซึ่งเมื่อให้คะแนนการใช้แอพพิเคชั่นของแต่ละสายการบินยอดนิยมในเอเชีย ที่แบ่งเป็น 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความง่ายในการใช้ ความพร้อมใช้บนมือถือ และตัวเลือกในการชำระเงิน มีการให้คะแนนดังนี้

 

Malaysia Airlines

ด้านความง่ายในการใช้  4/5

ความพร้อมใช้บนมือถือ 3/5

และตัวเลือกในการชำระเงิน 2/5

แอพพิเคชั่นของ Malaysia Airlines เป็นแอพพิเคชั่นที่มีอยู่ในขั้น Beta stage ผู้โดยสารสามารถจองตั๋ว เช็คอินตั๋ว ได้ในแอพเดียว และสามารถจองโรงแรมได้เพราะแอพพิเคชั่นของ Malaysia Airlines จะขึ้นตรงกับแอพพิเคชั่น Booking.com ซึ่งผู้โดยสารสามารถชำระเงินผ่าน MasterCard, Visa และ American Express ได้ และยังสามารถชำระผ่าน PayPal ตัวเลือกการตัดบัญชีโดยตรงโดยใช้บริการชำระเงินผ่านธนาคารของประเทศมาเลเซีย Maybank2u และ CIMB Clicks ได้อีกด้วย

 

AirAsia

ด้านความง่ายในการใช้  3/5

ความพร้อมใช้บนมือถือ 3/5

และตัวเลือกในการชำระเงิน 5/5

แอพพิเคชั่นของ Air Asia ถือว่ามีช่องทางการชำระเงินหลายช่องทาง สามารถชำระได้โดย บัตรเครดิต, AirAsia BigPay, ผู้โดยสารชาวสิงคโปร์สามารถใช้ E-NETS ได้

 

Singapore Airlines

ด้านความง่ายในการใช้  4/5

ความพร้อมใช้บนมือถือ 4/5

และตัวเลือกในการชำระเงิน 5/5

Singapore Airlines มีทางเลือกมากมาย จากบัตรเครดิตหลักไปจนถึงบัตรเครดิต MasterPass, UnionPay, Universal Air Travel Network (UATP) ซึ่งเป็นบริการการชำระเงินที่เป็นของกลุ่มสายการบินรายใหญ่

Scoot

ด้านความง่ายในการใช้  4/5

ความพร้อมใช้บนมือถือ 3/5

และตัวเลือกในการชำระเงิน 2/5

Scoot ยอมรับการชำระเงินผ่านบัตรเครดิตเท่านั้น

 

การบินไทย

ด้านความง่ายในการใช้  4/5

ความพร้อมใช้บนมือถือ 1/5

และตัวเลือกในการชำระเงิน 5/5

สำหรับการบินไทยสามารถชำระค่าตั๋วได้หลายช่องทาง เช่น ผ่านบัตรเดรบิตตาเคาเตอร์ใน TESCO / BigC / Family Mart หรือสามารถจ่ายผ่านแอพพิเคชั่น ผ่านตู้ ATMs และ Paypal. แต่น่าเสียดายที่ไม่มีแอพพิเคชั่นของสายการบินเป็นของตัวเอง

 

Garuda Indonesia

ด้านความง่ายในการใช้  4/5

ความพร้อมใช้บนมือถือ 4/5

และตัวเลือกในการชำระเงิน 4/5

แอพพิเคชั่นของ Garuda Indonesia เป็นแอพพิเคชันที่ใช้ง่าย และมีการจูงใจด้วยบริการต่าง ๆ บนเครื่องบินในราคาพิเศษและมีช่องทางการชำระเงินที่สะดวก สามารถจ่ายผ่านบัตรเครดิต, Alipay, สำหรับชาวจีนสามารถชำระผ่าน Renminbi และ iDEAL ได้ สำหรับผู้ที่ต้องการชำระเป็นยูโร ชาวอินโดนีเซียสามารถจ่ายเงินรูเปียห์ผ่านบริการหักบัญชีธนาคารของอินโดนีเซีย Mandiri, BCA, BRI และ Bersama ได้

 

Cathay Pacific

ด้านความง่ายในการใช้  4/5

ความพร้อมใช้บนมือถือ 4/5

และตัวเลือกในการชำระเงิน 4/5

สำหรับ Cathay Pacific ขั้นตอนและบริการเหมือนกับ แอพพิเคชั่นของ Garuda Indonesia สามารถจ่ายผ่านบัตรเครดิต แพลตฟอร์มการชำระเงิน PPS, iDEAL, Sofort, UATP, Unionpay และ PayPAL

 

Vietnam Airlines

ด้านความง่ายในการใช้  3/5

ความพร้อมใช้บนมือถือ 2/5

และตัวเลือกในการชำระเงิน 4/5

สำหรับ Vietnam Airlines เป็นแอพพิเคชั่นที่ใช้ง่าย สามารถดูแพคเก็ตได้ทั้งวันธรรมดาและวันหยุด ซึ่งมีความสะดวกในการชำระเงินไม่ว่าจะชำระผ่านดู ATMs สำหรับชาวต่างชาติสามารถชำระเงินผ่านบัตรเครดิตไม่สามารถใช้ PayPal ได้ และทางแอพพิเคชั่นของสายการบินมีการสะสมแต้มเพื่อรับโปรโมชั่นได้อีกด้วย

 

Philippine Airlines

ด้านความง่ายในการใช้  3/5

ความพร้อมใช้บนมือถือ 2/5

และตัวเลือกในการชำระเงิน 3/5

สายการบินฟิลิปปินส์ไม่ได้เป็นตัวเลือกที่ได้รับความนิยมมากในภูมิภาคเอเชีย และช่องทางการชำระเงินก็ไม่ได้โดดเด่นด้านช่องทางการชำระเงินมากเท่าไหร่ ซึ่งสามารถชำระเงินผ่านบัตรเครดิต, Paypal, Alipay และ BancNet นอกจากนี้ยังดอนผ่านธนาคารได้อีกด้วย

 

Reference

Fintechnews Singapore (2017). Asians Airlines and their Digital (Fintech) Experience

.Retrieved from http://fintechnews.sg/11291/travel/asian-airlines-digital-fintech-experience/.

Related Posts

  • Data Tech Trends & Predictions for 2025
  • Singapore FinTech Festival (SFF) 2024 06 – 08 November 2024
  • Fintech Course: Unleashing Future of Finance by TFA
bt_bb_section_bottom_right_section_coverage_image

Contact Us

Address

439B-1 Siam Paragon Shopping Mall, 4th Floor, Rama 1 Road, Pathumwan, Pathumwan, Bangkok, Thailand 10330

The information contained in this website is provided for informational purposes only and on an “as is” basis, without representation or warranty of any kind. Thai Fintech Association does not guarantee whether the information is correct or up-to-date.   no event shall Thai Fintech Association be liable to you or any person for any loss of business or profits, or for any indirect, incidental or consequential damages arising out of any use of, or inability to use, or for any other claim by you or any other person.

© Copyrights 2021 - All Rights Reserved - Thai Fintech Association