สมาคมฟินเทคประเทศไทย จัดงาน F13 Demo Day Batch 1 เพื่อนำเสนอศักยภาพของ Fintech Startup ทั้ง 7 ทีม ซึ่งอยู่ในโครงการ F13 Sandbox ซึ่งในงานครั้งนี้ F13 Batch 1 ทั้ง 7 ทีม ได้ทำการนำเสนอโปรดักของแต่ละทีม ต่อหน้าคณะกรรมการผู้เป็นกรรมการบริหารสมาคม ผู้มีชื่อเสียงในวงการสตาร์ทอัพ และผู้เข้าชมทั่วไป เมื่อวันอาทิตย์ที่ 20 พฤษภาคม 2561 เวลา 13.00-17.00 น. ณ Hall A ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตติ์ ในงาน Startup Thailand 2018
ศูนย์ทดสอบและพัฒนาฟินเทค (F13) ตั้งอยู่บนพื้นที่ขนาด 300 ตารางเมตร บริเวณชั้น 13 อาคาร Knowledge Exchange Center (KX) เป็นแหล่งทดสอบและพัฒนาบริการฟินเทค โดยทีมงานของสมาคมมีส่วนช่วยการทำ Business Matching ระหว่างธนาคารกับผู้ประกอบการฟินเทค เพื่อทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมทางการเงินใหม่ ๆ รวมไปถึงการทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการทำงานร่วมกับหน่วยผู้กำกับดูแลอย่างธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.), สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) และสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เพื่อส่งเสริมให้ขั้นตอนและกระบวนการมีความสะดวกและง่ายมากขึ้น
Fintech Startup ในโครงการ F13 Batch 1 ทั้ง 7 ทีม ได้เข้าโปรแกรมอบรมจากทางสมาคมฟินเทคประเทศไทย ซึ่งทุกทีมได้รับพื้นที่ในการทำงานบนชั้น 13 ของอาคาร Knowledge Exchang (KX) อีกทั้งได้รับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านฟินเทค ประธานสมาคม และผู้มีประสบการณ์ในด้านอุตสาหกรรมฟินเทคก็หลายท่าน ทั้งนี้สมาคมหวังว่า Fintech Startup ในประเทศไทยจะสามารถแข่งขันกับคู่แข่งทั้งในไทยและต่างประเทศได้ โดยทั้ง 7 ทีม ได้รับสิทธิประโยชน์จาก F13 Sandbox ดังกล่าวอย่างเต็มที่ ซึ่ง 7 ทีมนั้น ได้แก่
1. Zee Zave
ทีมพัฒนานวัตกรรมที่มาช่วยคนรุ่นใหม่ บริหารด้านการออมเงิน เมื่อมีการออมเงินจะให้แต้มสะสม และสามารถไปแลกของรางวัลได้
2. Horganice
เป็นทีมให้บริหารจัดการหอพัก อพาร์ทเม้นท์ การจ่ายค่าเช่า จ่ายบิลค่าน้ำค่าไฟ และสามารถเรียกช่างซ่อมได้
3. Taladinvoice
ตัวกลางในรูปแบบของ fintech ที่พัฒนาแพลตฟอร์มขึ้นมาในลักษณะของ invoice factoring เพื่อ SMEs ขนาดเล็กที่ต้องการเงินทุนหมุนเวียนระยะสั้น เพียงใช้ invoice (ใบวางบิล) มาเป็นหลักประกัน ส่วนหลักการให้เงินเพียงแค่นำ invoice มาลงทะเบียนขายที่ TALAD Invoice เพียงเท่านี้ SMEs ก็รอรับเงินสดไปใช้หมุนเวียนธุรกิจได้ทันทีใน 1 วัน
4. Buildon
ทีมผู้พัฒนา Platform ผสามผสานการบริการวางแผนการเงินกับแผนงานสถาปัตยกรรมโดยตรง
5. Skynet
เป็นระบบ Social Trading Platform ที่ใช้ได้ทั้งตลาดหุ้น, tfex, crypto, forex โดยรองรับ Robot, AI และ Algorithm ทุกทุกภาษา Programming เช่น afl, python เป็นต้น
6. Crytovation
เป็นทีม Fintech ที่จัดทำCryptocurrency ใช้เทคโนโลยี Blockchain เห็นโอกาสในการทำกำไรจากการทำ Arbitrage Trading กับ หลายๆ สกุลเงิน ผลกำไรประมาณ 18-20% ต่อเดือน
7. urHCL
ทีมผู้พัฒนา Market Place ของ ลงประกาศ ซื้อ ขาย บ้านที่ดินคอนโดมิเนียม+พร้อมให้บริการสินเชื่อครบวงจร ซึ่งจะเปลี่ยนการซื้อขายบ้านที่เป็นเรื่องยุ่งยากซับซ้อน เป็นเรื่องง่ายจบในที่ที่เดียว ซื้อ-ขาย-โอน บ้านแค่ปลายนิ้ว ทุกที่ทุกเวลาทั่วโลกผ่านทาง แอพและเวปไซด์
คุณเจษฎา สุขทิศ นายกสมาคมฟินเทคประเทศไทย กล่าวว่า “ปัจจุบันสังคมไทยของเรานั้นใกล้คำว่า Cashless Socitey มากขึ้นทุกทีสังเกตุได้จากการที่เราไปจ่ายตลาดหรือไปห้างสรรพสินค้า พบว่าช่วงหลังมีหลายร้านที่รับจ่ายเงินด้วย QR Code ซึ่งเมื่อสอบถามก็ได้คำตอบว่าการใช้วิธีนี้จะทำให้แม่ค้าสะดวกมากขึ้น ไม่ต้องแลกเหรียญและธนบัตรเพื่อนำมาถอนลูกค้าดังเช่นเคย เหตุนี้ยิ่งทำให้เราต้องผลักดันอุตสาหกรรม Fintech ให้มากยิ่งขึ้น โดยภารกิจของเรานั้นก็คือการผลักดัน Fintech Startup ให้สามารถแข่งขันกับคู่แข่งในประเทศและต่างประเทศได้ โดยในขณะนี้เราก็ได้ผลิต Fintech Startup ออกมาได้ 1 Batch เรียบร้อยแล้ว
คุณธรรม์ธีร์ สุกโชติรัตน์ กรรมการบริหารสมาคมฟินเทศไทย กล่าวว่า สมาคมฟินเทคประเทศไทยก่อตัวขึ้นมาความคิดที่ว่า “Fintech” จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงผู้บริโภคและธุรกิจ โดยในส่วนผู้บริโภคก็จะมีความสะดวกสบายมากขึ้น ได้จากการใช้ App Banking ธนาคารต่างๆ นานา ถ้าสะดวกและรวดเร็วกว่าแต่ก่อนมาก ทำให้เราไม่ต้องไปธนาคารเพื่อโอน ถอน จ่าย และอื่นๆ ซึ่งทำให้เห็นว่าฟินเทคมีความสำคัญกับชีวิตเรามากขึ้นเรื่อยๆ สำหรับทั้ง 7 ทีมนี้ คือทีมสีได้พิสูจน์แล้วว่าโครงการ F13 Sandbox ของสมาคมฟินเทคประเทศมีประสิทธิภาพมากพอที่จะผลักดันอุตสาหกรรมฟินเทคในไทย ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักของสมาคม และจะมุ่งมั่นเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมนี้ต่อไปภายใต้สโลแกน Transfoming Finance for All