ตั้งแต่มี Cryptocurrency ถือกำเนิดขึ้นนั้น มันบอกให้เรารับรู้ถึงเรื่องความพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี ที่ทำให้เกิดสิ่งนี้ขึ้นมา โดยเฉพาะบนเทคโนโลยี Blockchain ที่มีความแน่นหนาเรื่องความปลอดภัย แต่เมื่อดูสถิติในเรื่องความปลอดภัยในการถือครอง Cryptocurrency จาก JP Morgan Bank ประเมินได้ว่าจาก Bitcoin ที่มีอยู่ทั้งหมดบนโลกประมาณ 30% เคยถูกแฮงค์ (จาก Wallet ไม่ใช่ Blockchain) จึงทำให้เกิดปัญหาขึ้นประชาชนไม่รู้ว่าจะต้องไปร้องเรียนกับใครได้ เพราะ Cryptocurrency ไม่ได้เป็นของใครคนใดคนหนึ่ง หากเปรียบเทียบให้เห็นภาพคือ เมื่อมีบัญชีธนาคารที่ดันถูกขโมย ถูกนำเงินของเรานำไปใช้ เราก็สามารถไปร้องเรียนได้ แต่ในโลกของ Cryptocurrency มันไม่มี…นี่คือปัญหาใหญ่
จากปัญหาที่กล่าวมาข้างต้นทำให้คนเริ่มพูดถึง Stable Coin หรือ Cryptocurrency ที่ออกโดยธนาคารกลาง ประเด็นนี้มันก็ย้อนกับจุดยืนเดิมของ Cryptocurrency ที่ว่าจะไม่ต้องการอยู่ในอำนาจของฝ่ายใด ทั้งนี้มันสะท้อนให้เห็นว่านวัตกรรม Cryptocurrency นั้น “ยังไม่หยุดนิ่ง” ยังมีความจำเป็นที่ต้องพัฒนาต่อไป อีกประเด็นที่หลายคนอาจเคยได้ยินคือ Bitcoin มีจำนวนตายตัว ที่ตอนนี้เราก็พบว่ามันเริ่มไม่จริง อาจเป็นเพราะเกิดจากการตกลงกันไม่ได้ในเรื่องของรายละเอียดบางประการของคุณสมบัติ ทำให้เกิดการแยกกลุ่ม มันก็ทำให้กลายเป็นจำนวนของ Bitcoin ไม่มีข้อจำกัด
ทั้งหมดนี้คือประเด็นบกพร่องทางเทคโนโลยีที่ยังมีอยู่ จึงทำให้ผู้เชี่ยญชาญในเรื่องดังกล่าวต้องเข้ามาพัฒนา…กล่าวคือแก้ปัญหาของสกุลเงิ…แม้กระทั้งเงินบาทก็ได้ถูกแก้ไขไปเรื่อยๆ ด้วยดิจิทัลเทคโนโลยี เนื่องด้วยปัจจุบันเงินสดมีผู้ใช้น้อยลง บางประเทศตอนนี้ก็กลายเป็นปัญหา อย่างประเทศ Sweden คือ เงินธนบัตรที่หมุนเวียนอยู่ในระบบของ Sweden ลดลงเหลือเพียง 1% ของ GDP กลายเป็นว่าจะไม่มีใครยอมรับเงินสดแล้ว เพราะว่าชาว Sweden ทำให้ต้นทุนการถือเงินสดสูงมาก ยกตัวอย่าง IKEA ที่เป็นบริษัทมาจาก Sweden ที่ได้ทำการสำรวจเรื่องดังกล่าวพบว่ามีลูกค้าเพียงแค่ 1 ใน 100 ที่ชำระสินค้าด้วยเงินสด นอกนั้นใช้ Digital Money แต่ความน่าแปลกในก็คือพนักงานของ IKEA ใช้เวลา 15% จากการทำงานในการนับเงินสดที่มาจากลูกค้า จึงทำให้เกิดนโยบายเลิกกับเงินสด เพราะไม่คุ้มค่าต่อเวลาในการทำงานของพนักงาน
หลายคนมองว่า Cryptocurrency ต้องมีการใช้งานได้จริง โดยมีนวันตกรรม ICO เกิดขึ้น หากดูพัฒนาการของ ICO ใน 2 ปีนี้ จะพบว่าไม่ได้ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรในด้านของราคา เพราะมันไม่ได้ตอบโจทย์ที่สำคัญที่สุดของการเป็น ICO…นั้นคือ “สุดท้ายแล้วเราไปใช้ทำอะไร” โดยทุกอย่างที่จะมีมูลค่าได้นั้น มันต้องมีการใช้งาน ซึ่งถ้าเรามองในมุมว่า ICO ที่ออกไปแล้วมีการใช้งานได้จริงหรือไหม ก็เป็นเรื่องที่ท้าทายมาก เพราะถ้านำไปใช้งานได้จริง ก็มั่นใจได้ว่ามูลค่ามันจะขึ้นสูงขึ้น ถ้านำไปใช้ไม่ได้จริงหรือใช้ในปริมาณที่ไม่เพียงพอ ก็จะทำให้มูลค่าไม่กลับคืนมาเมื่อเทียบกับปีก่อน
ประเด็นมูลค่าของ Cryptocurrency ก็ยังเป็นประเด็นที่ท้าทายผู้ที่ถือครองอยู่ แต่สำหรับมุมมองของเรามองว่า Cryptocurrency และ ICO เป็นนวัตกรรมที่มีความสำคัญ เพราะว่ามันเป็นวีธีที่ดีที่สุด และเป็นไปได้มากที่สุดสำหรักนักนวัตกรรมในการระดมทุนที่จะนำมาซึ่งการพัฒนาเทคโนโลยี Blockchain…โดยเกือนทุก ICO ที่ใช้เทคโนโลยี Blockchain ในการยกระดับด้านต่างๆ ที่จะต้องมีเงินทุนที่มาจากคนที่เชื่อในอนาคตของเทคโนโลยี Blockchain จริงๆ กล่าวคือ กลุ่มคนที่พร้อมจะลงทุน ถ้าไม่มี ICO …สุดท้ายการพัฒนาเทคโนโลยี Blockchain ก็จะเกิดเพียงในระบบภาครัฐ แน่นอนว่ามันต้องช้ามาก หรือจะเกิดได้ก็แค่กับกลุ่มคนที่มีเงินเท่านั้น
นั้นคือสาเหตุที่สมาคมฟินเทคประเทศไทยได้ประสานกับทางสำนักงาน ก.ล.ต. ในด้านการออกกฎหมายที่จะออกมาก่อนหลายๆ ประเทศ ที่จะรองรับการออก ICO ซึ่งเชื่อว่าถ้ามีความเชื่อมั่นเกิดขึ้น ถ้ามีกฎระเบียบที่ชัดเจน จะส่งผลต่อการพัฒนา Cryptocurrency ให้มีประสิทธิภาพ และมีอนาคตที่สดใสมากขึ้น เมื่อดูในฝั่งต่างชาติก็พบว่าหลายประเทศก็ต้องการมีกฎระเบียบที่ชัดเจน โดยมองว่าการมี White Paper เพียงอย่างเดียว และการระดมทุนผ่าน ICO ไม่สามารถสร้างความน่าเชื่อถือได้ และทำให้เกิดการแทรกซึมจากมิจฉาชีพได้…กฎระเบียบจึงสำคัญมาก หากประเทศมีกฎระเบียบนี้ก่อนใคร ก็จะเป็นประเทศที่เป็นตัวอย่างได้ดี ทั้งในเรื่องหน่วยงานการกำกับดูแล การเงิน และเทคโนโลยี
สมาคมฟินเทคประเทศไทย