มุมมอง Fintech ในไทย โดยกรณ์ จาติกวณิช ประธาน TFTA

20 November 2018
Share

ย้อนไป 7-8 ปีทางกระทรวงการคลังได้ร่วมงานกับสำนักงาน ก.ล.ต. ในการร่างแผนแม่บทในการพัฒนาตลาดทุน โดยใช้เวลามากกว่า 2-3 เดือนในการยกร่างฉบับนี้ขึ้นมา ก็พบว่าไม่มีคำว่า Fintech คำว่า Blockchain คำว่า Cryptocurrency ในประเทศไทย ซึ่งมันเป็นเรื่องน่ามหัศจรรย์มากที่เวลาเพียง 7 ปี ประเทศไทยมีศัพท์เหล่านี้เกิดขึ้น ทั้งนี้มองว่าน่าจะเป็นส่วนหนึ่งในการวางแผนยุทธศาสตร์ตลาดทุน ทั้งที่ ณ วันนั้นที่ผ่านมา เราไม่รู้เลยว่าสิ่งเหล่านี้ที่เป็นนวัตกรรมสำคัญที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงให้แก่ระบบการเงิน ระบบการลงทุน และตลาดทุนของเรา โดยสิ่งที่กล่าวว่านั้นคือสัญญาณที่บอกกับเราทุกคนว่านี่คือการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว นั้นหมายถึงว่าเราต้องมีความคล่องตัวและสามารถรับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้น

เมื่อมีโอกาสได้เข้ามาสัมผัสกับ Fintech สตาร์ทอัพก็พบว่า ณ ตอนนี้วงการ Fintech เป็นสิ่งที่สนใจมาก ซึ่งก็เป็นสิ่งสนใจมากอยู่แล้วมาประมาณ 4 ปี จึงทำให้เกิดการจัดตั้งชมรม Fintech จนกระทั่งมาจดทะเบียนเป็นสมาคมภายใต้ชื่อ “สมาคมฟินเทคประเทศไทย” จนวันนี้เราสมาคมฟินเทคประเทศไทยมีอายุครบ 2 ปี โดยเรามีพันธกิจของสมาคม 4 ข้อหลัก ได้แก่

  1. ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีในการเข้าถึงบริการทางการเงินในระบบ

ทั้งนี้หมายถึงเทคโนโลยีเงินฝาก ธุรกรรม การซื้อประกัน เบี้ยประกัน ตลอดไปจนถึงการกู้ยืมเงิน เพื่อให้สิ่งเหล่านี้มีประสิทธิภาพด้วยเทคโนโลยี

  1. ลดต้นทุนการใช้บริการ ลดต้นทุนการทำธุรกรรมทางการเงินทุกประเภท

ทั้งนี้ดูได้จากการใช้พร้อมเพย์ การลดค่าทำเนียมต่างๆ ซึ่งลดทำให้ต้นทุนลดลงอย่างมากเมื่อมีเทคโลยีเข้ามา

  1. เป็นแหล่งบ่มเพาะ ส่งเสริม ให้มีการแข่งขันทางการเงินในประเทศไทยมากขึ้น

เพื่อนำไปพัฒนานวัตกรรมที่อาจจะส่งผลต่อการแข่งขัน และสร้างความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

  1. การส่งเสริม Fintech สตาร์ทอัพของไทย เข้าสู่ตลาดในไทยและต่างประเทศ

หากกล่าวถึง 2 ปีที่ผ่านมา ก็ต้องบอกก่อนว่าทางเรานั้น ได้เริ่มมีสมาชิกสมาคมที่เป็นบริษัทและผู้ประกอบการประมาณ 80 รายในปีแรก ซึ่ง ณ ตอนนี้เรามีสมาชิกทั้งหมดประมาณ 200 ราย โดยมีบริษัทและผู้ประกอบการประมาณ 140 ราย หากดูข้อมูลผู้ประกอบการ Fintech ในขณะที่ประเทศไทย จะพบว่าโดยรวม ณ ตอนนี้ สามารถประเมินได้ว่าน่าจะมี Fintech สตาร์ทอัพอยู่แล้วในไทยทั้งหมดประมาณ 200 ราย

ตลอด 2 ปีที่ผ่านมานั้นคือ สตาร์ทอัพที่เข้าในการช่วยอำนวยความสะดวกในการลงทุนในด้านหลักทรัพย์ได้ง่ายขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับสมัยก่อน ทำให้เห็นว่า ณ ตอนนี้คนสามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้น ต้นทุนน้อยลง รวมไปถึงการเข้าถึงสินเชื่อที่สามารถเปรียบเทียบได้หรือสามารถลดค่าดอกเบี้ยได้ ซึ่งเหล่านี้คือตัวอย่างบริการจากอุตสาหกรรม Fintech ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา

สิ่งที่อยากจะเห็นจากการตอบโจทย์ Pain point ของสังคมไทยได้อย่างหนึ่งคือ ในแง่ของการเข้าถึงสินเชื่อ ซึ่ง SME ในไทยทุกวันนี้กู้เงินได้ยากมาก เมื่อดูสัดส่วน SME อย่างจริงจังจะพบว่า SME ที่กู้ธนาคารได้มีเพียงประมาณ 15% ในขณะที่ผู้ที่กู้เงินจากธนาคารได้นั้นก็มีปัญหาด้านหลักประกันที่จะต้องวางในจำนวนที่มาก

ทั้งนี้ทางสมาคมฟินเทคประเทศไทยมีความพยายามอย่างมากที่จะผลักดันให้มีการออกกฎระเบียบ โดยอยากให้มีกฎหมายรองรับในการทำธุรกรรมดังกล่าว เช่น การปล่อยสินเชื่อในรูปแบบ P2P ซึ่งคาดว่าในปี 2661 นี้จะมีความชัดเจนในกฎดังกล่าวปรากฎผ่านทางธนาคารแห่งประเทศไทย อย่างไรก็ตาม สิ่งที่กล่าวมาข้างต้นคือสิ่งที่สมาคมผลักดันอยู่และเป็นตัวเชื่อมหลักระหว่างผู้ประกอบการ ฝ่ายกำกับดูแล เพื่อนำมาสู่ความพัฒนาอุตสาหกรรม Fintech ในประเทศไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

 

Related Posts

  • Data Tech Trends & Predictions for 2025
  • Singapore FinTech Festival (SFF) 2024 06 – 08 November 2024
  • Fintech Course: Unleashing Future of Finance by TFA
bt_bb_section_bottom_right_section_coverage_image

Contact Us

Address

439B-1 Siam Paragon Shopping Mall, 4th Floor, Rama 1 Road, Pathumwan, Pathumwan, Bangkok, Thailand 10330

The information contained in this website is provided for informational purposes only and on an “as is” basis, without representation or warranty of any kind. Thai Fintech Association does not guarantee whether the information is correct or up-to-date.   no event shall Thai Fintech Association be liable to you or any person for any loss of business or profits, or for any indirect, incidental or consequential damages arising out of any use of, or inability to use, or for any other claim by you or any other person.

© Copyrights 2021 - All Rights Reserved - Thai Fintech Association