Blockchain ในบทบาทของ Peer to Peer Lending นั้น อยากจะมองเป็น Trustless Platform ซึ่งจะมาเปลี่ยนแปลงความเข้าใจของคนในด้านของความเชื่อใจ โดยระบบ Peer to Peer Lending สามารถเกิดขึ้นได้บนระบบ Blockchain ที่สามารถเป็น Token หรือ Digital Currency ก็ได้ โดยไม่จำเป็นต้องมี Centralized Authority
Peer to Peer Lending สามารถเกิดขึ้นได้ 2 รูปแบบ คือ
- รูปแบบ Centralized Authority ยกตัวอย่าง เช่น บริษัท LendingClub ในสหรัฐอเมริกา โดยรูปแบบ Centralized Authority ซึ่งแน่นอนว่าเราต้องเชื่อมั่นในคนกลาง กล่าวคือ รูปแบบนี้คล้ายกับเป็น Marketplace ให้ผู้ที่ปล่อยกู้มาเจอกับผู้ขอกู้ และทางบริษัทก็รับค่าส่วนต่างที่น้อยกว่าธนาคารมาก อย่างไรก็ตามรูปแบบดังกล่าวก็สามารถนำมาใช้กับระบบ Crowdfunding ได้อีกด้วย เช่น มีนักลงทุนหนึ่งคนที่อยากจะปล่อยกู้ โอนเงินไป 20 ล้านบาท ที่สามารถกระจายไปให้ผู้ขอกู้ได้ถึง 1,000 คน ซึ่งแน่นอนว่าผู้กู้คนใดมีความเสี่ยงมากก็ให้กู้ได้น้อย ในทางกลับกันมีความเสี่ยงน้อยก็กู้ได้มาก
- รูปแบบไม่ผ่านบริษัทตัวกลาง คือ Generation ใหม่ของ Peer-to-Peer Lending สามารถสร้างขึ้นมาได้บน Platform ของ Blockchain โดยจะตั้งเป็น Protocol set of rules ให้คนอยู่บทกฎเกณฑ์ หรือที่เรียกว่า Cryptoeconomics สำหรับคนที่ปล่อยกู้ในรูปแบบ Digital currency ผ่าน Smartcontact ได้เลย ซึ่งจะมี Pre-determined & Condition ใส่ลงไปใน Smartcontact ทั้งนี้มันสามารถ Match กับผู้ให้กู้กับผู้กู้ ผ่าน Smartcontact โดยไม่เสียค่า Fee และไม่ต้องพึ่งพา Centralized Authority อีกต่อไป
สิ่งที่กล่าวมาทำให้เห็นถึงรูปแบบการให้กู้ทั้ง 2 รูปแบบมันไม่ใช่แค่นั้น…เมื่อมีการปล่อยกู้ผ่าน Digital Currency มันจะช่วยลดปัญหาเรื่องสกุลเงิน คือ หากเราใช้การกู้ผ่าน Lending Club เราก็จะให้ได้เพียงสกุลเงิน US หรือ Fiat currency ก็เกิดอุปสรรคการโอนเงินผ่านธนาคารที่ต้องมี Limit จัดทำ KYC หรือโอนได้แค่ Ecosystem ของระบบปิด…หากพูดถึงอุปสรรคก็สามารถยกตัวอย่างได้เช่น คนที่อยู่ในหมู่บ้านในแอฟฟริกาอาจจะรวยมาก แต่เขาอยากจะปล่อยกู้ แต่เขาไม่สามารถมาปล่อยกู้ที่ Lending Club เพราะระบบ Payment มันคุยคนละภาษา…แต่ระบบ Peer-to-Peer Lending ยุคใหม่ที่ผ่าน Digital currency คนที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านแอฟริกา อาจจะเป็นเศรษฐีที่รวยมากให้แอฟริกาก็สามารถใช้บริการนี้ได้ เพียงมีมือถือที่ต่ออินเทอร์เน็ตเท่านั้น กำจัดปัญหาเรื่องเงื่อนไขต่างๆ จากธนาคาร
อย่างไรก็ตาม Business Model การให้กู้แบบ Peer-to-Peer Lending ผ่าน Smartcontact มีเกิดขึ้นจริงแล้วในต่างประเทศ โดยอยู่ในรูปแบบ ICO Project ในต่างประเทศ เช่น The Deal Coin Blockchain Lending Platform ในอังกฤษ ส่วนในประเทศไทยก็ติดอยู่ในเรื่องของกฎหมาย ซึ่งโชคดีว่าทางสำนักงาน ก.ล.ต. ขับเคลื่อนด้าน Cryptocurrency ค่อนข้างไวกว่าประเทศอื่น จึงมีอุปสรรคเรื่องสกุลเงินดิจิทัลน้อยลง แต่ Peer-to-Peer Lending ณ ตอนนี้อยู่ภายใต้ธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งขณะนี้ทางธนาคารแห่งประเทศไทยยังอยู่ในขั้นของการทดสอบใน Sandbox
Co-founder & CEO ที่ Bitkub.com