ย้อนไป 7-8 ปีทางกระทรวงการคลังได้ร่วมงานกับสำนักงาน ก.ล.ต. ในการร่างแผนแม่บทในการพัฒนาตลาดทุน โดยใช้เวลามากกว่า 2-3 เดือนในการยกร่างฉบับนี้ขึ้นมา ก็พบว่าไม่มีคำว่า Fintech คำว่า Blockchain คำว่า Cryptocurrency ในประเทศไทย ซึ่งมันเป็นเรื่องน่ามหัศจรรย์มากที่เวลาเพียง 7 ปี ประเทศไทยมีศัพท์เหล่านี้เกิดขึ้น ทั้งนี้มองว่าน่าจะเป็นส่วนหนึ่งในการวางแผนยุทธศาสตร์ตลาดทุน ทั้งที่ ณ วันนั้นที่ผ่านมา เราไม่รู้เลยว่าสิ่งเหล่านี้ที่เป็นนวัตกรรมสำคัญที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงให้แก่ระบบการเงิน ระบบการลงทุน และตลาดทุนของเรา โดยสิ่งที่กล่าวว่านั้นคือสัญญาณที่บอกกับเราทุกคนว่านี่คือการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว นั้นหมายถึงว่าเราต้องมีความคล่องตัวและสามารถรับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้น
เมื่อมีโอกาสได้เข้ามาสัมผัสกับ Fintech สตาร์ทอัพก็พบว่า ณ ตอนนี้วงการ Fintech เป็นสิ่งที่สนใจมาก ซึ่งก็เป็นสิ่งสนใจมากอยู่แล้วมาประมาณ 4 ปี จึงทำให้เกิดการจัดตั้งชมรม Fintech จนกระทั่งมาจดทะเบียนเป็นสมาคมภายใต้ชื่อ “สมาคมฟินเทคประเทศไทย” จนวันนี้เราสมาคมฟินเทคประเทศไทยมีอายุครบ 2 ปี โดยเรามีพันธกิจของสมาคม 4 ข้อหลัก ได้แก่
- ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีในการเข้าถึงบริการทางการเงินในระบบ
ทั้งนี้หมายถึงเทคโนโลยีเงินฝาก ธุรกรรม การซื้อประกัน เบี้ยประกัน ตลอดไปจนถึงการกู้ยืมเงิน เพื่อให้สิ่งเหล่านี้มีประสิทธิภาพด้วยเทคโนโลยี
- ลดต้นทุนการใช้บริการ ลดต้นทุนการทำธุรกรรมทางการเงินทุกประเภท
ทั้งนี้ดูได้จากการใช้พร้อมเพย์ การลดค่าทำเนียมต่างๆ ซึ่งลดทำให้ต้นทุนลดลงอย่างมากเมื่อมีเทคโลยีเข้ามา
- เป็นแหล่งบ่มเพาะ ส่งเสริม ให้มีการแข่งขันทางการเงินในประเทศไทยมากขึ้น
เพื่อนำไปพัฒนานวัตกรรมที่อาจจะส่งผลต่อการแข่งขัน และสร้างความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
- การส่งเสริม Fintech สตาร์ทอัพของไทย เข้าสู่ตลาดในไทยและต่างประเทศ
หากกล่าวถึง 2 ปีที่ผ่านมา ก็ต้องบอกก่อนว่าทางเรานั้น ได้เริ่มมีสมาชิกสมาคมที่เป็นบริษัทและผู้ประกอบการประมาณ 80 รายในปีแรก ซึ่ง ณ ตอนนี้เรามีสมาชิกทั้งหมดประมาณ 200 ราย โดยมีบริษัทและผู้ประกอบการประมาณ 140 ราย หากดูข้อมูลผู้ประกอบการ Fintech ในขณะที่ประเทศไทย จะพบว่าโดยรวม ณ ตอนนี้ สามารถประเมินได้ว่าน่าจะมี Fintech สตาร์ทอัพอยู่แล้วในไทยทั้งหมดประมาณ 200 ราย
ตลอด 2 ปีที่ผ่านมานั้นคือ สตาร์ทอัพที่เข้าในการช่วยอำนวยความสะดวกในการลงทุนในด้านหลักทรัพย์ได้ง่ายขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับสมัยก่อน ทำให้เห็นว่า ณ ตอนนี้คนสามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้น ต้นทุนน้อยลง รวมไปถึงการเข้าถึงสินเชื่อที่สามารถเปรียบเทียบได้หรือสามารถลดค่าดอกเบี้ยได้ ซึ่งเหล่านี้คือตัวอย่างบริการจากอุตสาหกรรม Fintech ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา
สิ่งที่อยากจะเห็นจากการตอบโจทย์ Pain point ของสังคมไทยได้อย่างหนึ่งคือ ในแง่ของการเข้าถึงสินเชื่อ ซึ่ง SME ในไทยทุกวันนี้กู้เงินได้ยากมาก เมื่อดูสัดส่วน SME อย่างจริงจังจะพบว่า SME ที่กู้ธนาคารได้มีเพียงประมาณ 15% ในขณะที่ผู้ที่กู้เงินจากธนาคารได้นั้นก็มีปัญหาด้านหลักประกันที่จะต้องวางในจำนวนที่มาก
ทั้งนี้ทางสมาคมฟินเทคประเทศไทยมีความพยายามอย่างมากที่จะผลักดันให้มีการออกกฎระเบียบ โดยอยากให้มีกฎหมายรองรับในการทำธุรกรรมดังกล่าว เช่น การปล่อยสินเชื่อในรูปแบบ P2P ซึ่งคาดว่าในปี 2661 นี้จะมีความชัดเจนในกฎดังกล่าวปรากฎผ่านทางธนาคารแห่งประเทศไทย อย่างไรก็ตาม สิ่งที่กล่าวมาข้างต้นคือสิ่งที่สมาคมผลักดันอยู่และเป็นตัวเชื่อมหลักระหว่างผู้ประกอบการ ฝ่ายกำกับดูแล เพื่อนำมาสู่ความพัฒนาอุตสาหกรรม Fintech ในประเทศไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ