การศึกษาให้ได้ความมาซึ่งความรู้อย่างเข้าใจเรื่อง Blockchain เป็นเรื่องที่คนไทยต้องเรียนรู้ เพราะมันเป็นเรื่องสำคัญ ที่คนไทยต้องรุ้ว่ามันเอาไปประยุกต์ใช้กับอะไรได้บ้าง มันจะมีผลอะไรกับชีวิตเรา เกี่ยวข้องอะไรกับ Cryptocurrency และ Cryptocurrency จะมาแทนเงินหรือไม่…มันเป็นจุดที่น่าสนใจมาก
ทัั้งชีวิตของ “กรณ์ จาติกวณิช” อยู่กับการเงินมาโดยตลอด จึงเรียกตัวเองในอีกนามหนึ่งว่า “นักเศรษฐศาสตร์” ถึงแม้จะมีบทบาททางการเมืองเป็นส่วนใหญ่ก็ตาม แต่ก็ได้รับงานที่เกี่ยวข้องกับการเงินในหน้าที่ของ “รัฐมนตรีคลัง” และมองว่า “เงิน” เป็นนวัตกรรมที่สำคัญของมนุษย์ที่มีมาอย่างยาวนาน โดยย้อนกับไปยุคโบราณ หลายคนอาจจะมองว่าเงินมาแทนระบบแลกเปลี่ยน แต่มันมาพร้อมกับระบบหนี้ เพราะมองว่าหนี้มาก่อนเงิน พบเรามีหนี้ก็ต้องมีหลักฐานที่แสดงการเป็นนี้หรือที่เราเรียกว่า “IOU” และ IOU ก็ถูกออกแบบมาให้แลกเป็นได้ในรูปแบบของเงิน แม้แต่พระราชาในอดีตก็ผลิตเหรียญเงินขึ้นมาเพื่อเป็นการยืนยันหนี้สินที่มีต่อประชากรในด้านต่างๆ และนั้นคือที่มาของเงิน
เงินเป็นนวัตกรรมสำคัญ ทำให้เราเกิดการค้าขาย ผลักดันเศรษฐกิจโลกได้ หากถามว่าเงินมีคุณสมบัติอย่างไร เนื่องจากมีหลายคนที่มีคำถามว่า “Cryptocurrency จะมาแทนเงินหรือไม่” ซึ่งเราต้องทำความเข้าใจก่อนว่า “เงินคืออะไร” มี 4 ข้อหลักที่หากตกหล่นในข้อใดข้อหนึ่ง การที่ Cryptocurrency จะมาแทนเงินคงเป็นไปได้ยาก โดยขออธิบายดังนี้
- ใช้ได้โดยสะดวก
- ถือครองได้ พกพาได้
- รักษามูลค่าของมันได้ ที่จะมากับความน่าเชื่อถือ ซึ่งไม่ได้มาจากอำนาจทางกฎหมายอย่างเดียว
- เป็นที่ยอมรับ
หากพูดในภาษา Startup จะพูดได้ว่าเงินนั้นมี Pain Point ของมัน โดย Pain Point ที่สำคัญที่สุดของเงินคือ “ต้นทุน” พูดให้เห็นภาพก็คือการถือเงินและการใช้เงิน ที่ต้องอยู่ในระบบธนาคาร การมีธนาคารนั้นก็คือต้นทุนของเรา เพราะมันบ่งบอกถึงประสิทธิภาพทางการเงินของเราและศักยภาพของธนาคาร แต่ธนาคารในประเทศไทยเป็นกลุ่มธนาคารที่มีกำไรติดอันดับที่อาจจะมากที่สุดในโลก ทั้งนี้ไม่มีธนาคารที่ใดในโลกที่มีกำไรโลกรวมเท่ากันธนาคารประเทศไทย หากถามว่ากำไรจากธนาคารมาจากไหน ก็ตอบได้ว่ากำไรดังกล่าวมาจากผู้ใช้ธนาคาร ถ้าลองวัดดูตามรายได้ของธนาคารหรือสถาบันการเงินโดยรวม คิดเพียงกับ GDP จะเห็นว่ามันเทียบเท่ากับ 8.5% ของ GDP ซึ่งมันสูงมาก เมื่อเราดูข้อมูลแบบเดียวกับกับประเทศที่เจริญแล้วจะพบว่ารายได้ของธนาคารของพวกเขาจะเพียงแค่ 4% บ่งบอกว่าต้นทุนการใช้เงินบาทของประเทศไทยสูงมาก อีก 2 สิ่งที่ถือว่าเป็น Pain Point ประเด็นการแลกเปลี่ยนสกุลเงินที่แตกต่างกัน อีกอย่างที่มีต่อสกุลเงินปกติ และประเด็นการแทรกแซงทางการเมือง ทำให้เกิดจุดกำเนิดของ Cryptocurrency
เมื่อมีจุดวุ่นวายจากระบบเดิม และเกิดเทคโนโลยีใหม่อย่าง Blockchain อาจจะเข้ามาแก่ปัญหาเหล่านี้ได้ หากพูดให้เห็นภาพคือ Bitcoin ไม่มีใครเป็นเจ้าของมันแต่เพียงผุ้เดียว ไม่มีธนาคารกลางของอเมริกาที่กำหนดว่าจำนวนเงินดอลล่าในระบบจะต้องมีเท่าไหร่ ซึ่ง Bitcoin เป็น Logarithm ที่ตายตัว ผนวกเข้ากับคุณสมบัติของ Blockchain ทำให้เกิดความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น โดยไม่มีใครมาแทรกแซงได้ ทั้งนี้ผู้ที่คิดค้นต้องการให้การใช้ Cryptocurrency จะต้องมีต้นทุนที่ต่ำกว่าการใช้สลุกเงินทั่วไป
ในการที่ค่าของ Cryptocurrency ที่ลดลง ณ ตอนนี้มาจากเทคโนโลยียังไม่เสถียร หากย้อนไปดูหลักคิดก็เป็นเรื่องดีใช้ได้ แต่ติดที่เทคโนโลยีไม่ว่าจะเป็นในแง่ของการผลิตที่มีต้นทุนการผลิตที่สูงมากกว่าที่ควรจะเป็น ในด้านของการใช้ที่มีการ Varidate แต่ละ Transaction ที่แตกต่างกัน ว่าง่ายๆ มันขาดความสะดวก แต่ในแง่ความปลอดภัยจาก Blockchainในการถือครอง…ถือเป็นเรื่องดี
สมาคมฟินเทคประเทศไทย